โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

สว. สวัสดิ์ สมัครพงศ์ เจ้าของสโลแกน “คนดี สำคัญกว่าทุกสิ่ง” เดินหน้าเพื่อการปฎิรูปประเทศไทย ตัดสินใจโหวต ร่างที่ 13 สส.จำนวน 500 คน สมาชิกเขต 400 คนและสส.บัญชีรายชื่อ 100 คน

 

      สว.  สวัสดิ์ สมัครพงศ์  เจ้าของสโลแกน  “คนดี  สำคัญกว่าทุกสิ่ง” เดินหน้าเพื่อการปฎิรูปประเทศไทย   ตัดสินใจโหวต ร่างที่ 13 สส.จำนวน 500 คน สมาชิกเขต 400 คนและสส.บัญชีรายชื่อ 100 คน



ประพันธ์  ฤทธิวงศ  บก.ปลายด้ามขวาน@ชายแดนใต้/รายงาน

 


   เมื่อวันที่  24 มิ.ย.2564     นาย  สวัสดิ์ สมัครพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้เข้าประชุมรัฐสภา   ประชุมรัฐโหวตร่าง    สส.552 เสียง สว.210 เสียง ( สว.สนับสนุนเลือกตั้งบัตร 2 ใบ)




      สมาชิกวุฒิสภา    รวมพลังล้มร่างแรก ที่สนับสนุนให้นักการเมืองสามารถจัดสรรงบประมาณและการขยับการตั้งโยกย้าย(รธน.144 และ185 รธน.2560 ปราบโกง) และ สว.สนับสนุนร่างที่13. ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91)

        สำหรับสาระสำคัญของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประกอบด้วยการแก้ไข 2 มาตรา ได้แก่

มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกจำนวนห้าร้อยคน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสี่ร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวนหนึ่งร้อยคน


       ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้ง หรือประกาศชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเท่าที่มีอยู่ขณะนั้น

   มาตรา 91 การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกตั้ง ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศแล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร





อธิบายง่ายๆ ก็คือ มาตรา 83 เดิมมี ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 350 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ จำนวน 150 คน เปลี่ยนเป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน

      มาตรา 91 เดิมใช้วิธีคำนวณหา ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง โดยนำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคส่งผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต หารด้วย 500 คน แล้วนำผลลัพธ์ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ได้รับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตทุกเขต เพื่อค้นหา "จำนวน ส.ส.ที่พรรคการเมืองพึงมี" แล้วลบด้วยจำนวน ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้งที่พรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง ก็จะได้ผลลัพธ์คือ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ



      มาคราวนี้จะกลับไปใช้ระบบคำนวณปาร์ตี้ลิสต์แบบเดิม โดยใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

  เลือกคนเขต เลือกพรรค     1.พรรคใหญ่พึงพอใจ      2.ผลพลอยได้ (พรรคเล็กล้มสลาย)

 



       สวัสดิ์ สมัครพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา เห็นว่าพลังของ สว.ตัดสินใจโหวต ร่างที่ 13 สส.จำนวน 500 คน สมาชิกเขต 400 คนและสส.บัญชีรายชื่อ 100 คน

 

       "ทางหลักการเวทีรัฐสภา การเมืองจะมีความหมายในการแก้ไขปากท้องประชาชนมากยิ่งขึ้น พรรคการเมืองมีน้อยลงสร้างความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชนมากยิ่งขึ้น"

 

นายขุน เขาหลวง  นักขับเคลื่อนทางสังคม ประเทศไทย

26/06/64

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น