โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสร้างและพัฒนาสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ  จังหวัดนราธิวาส  สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสร้างและพัฒนาสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     วันที่ 5  กรกฎาคม  2563  นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ  พัฒนาการอำเภอรือเสาะ พร้อมด้วยนางสาวพาอีซะ  บารู  นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ พัฒนากรผู้ประสานงานตำบลสามัคคี  ลงพื้นที่ บ้านบาโงกือเตะ  หมู่ที่ 4  ตำบลสามัคคี เพื่อสนับสนุน/ติดตามการขับเคลื่อนกิจกรรมสัมมาชีพชุมชน  โดยมีนายยามา ดะอี ผู้ใหญ่บ้าน 

ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมสร้างและพัฒนาสัมมาชีพชุมชน  ซึ่งครัวเรือนเป้าหมายจำนวน 20 ครัวเรือน  ได้ดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมอาชีพ ทำกล้วยฉาบรสเนยและรสหวาน  โดยมีปราชญ์สัมมาชีพเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการฝึกอาชีพดังกล่าว

     กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยมีเป้าหมายให้ประชาชน ได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคง ประชาชนใช้ชีวิต อยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข สอดคล้องกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาส เข้าถึงบริการของรัฐ และเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 

     โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้แนวคิด ชาวบ้านสอนชาวบ้านที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพ จากนั้นปราชญ์ชุมชนกลับไปสร้างทีมและจัดการฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนที่ต้องการ ฝึกอาชีพในหมู่บ้าน ติดตาม

 และสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพสามารถปฏิบัติอาชีพได้จริงและพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้อย่างมั่นคง ซึ่งสามารถแก้ปัญหาการว่างงานในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น