โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565

ปลายด้ามขวาน@ ชายแดนใต้ ฟื้นฟู ธำรง พระพุทธศาสนา จชต.ตามรอยเส้นทาง สังเวชนียสถาน4 จำลองจาก อินเดีย-เนปาล ณ วัดฉัททันต์สถาน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส (ชมคลิป)

 ปลายด้ามขวาน@ ชายแดนใต้ ฟื้นฟู ธำรง พระพุทธศาสนา จชต.ตามรอยเส้นทาง สังเวชนียสถาน4 จำลองจาก อินเดีย-เนปาล  ณ วัดฉัททันต์สถาน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส (ชมคลิป)

                     ชมคลิป..วัดฉัททันต์สถาน อ.ตากใบ ฟื้นฟูธำรงพระพุทธศาสนาชายแดนใต้



ชมคลิป   ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ ทอดผ้าป่าสามัคคี  เพื่อสมทบทุนสร้างเจดีย์  ๕ ยอด  วิหารพระพุทธเมตตาพิทักษ์แดน ณ วัดฉันท์ทันต์สนาน ต.พร่อน  อ.ตากใบ  จ.นราธิวาส

  ประพันธ์  ฤทธิวงศ์  บรรณาธิการปลายด้ามขวาน@ ชายแดนใต้  /รายงาน

      ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ ทอดผ้าป่าสามัคคี  เพื่อสมทบทุนสร้างเจดีย์  ๕ ยอด  วิหารพระพุทธเมตตาพิทักษ์แดน

    ณ วัดฉันท์ทันต์สนาน ต.พร่อน  อ.ตากใบ  จ.นราธิวาส  ในวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2565

   ร่วมบุญขออนุโมทนา  โอนเข้าบัญชี ชื่อ กองทุนก่อสร้างสังเวชนีย์สถาน ๔  ธนาคารกรุงไทย เลขบัญชี  905-0549381

  โครงการจำลองสังเวชนียสถาน 4 (อินเดีย - เนปาล)







  วัตถุประสงค์

1.เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

2.เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ทรงมีพระชนมมายุ 84 พรรษา ปี 2554

3.เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาพุทธศาสนาของพระ

 การดำเนินการก ระยะ คือภิกษุ สามเณร นักเรียน นักศึกษา ประชาชน

  การดำเนินการก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

  ระยะที่ 1 สร้างในส่วนที่เป็นพระประจำแต่ละสังเวชนียสถาน ได้แก่

-สถานที่ประสูติสร้าง พระพุทธเจ้าน้อย หรือพระโพธิสัตว์ปางประสูติหรือ เบบี้บุดด้าและเสาพระเจ้าอโศก

-สถานที่ตรัสรู้สร้าง พระพุทธเมตตานราพิทักษ์แดน

- สถานที่ปฐมเทศนาสร้างพระพุทธเจ้าปางปฐมเทศนาและเบญจวัคคีย์ทั้ง 5

-สถานมีปรินิพพานสร้างพระพุทธปรินิพพาน

   ระยะที่ 2 สร้างวิหารพระแต่ละสังเวชนียสถาน ได้แก่

   - พ.ศ. 2656 - 2559 สร้างวิหารพระปรินิพพาน

   - พ.ศ.2556 สร้างศาลาสถานที่พระปฐมเทศนาเบญจวัคคีย์

   - พ.ศ.2560 ถึงปัจจุบัน เริ่มสร้างวิหารพระพุทธเมตตานราพิทักษ์แดนในส่วนที่เป็นตัววิหารและกำลังขอรับบริจาดจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศสร้างเจดีย์ 5 ยอด บนวิหารพระพุทธเมตตานราพิทักษ์แดน (แบบเดียวกับที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย)


















สำหรับประวัติ วัดฉันท์ทันต์สนาน

วัดฉัททันต์สนาน  ตั้งอยู่หมู่ที่ 1  ตำบลพร่อน  อำเภอตากใบ  จังหวัดนราธิวาส  สังกัดสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่  27  ไร่ 75 ตารางวา  อาณาเขต

ทิศเหนือ  ติดต่อถนนสาธารณะ

ทิศใต้  ติดต่อทางสาธารณะ

ทิศตะวันออก  ติดต่อทางสาธารณะ

ทิศตะวันตก  ติดต่อทางสาธารณะ

                พื้นที่วัดเป็นที่ราบ  ตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่บ้าน  มีอาคารเสนาสนะต่างๆ  ดังนี้

1.             อุโบสถ  ขนาดกว้าง 8 เมตร  ยาว 14 เมตร  สร้างปี พ.ศ. 2483  ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร  ปี พ.ศ.2549   ลักษณะโครงสร้างก่ออิฐถือปูน

2.             กุฏิเจ้าอาวาส  ขนาดกว้าง 17.50 เมตร  ยาว 20.00 สร้างใหม่แบบรูปทรงเดิม  โครงสร้างปูน  หลังคาโครงเหล็ก  จากงบประมาณสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่ง

ชาติ  ในวงเงิน 6,000,000 บาท สร้างปี พ.ศ. 2559

3.             ศาลาการเปรียญ  ขนาดกว้าง 14 เมตร  ยาว 28 เมตร

4.             กุฏิที่พักสงฆ์  มีจำนวน 7  หลัง  โครงสร้างก่ออิฐถือปูน  4 หลัง  โครงสร้างไม้ ยกใต้ถุนสูงจำนวน 3 หลัง

5.             มีหอฉัน  จำนวน 3 หลัง

6.             ศาลาโรงเลี้ยง จำนวน 3 หลัง

7.             ห้องน้ำ  ห้องส้วม  5 หลัง  22  ห้อง 

วัดฉัททันต์สนาน  เดิมมีชื่อว่า วัดปลักช้าง  สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432  โดยมี

พ่อท่านแก้ว  เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้าง  ต่อมาปี พ.ศ.  2470  ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดฉัททันต์สนาน

ได้รับพระราชทานวิสุงคามเสมาประมาณปี พ.ศ.  2441  ภายในบริเวณวัด  เป็นที่ตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 44 (วัดฉัททันต์สนาน) และโรงทอผ้าโครงการศิลปาชีพ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชชินีนาถ  พระบรมราชชนนี  พระพันปีหลวง

  รายนามเจ้าอาวาส

รูปที่ 1  พ่อท่านแก้ว                              พ.ศ. 2432 - 2440

รูปที่ 2  ท่านแดง                    พ.ศ. 2440 - 2448

รูปที่ 3  ท่านเจ้าคุณนราเขตร์               พ.ศ. 2448 - 2450

รูปที่  4  ท่านพุฒ                                   พ.ศ. 2450 - 2454

รูปที่  5 ท่านยิ้ม                                      พ.ศ. 2454 - 2475

รูปที่  6 ท่านอินแก้ว                               พ.ศ. 2475 - 2500

รูปที่  7 ท่านราช                                     พ.ศ. 2500 - 2508

รูปที่  8  ท่านบก                                     พ.ศ. 2508 - 2513

รูปที่  9 ท่านนุ้ย  อิสฺสโร        พ.ศ. 2513 -2517

รูปที่ 10  ท่านชู  สุเมโช                          พ.ศ. 2517 - 2523

รูปที่   11  ท่านจรัญ                               พ.ศ. 2523 -2537

                พ.ศ. 2538 - 2556  ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่าง

รูปที่  12   ท่านธวัชชัย  โกวิโท  พ.ศ. 2550 -2557  รักษาการ  แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2557 ถึงปัจจุบัน

วัดฉัททันต์สนานปัจจุบัน  ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 -2564 มีพระจำพรรษาครบ 5 รูปทุกปี

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 วัดฉัททันต์สนานได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างสังเวชนียสถาน 4 (สถานที่ปรินิพพาน จากประเทศอินเดีย - เนปาล )



                โดยนายสมบูรณ์  บุญเขตต์  อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนราธิวาส  ด้วยความเห็นชอบของคณะสงฆ์จังหวัดนราธิวาส  ปัจจุบันคือ พระสมบูรณ์ วัฑฺฒโน  ได้มาดำเนินการก่อสร้างต่อดังนี้

                วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างสังเวชนียสถาน 4

1.             เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา  เนื่องในโอกาสฉลองพุทธชยันตี

2.             เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล  อดุลยเดช มหาราช

บรมนาถบพิตร  มีพระชนมายุครบ 7 รอบ  84 พรรษา

3.             เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาของ  พระภิกษุ  สามเณร   นักเรียน  นักศึกษา  ประชาชนทั่วไป

4.             เพื่อสร้างถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาไว้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

 

 

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น