ยะลา เกษตรชาวสวนผลไม้รุ่นใหม่ หันมาปลูก “ผลเมล่อน” ส่งขายสร้างรายได้งาม เผยปลูกเพียง 3 เดือน ส่งขายได้กำไรกว่า 5 หมื่นบาท
เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2560
ที่บริเวณแปลงเมล่อน หมู่ 1 ต.ตาชี อ.ยะหา
จ.ยะลา ซึ่งเป็นของ นายพิพัฒน์ ว่องปิติธวัช อายุ 32 ปี เกษตรกรชาวสวนรุ่นใหม่ ที่หันมาทดลองปลูกเมล่อน
จำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ หลังจากราคายางพาราตกต่ำ
โดยแปลงเมล่อนของนายพิพัฒน์ มีขนาด
7 เมตร คูณ 18 เมตร สามารถปลูกต้นเมล่อนรวม 6 สายพันธุ์ ได้กว่า
300 ต้น
เตรียมนำออกจำหน่ายในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 60 นี้
นายพิพัฒน์ ว่องปิติธวัช เปิดเผยว่า
เดิมมีอาชีพทำสวนยางพารา สวนผลไม้ โดยเฉพาะมังคุดลองกอง ลางสาด
แต่หลังจากราคายางตกต่ำ ได้หันมาปลูกผลไม้ที่ไม่เคยปลูกมาก่อน
ก็เลยมาทดลองปลูกเมล่อน ลองผิด ลองถูก มาหลายปี แม้จะปลูกยาก
และเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก ทดลองไปหาซื้อจากห้างมาก่อนเพื่อดูรสชาติเป็นอย่างไร
จากนั้นจึงนำเมล็ดมาปลูกทดลองก่อนผลปรากฏว่าได้ผล
แต่คุณภาพจะไม่เหมือนเมล็ดพันธุ์แท้ๆ ที่นำเข้าโดยตรง จึงทดลองปลูกถึง4- 5 ปี ทั้งในดิน ทั้งในถุง ก็ประสบความสำเร็จ
และศึกษาค้นคว้ามาจากผู้เชี่ยวชาญบ้าง จากเจ้าของฟาร์มต่างๆจากทั่วประเทศ
“ต่อมาจึงหันมาทำจริงจัง
ด้วยการทำโรงเรือนแบบออแกนิค ระบบปิดไปเลย เพื่อช่วยป้องกันในเรื่องแมลง
ควบคุมอุณภูมิให้คงที่ ปรากฏว่าผลที่ได้รับคื
อช่วยลดจากการใช้สารเคมีอย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ และลดแมลง
ที่จะมาทำลายต่อผลผลิตได้จะสามารถลดภาวะนี้ได้ นอกจากนั้นยังสามารถควบคุมกำหนดการเก็บเกี่ยวได้อย่างแน่นอน
ส่วนวีธีจำหน่ายของตนนั้นก็จะใช้ใช้โซเซี่ยลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นเฟชบุ๊ค หรือไลน์
ในการประชาสัมพันธ์
ส่วนในเรื่องตลาดมีการตอบรับที่ดี
ผลเมล่อนชุดนี้จะมีการส่งออกไปยังต่างจังหวัด เช่นลูกค้าที่ ปทุมธานี
กรุงเทพมหานคร น่าน และที่
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ ที่สำคัญ คือตลาด รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย
ที่ได้ติดต่อจะมาดูงานด้วยในสิ้นเดือนนี้
อยู่ระหว่างติดต่อการค้าระหว่างประเทศ” นายนิพัฒน์ กล่าว
ชาวสวนเมล่อนรายนี้ ยังกล่าวอีกว่า ในอนาคตตนเองกำลังมีโครงการจะปลูกองุ่น
สตรอเบอรี่ และลูกฟิก อยู่ระหว่างเตรียมพื้นที่เพื่อวางแผนการปลูก จากการลงทุนที่ผ่านมาทำให้คุ้มทุน สามารถเก็บเกี่ยวส่งขายประมาณ
2-3- ครังก็จะคืนทุน ใช้เวลาไม่นาน
สำหรับล๊อตนี้เก็บเกี่ยวประมาณ 300 ลูก
คาดว่าจะได้กำไรประมาณ 5-6 หมื่นบาท จากการใช้ระยะเวลาการปลูก เพียง 3 เดือน ซึ่งตามท้องตลาดขณะนี้
ผลเมล่อน อยู่ที่กิโลกรัมละ 150 บาท
นายพิพัฒน์ เผยอีกว่า สำหรับพันธ์ที่ปลูก
มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ให้ปุ๋ยระบบน้ำ
ตั้งเวลาอัตโนมัติ (timer) ใช้ขี้เลื่อยเป็นวัสดุปลูกเพื่อยึดระบบราก
และปลูกในแก้วกาแฟ เพื่อยกระบบรากให้สูงขึ้นกว่าระดับดิน ป้องกันโรครากเน่า
ลงทุนครั้งแรก 200,000 บาท เมล็ดพันธุ์มาจากประเทศญี่ปุ่น
และเกาหลี โรงเรือนขนาด 7×18 เมตร สำหรับพันธุ์ที่ใช้ปลูก คือพันธุ์ซูเอโตะ เนื้อสีเขียวนุ่มฉ่ำ
จากประเทศญี่ปุ่น พันธุ์ซูบาริคิง เนื้อสีส้มนุ่มฉ่ำ จากประเทศญี่ปุ่น
พันธุ์คิโมจิ เนื้อสีเขียวกรอบ จากประเทศญี่ปุ่น พันธุ์เอกะ เนื้อสีส้มกรอบ
จากประเทศญี่ปุ่น พันธุ์เอิร์ทเมาท์
เนื้อสีเขียวนุ่มฉ่ำ จากประเทศเกาหลี
และพันธุ์ฮาเกะ เนื้อสีเขียวนุ่มฉ่ำ
จากประเทศเกาหลี
ขอบคุณ มูกะตา หะไร ยะลา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น