เสร็จแล้ว…กฎหมายถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น “นิพนธ์”เผย เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และอปท.ได้ประโยชน์มากกว่ากฎหมายจัดตั้งอปท. พร้อมรับข้อเสนอสมาคมอปท.ไว้เป็นข้อสังเกต
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ที่ห้องประชุม CA308
สภาผู้แทนราษฎร นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
พ.ศ.....สภาผู้แทนราษฎร
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
การเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
พ.ศ..... เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ได้ดำเนินการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเพื่อถอดถอน
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
พ.ศ..... เสร็จแล้ว โดยมีสาระสำคัญ
และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากร่างพระราชบัญญัติ
ซึ่งมีสรุปได้ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นกฎหมายเฉพาะที่เป็นการส่งเสริมสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นได้อย่างมรประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถเข้าชื่อกันเพื่อถอดถอนหรือเข้าชื่อขอให้มีการสอบสวนเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา
254 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
2.ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขในการเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นโดยการปรับลดจำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนเพื่อให้เหมาะสมกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
นอกจากนี้
ได้กำหนดมาตรการกรณีการเข้าชื่อขอให้มีการสอบสวนเพื่อถอดถอนที่แตกต่างไปจากขั้นตอนการสอบสวนตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยกำหนด (1) เหตุในการเข้าชื่อเพื่อขอให้สอบสวนและถอดถอน (2) จำนวนผู้มีสิทธิเข้าชื่อขอให้มีการสอบสวนเพื่อถอดถอน
(3) เอกสารที่ต้องยื่นในการขอให้มีการสอบสวน (4) กำหนดหลักเกณฑ์ในกระบวนการพิจารณา
การคัดค้านและการขอถอนชื่อ ขั้นตอนและวิธีการสอบสวน
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยให้มีองค์ประกอบเกี่ยวกับจำนวนและคุณสมบัติของกรรมการสอบสวนไว้เป็นการเฉพาะ
ทั้งนี้
เพื่อเป็นหลักประกันในกระบวนการสอบสวนและการพิจารณาให้มีความเป็นธรรมแก่สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นกำหนดให้ผู้กำกับดูแลมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสารเพื่อให้กระบวนการใช้สิทธิของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่ได้มีการเข้าชื่อกันเพื่อถอดถอนจนครบเกณฑ์
จำนวนตามที่กฎหมายกำหนด
และเป็นบทบังคับให้ผู้กำกับดูแลต้องดำเนินการถอดถอน
หรือดำเนินการให้มีการสอบสวนหากมีการเข้าชื่อครบจำนวน
อันเป็นการจำกัดอำนาจดุลพินิจของผู้กำกับดูแลให้แตกต่างไปจากกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มอำนาจในการกำกับดูแลแต่ประการใด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น