โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

รักษ์น้ำ ภูผา สู่มหานที “ ภาพเบื้องหลัง ตลอด ๒๔ ชั่วโมง การผลิตรายการคืนคุณให้แผ่นดิน งานพิธีเปิดกิจกรรมฝายชะลอน้ำเฉลิมพระเกียรติฯ ตามแนวชายแดนภาคตะวันตก"


  รักษ์น้ำ ภูผา สู่มหานที  “ ภาพเบื้องหลัง  ตลอด ๒๔ ชั่วโมง การผลิตรายการคืนคุณให้แผ่นดิน  งานพิธีเปิดกิจกรรมฝายชะลอน้ำเฉลิมพระเกียรติฯ  ตามแนวชายแดนภาคตะวันตก"


ภาพเบื้องหลัง  ตลอด ๒๔ ชั่วโมง การผลิตรายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก งานพิธีเปิดกิจกรรมฝายชะลอน้ำเฉลิมพระเกียรติฯ  ตามแนวชายแดนภาคตะวันตก

กองทัพภาคที่ ๑  พลโท ธรรมนูญ วิถี แม่ทัพภาคที่ ๑  โดยกองกำลังสุรสีห์  พลตรี  ฐกัด หลอดศิริ   ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙  ผู้บัญชาการกองกำลังสุรสีห์  และ หน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า  

พันเอก​ สิทธิพร​ จุลปานะ  ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ​ลาดหญ้า
พันเอก​ อนิรุจน์​ ดิษฐประชา รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ​ลาดหญ้า
ที่รับผิดชอบในพื้นที่ชายแดน ภาคตะวันตกจังหวัดกาญจนบุรี


   ศิริพร จงศิริ ผู้อำนวยการใหญ่ผลิตรายการคืนคุณให้แผ่นดิน พร้อม 2 พิธีกรรายการและทีมงานรายการคืนคุณให้แผ่นดิน ลงพื้นที่ตลอด 6 วัน ชายแดนภาคตะวันตกที่ผ่านมา
เพื่อบันทึกภาพสู่สายตาผู้ชมทางบ้านถ่ายทอดผ่านทางรายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก


โครงการ สร้างฝายชะลอน้ำ เฉลิมพระเกียรติ
     "...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2563 จำนวน 268 ฝาย
พระองค์ทรงมีพระราช ปณิธานที่จะสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงตระหนักถึงความสำคัญ ของการอยู่รอดของป่าไม้เป็นอย่างยิ่ง ทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือ ที่จะใช้ประโยชน์ ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่ง กล่าวคือ ปัญหาที่สำคัญที่เป็นตัวแปร สำคัญของความอยู่รอดของป่าไม้นั้น "น้ำ" คือสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยแท้ ทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำหรือเรียกว่า "Check Dam" หรืออาจ เรียกขานกันว่า "ฝายชะลอความชุ่มชื้น


   รูปแบบฝายชะลอน้ำ
     1.ฝายแบบผสมผสาน เป็นฝายที่เหมาะทำการสร้างบริเวณต้นน้ำลำธาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอการไหลของน้ำให้ไหลช้าลงและสร้างความชุ่มชื้น ให้แก่พื้นที่โดยรอบที่ ที่มีการสร้างฝาย
     ลักษณะฝายรูปแบบผสมผสาน เช่น ฝายหินเรียง ฝายหินทิ้งในคอกหมู ฝายแกนดินหินเรียง หรือแม้แต่ฝายขี้โคลน
     2.ฝายแบบกึ่งถาวร เป็นฝายที่มีวัสดุปูนซีเมนต์เข้าเกี่ยวข้อง ทำให้ฝายมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์
     ฝายลักษณะนี้คือฝายหินก่อดินซีเมนต์ ควรกำหนดสร้างในบริเวณ ที่มีพื้นที่รับน้ำไม่ใหญ่มากเกินไปนัก
     3.ฝายแบบถาวร เป็นรูปแบบฝายที่มีโครงสร้างแข็งแรง เช่น โครงสร้างเหล็กเทปูนซีเมนต์ตามมาตรฐาน หรือโครงสร้างไม้ไผ่เทปูนหรือดินซีเมนต์
     วัตถุประสงค์สร้างในพื้นที่ ที่มีพื้นที่เก็บกักน้ำได้เป็นจำนวนมาก ลักษณะโครงสร้างฝายอาจมีหลากหลายลักษณะขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่และงบประมาณที่มีอยู่ เช่น ฝายปากปล่องภูเขา, ฝายปากปล่องภูเขาไฟด้านเดียว, ฝายขั้นบันได้หน้า-หลัง, ฝายขั้นบันไดด้านเดียว, ฝายลาดหน้าขั้นบันไดหลัง, ฝายสันฝายตอหม้อ, ฝายแกนทราย เป็นต้น


ประโยชน์ของ ฝายชะลอน้ำ
     1. ลดการชะล้างพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำธาร ทำให้ระยะเวลาการไหลของน้ำ เพิ่มมากขึ้นเพิ่มความชุ่มชื้น และกระจายความชุ่มชื้นออกไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำห้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินบางส่วนด้วย
     2. กักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำธารได้ดี เป็นการช่วยยืดอายุแหล่งน้ำตอนล่างให้ตื้นเขินช้าลง คุณภาพของน้ำมีตะกอนปะปนน้อยลง
     3. เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และภาคทดแทนของสังคมพืชให้แก่พื้นที่โดยรอบ
     4. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคของมนุษย์และสัตว์ป่าต่างๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตร
     5. ลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่าในฤดูแล้ง

ผุ้ชมทางบ้านสนใจที่ต้องการเรียนรู้การสร้างฝายชะลอน้ำ สามารถติดต่อได้ที่
พันโท นัทธวัฒน์ บุตรคำ หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือนกองพลทหารราบที่ ๙ 
    ( เวลาราชการ )

  อย่าพลาดติดต่อชมรายการคืนคุณให้แผ่นดิน ทุกวันศุกร์ เวลา 13.40 - 14.00 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

CR.. รายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น