โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567

อบจ.สงขลา พัฒนาแพขนานยนต์ เพิ่มแพ-เพิ่มท่าเรือ และเทคโนโลยีเพื่อให้การบริการคนสงขลาให้เดินทางสะดวก รวดเร็ว(มีคลิป)

  อบจ.สงขลา พัฒนาแพขนานยนต์ เพิ่มแพ-เพิ่มท่าเรือ และเทคโนโลยีเพื่อให้การบริการคนสงขลาให้เดินทางสะดวก รวดเร็ว(มีคลิป)  

                                                          








  อบจ.สงขลา โดยนายไพเจน มากสุวรรณ์ ได้พัฒนาแพขนานยนต์ให้มีความสะดวกในการเดินทางคนสงขลา โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนให้เดินทางได้รวดเร็ว ด้วยเพิ่มจำนวนแพ 1 ลำ เพิ่มท่าเรือ 1 ท่า และพัฒนาเทคโนโลยีให้การบริการมีความสะดวก รวดเร็ว 

การเดินทางของคนสงขลา จากคาบสมุทรสทิงพระ-สงขลา หรือสงขลา-คาบสมุทรสทิงพระ การข้ามแพขนานยนต์เป็นการเดินทางที่รวดเร็วกว่าการเดินทางตามเส้นทางเกาะยอข้ามสะพานติณสูลานนท์ การพัฒนาแพขนานยนต์เพื่อตอบสนองการเดินทางข้ามแพของคนสงขลาจึงมีความสำคัญ นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา(นายกอบจ.สงขลา) กล่าวว่า อบจ.สงขลาเห็นความสำคัญของการเดินทางของพี่น้องสงขลาในการข่ามแพขนานยนต์ ซึ่งจะย่นระยะทางได้หลายสิบกิโลเมตร จึงได้อำนวยความสะดวกในการเดินทางโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน ช่วงเช้าหรือเย็น มีความคล่องตัว ดดยการเพิ่มแพขนานยนต์ 1 ลำ และขยายท่าเรือเพิ่มอีก 1 ท่าจาก 3 เป็น 4 ท่าเรือ เพื่อไม่ให้แพต้องรอคิว



'แพขนานยนต์เชื่อมเมืองสงขลากัลสิงหนคร เปิดให้บริการตั้งแต่ตี 5 ถึง 4 ทุ่ม หากเป็นช่วงเทศกาลก็จะขยายเวลาเป็น 24.00 น. โดยขณะนี้ โดยเฉลี่ยนมีรถใช้บริการแพขนานยนต์ วันละประมาณ 5,000 คัน ส่วนใหญ่เป็นรถมอเตอร์ไซด์ รองลงมาเป็นรถยนต์ และรถพ่วง โดยเก็บค่าโดยสารถูกมาก มอเตอร์ไวด์เก็บคันละ 3 บาท รถยนต์ 20 บาท คนใช้บริการฟรี แม้ช่วงน้ำมันแพงก็ไม่ขยับราคา เพราะการบริการใช้เงินภาษีของประชาชน จึงต้องการให้บริการประชาชน อย่างคน หากเราเก็บคนละบาท ก็จะมีรายได้วันละเป็น 10,000 บาท' นายไพเจน กล่าว


นายกอบจ.สงขลา กล่าวว่า รายได้จากการบริการแพขนานยนต์ จากเดิมมีรายได้ 28-29 ล้านบาท ตอนนี้ ขยับมาเป็น 35 ล้านบาา แต่ต้นทุนอยู่ที่ 70 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าเชื้อเพลิงและการซ่อมบำรุงประจำปี เพราะแพจะต้องต่อทะเบียนทุกปีเหมือนรถยนต์  



ขณะเดียวกัน การให้บริการแพขนานยนต์ ทางอบจ.ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยี ให้สามารถบริหารได้สะดวก ระบบจะแจ้งจำนวนรถที่ผ่าน จำนวนรถที่รอ หรือแจ้งให้รถที่จะใช้บริการทราบจำนวนที่รอ เพื่อตัดสินใจว่า จะลงเรือหรือไม่ 


'อบจ.ได้พัฒนาแพขนานยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน ตอบสนองการเดินทางของชาวสงขลาให้ได้มากที่สุด' นายไพเจน กล่าว 



สำหรับแพขนานยนต์ เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อปี 2013 จากเดิมที่ชาวบ้านจะเดินทางดดวใช้เรือ โดยมีการนำแพขนานยนต์จากจังหวัดภูเก็ต ที่มีการยกเลิกการให้บริการข้ามแพพังงา-ภูเก็ต หลังการสร้างสะพานสารสิน โดยรพช.  หรือเร่งรัดพัฒนาชนบท สังกัดกระทรวงมหาดไทย (หน่วยงานนี้ถูกยกเลิกแล้ว) ต่อมาได้โอนย้ายเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา






“ปล่อยพันธุ์ปลาดุกลำพัน คืนถิ่นป่าพรุควนเคร็ง 300 กิโลฯ ปลาบึก 1000 ตัว พันธุ์ปลานานาชนิด 500,000 ตัว ……

 “ปล่อยพันธุ์ปลาดุกลำพัน คืนถิ่นป่าพรุควนเคร็ง 300 กิโลฯ ปลาบึก 1000 ตัว พันธุ์ปลานานาชนิด 500,000 ตัว

……


นายเฉลียว คงตุก อดีตบรรณาธิการคมชัดลึก กรรมการมูลนิธร่วมพัฒนาภาคใต้ และรองประธานจิตอาสาชาวใต้ ที่ปรึกษาสมาคมชาวปักษ์ใต้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรียนเชิญร่วมบุญใหญ่เทศบาลปีใหม่ด้วยการปล่อยปลาดุกลำพัน-ปลาบึก กุ้งก้ามกาม-พันธุ์สัตว์น้ำ” คืนสู่ธรรมชาติ เป้าหมายเพื่อความมั่นคงทางอาหาร กับ“โครงการลำพันคืนถิ่น ป่าพรุควนเคร็ง ครั้งที่ 10”


ด้วยการร่วมบุญปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิดลงสู่ธรรมชาติ แม่น้ำ ลำคลอง ไม่น้อยกว่า 500,000 ตัว เช่น พันธุ์ปลา พันธุ์กุ้งก้ามกาม ปลาดุกลำพัน ปลาบึกเพื่อเริ่มปริมาณสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของมนุษย์


นายเฉลียว กล่าวว่า สำหรับปีนี้กำหนดปล่อยปลาดุกลำพันวันที่ 21 ธันวาคม เวลา 09.00 น. ที่บ้านเนินธัมมัง ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์อนุรักษ์ปลาดุกลำพัน

“ครั้งที่ 10 เราตั้งเป้าปล่อยปลาดุกลำพัน 300 กิโล ราคาซื้อมาจากชาวบ้านป่าพรุโต๊ะแดง กก.ละ 250 บาท ร่วมบุญกันได้ครับ คนละโลสองโล ตามกำลังศรัทธาครับ พิเศษสุดปีนี้เราจะปล่อยพันธุ์ปลาบึกอีก 1000 ตัว


นายประจวบ เจี้ยงยี่ ประมงจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นคนถิ่นเดิม บ้านเนินธัมมัง อ.เชียรใหญ่ ผู้ร่วมผลักดันโครงการฯ และก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ปลาดุกลำกพัน กล่าวว่า ดีใจที่โครงการนี้ดำเนินการมาถึงครั้งที่ 10 แล้ว ชาวบ้านก็ดีใจที่ได้เห็นปลาดุกลำพันอีกครั้ง เป้าหมายของการปล่อยปลาดุกลำพัน เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาดุกลำพันไว้ ซึ่งที่ผ่านมาได้สูญพันธุ์ไปจากป่าพรุควนเคร็งแล้ว ที่สำคัญคือ เพื่อความมั่นคงด้านอาหารของคนลุ่มน้ำปากพนัง

“เราจัดหาพันธุ์ปลาดุกลำพันมาจากพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส ซึ่งภาคีเครือข่าย องค์กรแนวร่วมได้ปล่อยปลาดุกลำพันมาแล้ว 9 ครั้ง ครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 10 แล้ว“


นายเฉลียว กล่าวเสริมว่า สำหรับคนที่ประสงค์จะเลี้ยงปลาดุกลำพัน ขอให้ศึกษาธรรมชาติของปลาพันธุ์นี้ให้ละเอียดก่อน เพราะไม่งั้นเขาก็จะไม่รอด

”ปลาดุกลำพันเป็นปลาน้ำกร่อย อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าพรุ กินพืชเป็นอาหาร แต่บางครั้งถ้าไม่มีอะไรกิน ก็กินเนื้อบ้าง อาหารหลักของปลาดุกลำพัน คือลูกเตียว และลูกเสม็ดชุน“


นายเฉลียว กล่าวอีกว่า เวลานี้นายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ อดีต สส.นครศรีฯ กำลังทดลองเลี้ยงปลาดุกลำพันในพื้นที่บ่อขุด ด้วยการปรับสภาพน้ำ ปรับพื้นที่บ่อให้เหมือนป่าพรุ สองปีที่ผ่านมา นำปลาดุกลำพันมาทดลองเลี้ยงแล้วเกือบ 100 กิโล ปรากฏว่า เขาปรับตัวได้ดี เจริญเติบโต เริ่มกินอาหารเม็ดที่ศูนย์นวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่ยั่งยืนผลิตเอง

”ใครสนใจอยากจะทดลองเลี้ยงปลาดุกลำพัน อยากให้ไปศึกษาหาความรู้จากศูนย์นวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่ยั่งยืน อ.จุฬาลงกรณ์ จ.นครศรีฯ นายอาญาสิทธิ์ยินดีให้ความรู้ ให้ข้อมูล“


องค์กรร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรม

-สมาคมชาวนครศรีธรรมราช ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

-สมาพันธ์จิตอาสาชาวใต้ -มูลนิธิร่วมพัฒนาภาคใต้ 

-ภาคีเครือข่ายคนรักป่าพรุควนเคร็ง 

-กลุ่มมองเมืองคอน

-งบประมาณดำเนินการ 100,000 บาท (โดยประมาณ)

 

ร่วมสนับสนุนโครงการได้ด้วยการบริจาคผ่านบัญชีเฉลียว คงตุก ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 433-016817-4 เรายังขาดงบอยู่อีกเพียงเล็กน้อย


ขอกุศลผลบุญที่ท่านได้กระทำ จงดลบันดาลสุขให้กับท่าน และประสบแต่สิ่งที่ดีงามในศักราชใหม่ 2568 สำหรับเป้าหมายต่อไปภาคีเครือข่ายจะปลูกต้นเสม็ดชุน และต้นเตียว จะได้เป็นอาหารของปลาดุกลำพัน

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ผู้ว่าฯ นราธิวาส ย้ำ 11 ธค 67 ดีเดย์ให้ผู้ประสบภัยยื่นคำร้อง ขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 (ผ่านระบบออนไลน์) หรือมายื่นด้วยตนเอง ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ฯ


ผู้ว่าฯ นราธิวาส ย้ำ 11 ธค 67  ดีเดย์ให้ผู้ประสบภัยยื่นคำร้อง ขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 (ผ่านระบบออนไลน์) หรือมายื่นด้วยตนเอง ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ฯ

 ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน Tel.0824154474 






วันนี้ (10 ธ.ค. 67) เวลา 09.00 น. ที่ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส แห่งที่ 1 อำเภอเมืองนราธิวาส ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทภภัยในช่วงฤดูฝนใน ปี 2567 โดยมี นายวีรพัฒน์ บุณฑริก นายกฤษณนันท์ กำไร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนราธิวาส และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายกเทศมนตรีเมืองฯ  ,นายกเทศมนตรีตำบลฯ และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมประชุมฯ 

       ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เน้นย้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข รวมถึงวิธีการจ่ายเงินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ให้ความช่วยเหลือครัวเรือนละ 9,000.- บาท เป็นไปตาม 2 หลักเกณฑ์ คือ 1.กรณีที่อยู่อาศัยประจำที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ 2.กรณีที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วัน โดยให้เร่งสำรวจข้อมูลพื้นที่ จัดพิมพ์รายชื่อ และ จัดทำประชาคมร่วมกันของหมู่บ้านเพื่อรับรองข้อมูล สั่งการให้อำเภอสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับบัญชีธนาคารต่างๆ โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เท่านั้น เพื่อให้ธนาคารออมสิน โอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีผู้ประสบภัยโดยตรง

      พร้อมเน้นย้ำว่า วันพรุ่งนี้ (11 ธ.ค. 67) จังหวัดนราธิวาส จะดีเดย์ ให้ผู้ประสบภัยยื่นคำร้อง ขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 (ผ่านระบบออนไลน์) โดยลงทะเบียนทางเว็บไซต์ flood67.disaster.go.th และย้ำว่าประชาชนต้องตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนก่อนจะยื่นคำร้อง เพราะจะไม่สามารถเข้ามาแก้ไขข้อมูลได้หลังจากยื่นคำร้องผ่านระบบ Online เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  

      โดยให้ อำเภอและท้องถิ่น สำรวจข้อมูลผู้ประสบภัยให้ชัดเจน เพื่อการช่วยเหลือเยียวยา เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อจัดทำประชาคมของหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวทางที่กำหนด

     หลังจากนั้น หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนราธิวาส ได้ชี้แจงเพิ่มเติม เกี่ยวกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทภภัยในช่วงฤดูฝนใน ปี 2567  และได้เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่จากอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ถามตอบข้อซักถามที่มีความสงสัย  เพื่อสร้างความเข้าใจไปใน ในการให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเป็นธรรมและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ฯ

มทภ.4 มอบความห่วงใย ให้กำลังใจส่งตรงถือมือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ผ่านถุงยังชีพ 650 ชุด

มทภ.4 มอบความห่วงใย ให้กำลังใจส่งตรงถือมือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ผ่านถุงยังชีพ 650 ชุด

 ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน Tel.0824154474 




วันนี้ ( 10 ธันวาคม 2567) เวลา 10.00 น. ที่บ้านปูยู ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 นำถุงยังชีพ พร้อม ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม จำนวน 500 ชุด ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งตรงถึงมือพี่น้องชาวตำบลเกาะสะท้อน เพื่อช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ โดยมี พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส , นาวาเอก สันติ  เกศศรีพงษ์ศา ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินกองทัพเรือ และ คณะผู้บังคับบัญชาร่วมคณะฯ


โอกาสนี้ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ยืนยันสนับสนุนกำลังพล พร้อมยุทโธปกรณ์ เข้าช่วยเหลือฟื้นฟูหลังน้ำลดต่อเนื่อง กำชับกำลังพลลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ให้บริการตรวจสุขภาพแก่พี่น้องประชาชน ชุมชนต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อม กล่าวให้กำลังใจและแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น ขอให้พี่น้องประชาชนทุกคนเข้าใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของโลกและมีอีกหลายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบประสบภัยธรรมชาติเช่นเดียวกัน 


จากนั้น แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 นำถุงยังชีพ พร้อมน้ำดื่ม จำนวน 150 ชุด นำไปมอบให้สมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง บ้านรอตันบาตู ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส  จังหวัดนราธิวาส


นอกจากนี้ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4 โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จัดทีมแพทย์ พยาบาล จากศูนย์แพทย์จังหวัดชายแดนภาคใต้ลงพื้นที่ให้บริการด้านสุขภาพแก่พี่น้องประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในวันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น. เพื่อตรวจรักษาสุขภาพเบื้องต้น พร้อมมอบยา เวชภัณฑ์ และ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ สุขอนามัย สภาพจิตใจ เพื่อดูแล เคียงข้างประชาชนอย่างสุดกำลังความสามารถ

ศปก.อ.สุไหงโก-ลก ทำประชาพิจารณ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมพื้นที่ชายเเดนไทย-มาเลเซีย (กิจกรรมรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์)

 ศปก.อ.สุไหงโก-ลก ทำประชาพิจารณ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมพื้นที่ชายเเดนไทย-มาเลเซีย (กิจกรรมรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์)

ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน Tel.0824154474 

นายอนิรุทร บัวอ่อน นายอำเภอสุไหงโก-ลก/ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นประธานในการจัดทำประชาพิจารณ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมพื้นที่ชายเเดนไทย-มาเลเซีย (กิจกรรมรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์) โดยมีหัวหน้าส่วนงานตำรวจ ทหาร ผู้นำท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม ณ ห้องทรายทอง หอประชุมที่ว่าการอำเภอสุไหงโก-ลก อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

นายอนิรุทร บัวอ่อน นายอำเภอสุไหงโก-ลก/ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการอำเภอสุไหงโก-ลก กล่าวว่า เนื่องด้วยทางศูนย์ปฏิบัติการอำเภอสุไหงโก-ลก ได้รับเเจ้งจากกองบังคับการควบคุมหน่วยสุริโยทัยว่าทางหน่วยได้ดำเนินการจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมพื้นที่ชายเเดนไทย-มาเลเซีย (กิจกรรมรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์) ทางอำเภอสุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำประชาพิจารณ์ขึ้น เพื่อเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมาร่วมพูดคุยรับฟังข้อมูล ทราบถึงจุดประสงค์ของการดำเนินการซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาพื้นที่เเนวริมเเม่น้ำสุไหงโก-ลก ชายเเดนไทย-มาเลเซียของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 


ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากกองบังคับการควบคุมหน่วยสุริโยทัย ได้รายงานถึงข้อมูลด้านความมั่นคงในพื้นที่ซึ่งมีผู้ก่อเหตุความรุนเเรง รวมถึงผู้กระทำผิดได้ใช้เส้นทางพรมแดนธรรมชาติท่าข้ามผิดกฎหมายเเนวลำน้ำสุไหงโก-ลก (ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเเว้ง ตากใบ สุไหงโก-ลก) เป็นเส้นทางหลบหนีและเข้ามาก่อเหตุสร้างสถาณการณ์ในพื้นที่ นอกจากนั้นยังพบปัญหาการลักลอบเข้าเมือง การขนสินค้าผิดกฎหมาย การขนย้ายยาเสพติดตามเเนวช่องทางดังกล่าวอีกมากมาย


 ดังนั้นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมพื้นที่ชายเเดนไทย-มาเลเซีย (กิจกรรมรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์) จึงนับว่ามีความสำคัญจำเป็นซึ่งจะช่วยป้องกันและเพิ่มความปลอดภัย ลดความสูญเสียทั้งชีวิตเเละทรัพย์สินต่อทั้งประชาชนเเนวชายเเดนและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เป็นสิ่งที่จะมีส่วนช่วยลดการก่อเหตุสร้างสถานการณ์ด้านความมั่นคง รวมไปถึงลดอัตราการกระทำความผิดตามเขตเเนวชายเเดนให้ลดลง โดยจะดำเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิด จำนวน 432 เครื่อง 234 จุด 3 ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลของอ.สุไหงโก-ลก คือ ต.สุไหงโก-ลก ติดตั้งกล้องวงจรปิด จำนวน 140 เครื่อง ใน 64 จุด ต.มูโนะ ติดตั้งกล้องวงจรปิด จำนวน 161 เครื่อง ใน 84 จุด และต.ปาเสมัส ติดตั้งกล้องวงจรปิด จำนวน 131 เครื่อง ใน 86 จุด 




ด้านประชาชนในพื้นที่ต่างเห็นด้วยกับโครงการ เนื่องจากได้เห็นถึงประโยชน์ที่โครงการนี้จะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับคนพื้นที่ได้มากขึ้น ลดการก่อเหตุสร้างสถานการณ์ของผู้ไม่หวังดี และลดการกระทำความผิดกฎหมายตามเเนวชายเเดนได้เป็นอย่างมากต่อไป

มทภ.4 มอบความห่วงใย ให้กำลังใจส่งตรงถือมือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ผ่านถุงยังชีพ 650 ชุด

 มทภ.4 มอบความห่วงใย ให้กำลังใจส่งตรงถือมือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ผ่านถุงยังชีพ 650 ชุด





วันนี้ ( 10 ธันวาคม 2567) เวลา 10.00 น. ที่บ้านปูยู ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 นำถุงยังชีพ พร้อม ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม จำนวน 500 ชุด ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งตรงถึงมือพี่น้องชาวตำบลเกาะสะท้อน เพื่อช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ โดยมี พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส , นาวาเอก สันติ  เกศศรีพงษ์ศา ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินกองทัพเรือ และ คณะผู้บังคับบัญชาร่วมคณะฯ


โอกาสนี้ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ยืนยันสนับสนุนกำลังพล พร้อมยุทโธปกรณ์ เข้าช่วยเหลือฟื้นฟูหลังน้ำลดต่อเนื่อง กำชับกำลังพลลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ให้บริการตรวจสุขภาพแก่พี่น้องประชาชน ชุมชนต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พร้อม กล่าวให้กำลังใจและแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น ขอให้พี่น้องประชาชนทุกคนเข้าใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของโลกและมีอีกหลายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบประสบภัยธรรมชาติเช่นเดียวกัน 


จากนั้น แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 นำถุงยังชีพ พร้อมน้ำดื่ม จำนวน 150 ชุด นำไปมอบให้สมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง บ้านรอตันบาตู ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส  จังหวัดนราธิวาส


นอกจากนี้ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 4 โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จัดทีมแพทย์ พยาบาล จากศูนย์แพทย์จังหวัดชายแดนภาคใต้ลงพื้นที่ให้บริการด้านสุขภาพแก่พี่น้องประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในวันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น. เพื่อตรวจรักษาสุขภาพเบื้องต้น พร้อมมอบยา เวชภัณฑ์ และ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ สุขอนามัย สภาพจิตใจ เพื่อดูแล เคียงข้างประชาชนอย่างสุดกำลังความสามารถ

" กองทุนดารารัศมีรำฦกร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปาทาน อุทิศถวายเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในรัชกาลที่ ๕ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ปีที่ ๙๑ ณ กู่พระอัฐขัตติยะราชตระกูล ณ เชียงใหม่ วัดสวนดอก พระอารามหลวง เชียงใหม่ "

  " กองทุนดารารัศมีรำฦกร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปาทาน อุทิศถวายเจ้าดารารัศมี  พระราชชายาในรัชกาลที่ ๕ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ปีที่ ๙๑ ณ กู่พระอัฐขัตติยะราชตระกูล ณ เชียงใหม่ วัดสวนดอก พระอารามหลวง เชียงใหม่ "







   คุณศิริพร จงศิริ ผู้อำนวยการใหญ่ผลิตรายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ร่วมงานพิธี กองทุนดารารัศมีรำฦก ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปาทาน  อุทิศถวายเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในรัชกาลที่ ๕ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ปีที่ ๙๑ และเป็นผู้แทน คุณนิษกัณฐ์ ยังสุข  ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ,ที่ปรึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเพ็กซ์ฟู้ดแอนด์ฟรุตจำกัด







 ถวายพานพุ่มดอกกุหลาบสีชมพูให้เจ้าสุรีย์ ณ เชียงใหม่ ประธานกองทุนดารารัศมีรำฦก เพื่อถวายเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในรัชกาลที่ ๕ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ปีที่ ๙๑   ณ กู่พระอัฐิ สุสานหลวงขัตติยะราชตระกูล “ ณ เชียงใหม่ “ วัดสวนดอก พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่พร้อมทายาท ณ เชียงใหม่ , คุณ สุมิตร์ ชุ่มใจ กรรมการกองทุนดารารัศมีรำฦก ,












 พร้อมช่างฟ้อนเล็บกองทุนดารารัศมีรำฦก ๘๐ ชีวิต ฟ้อนเล็บถวายเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในรัชกาลที่ ๕ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ปีที่ ๙๑ ณ กู่พระอัฐิ สุสานหลวงขัตติยะราชตระกูล " ณ เชียงใหม่ " วัดสวนดอก พระอารามหลวง  จังหวัดเชียงใหม่


CR : ศิริพร จงศิริ ผู้อำนวยการใหญ่ผลิตรายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก