นราธิวาส ธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์
ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจที่ ยกระดับเศรฐกิจฐานราก
ณ บริเวณจุดปล่อยปลาดุกลำพัน ม.5
ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข
เป็นประธานเปิดโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร กิจกรรมการอนุรักษ์ปลาดุกลำพันในพื้นที่ป่าพรุ
เขตจัดนิคมสหกรณ์ปืเหล็ง อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส โดยมีนายนอรดีน เจะแล สหกรณ์
จ.นราธิวาส ข้าราชการผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร อส.ชรบ.อรบ.สมาชิกสหกรณ์ผู้นำท้องถิ่น
ผู้นำศาสนา และประชาชนในพื้นที่ ชาวบ้านร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 500 คน
นายนอรดีน เจะแล สหกรณ์ จ.นราธิวาส
กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี ว่า ปลาดุกลำพัน
เป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่บริเวณป่าพรุ พบมากในจังหวัดภาคใต้
โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าพรุของจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ปลาดุกลำพันมีจำนวนลดลงและมีความเสี่ยงที่สูญพันธ์ในอนาคต
และเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา 28 กรกฎาคา 2560
วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
รัชการที่ 10 จ.นราธิวาสร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์
โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส
ได้จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกร
บดินทรเทพยวรางกูร กิจกรรมการอนุรักษ์ปลาดุกลำพันในพื้นที่ป่าพรุ
เขตจัดนิคมสหกรณ์ปิเหล็ง อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ขึ้น เพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัทริย์ไทยที่ทรงห่วงใยประชาชนชาวไทยและสร้างคุณประโยชนแก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์
โดยเฉพาะแก่ราษฎรชาวนราธิวาสมาโดยตลอด
โดยกำหนดจัดกิจกรรมปล่อยปลาดุกลำพัน
จำนวน 3 ครั้ง ระหว่างวันที่ 25 ก.ค. – 28 ก.ค. 2561 เป้าหมายรวม 11,010 ตัว
ประกอบด้วยพ่อพันธ์ แม่พันธ์ จำนวน 1,010 ตัว ลูกปลาดุกลำพัน 10,000 ตัว
โดยในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 1 รวม 9,265 ตัว ประกอบด้วยพ่อพันธ์ แม่พันธ์ จำนวน 265
ตัว ลูกปลาดุกลำพันธ์ 4,000 ตัว ลูกปลาหมอ 5,000 ตัว โดยจะกำหนดปล่อยปลาครั้งที่ 2
ในเดือนกันยายน 2560 ครั้งที่ 3 ในเดือนกรกฎาคม 2561
โดยจะปล่อยในพื้นที่ป่าพรุ
ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ส่วนกลาง 20 เปอร์เซ็นต์ ของนิคมสหกรณ์ปิเหล็ง ท้องที่ ม.5
ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส
โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่อวยงานราชการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา
พี่น้องสมาชิกนิคมสหกรณ์ปิเหล็งและประชาชนใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภฏา ศิริรัฐนิคม มหาวิทยาลัยทักษิณ
ได้อนุเคราะห์พันธ์ปลาดุกลำพัน
ด้าน ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยหลังปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ จ.นราธิวาส
ครั้งนี้ว่า การลงมาปฏิบัติภารกิจที่ จ.นราธิวาส พร้อมคณะในวันนี้
โดยกิจกรรมแรกทางกรมการส่งเสริมสหกรณ์ และ จ .นราธิวาส
ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ มดินทรเทพยวรางกูร
และพสกนิกรชาวไทยในพื้นที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระองค์ท่านในการอนุรักษ์พันธ์ปลาดุกพื้นเมืองลำพัน
และในการปล่อยปลาดุกลำพันในพื้นที่พรุนิคมสหกรณ์ปิเหล็ง อ.เจาะไอร้องเนื้อที่กว่า
1,000 ไร่
ในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะสร้างในเรื่องของธนาคารอาหารให้แก่พสกนิกรของพระองค์ท่านในพื้นที่มีอาหารในการบริโภคอย่างสมบูรณ์
และยังเป็นพื้นที่ที่เหมาะในการอนุรักษ์พันธ์ปลาดุกลำพันที่มีโปรตีนสูงที่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากหลายองค์กรรวมถึงภาคประชาชนด้วย
ส่วนกิจกรรมที่ 2
ได้มาเยี่ยมประชาชนในพื้นที่โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างบ้านรอตันบาตู
ต.กะลุวอ อ.เมือง จ.นราธิวาส ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
มีพระราชเสาวณีย์ให้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัด
เพื่อนำไปประยุคต์ใช้การบริหารจัดการชุมชนที่รัฐบาลเรียกคืนที่ดินจากผู้ถือครองผิดกฎหมายมาเข้าสู่กระบวนการการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
ใน 25 จังหวัด
ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายให้รวมกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรให้เข้าทำกินในพื้นที่ดังกล่าวในรูปหมู่บ้านนิคมสหกรณ์หรือการบริหารชุมชนในพื้นที่โครงการพระราชดำริ
และนอกจากนั้นแล้วยังตรวจเยี่ยมการพัฒนามาตรฐานปาล์มนำมันของสมาชิกนิคมสหกรณ์เข้าสู่มาตรฐานสากล
RSPO จากความต้องการน้ำมันปาล์มเพื่อใช้ในการบริโภคที่เพิ่มขึ้นทำให้หลายประเทศมีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเข้าไปในพื้นที่ป่า
ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ภาวะโลกร้อน
วิธีชุมชนและสภาพชุมชน รวมถึงบางพื้นที่มีการเอาเปรียบแรงงานในการผลิต การแปรรูป
ทำให้ประเทศผู้บริโภคมีมาตรการกีดกันการใช้ผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมัน ดังนั้น
เพื่อให้อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันยังคงดำเนินต่อไปได้ จึงมีการตั้งมาตรฐานปาล์มน้ำมัน
RSPO ในพื้นที่ จ.นราธิวาส ชึ้นอีกด้วย.
ขอบคุณข่าว.แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น