โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566

12 พฤศจิกายน วันชี้ชะตาเลือกตั้งตัวแทนเกษตรกรในกองทุนฟื้นฟูฯ ใครกวาด 15,000 คะแนนมีสิทธิ์เข้าวิน

 12 พฤศจิกายน วันชี้ชะตาเลือกตั้งตัวแทนเกษตรกรในกองทุนฟื้นฟูฯ ใครกวาด 15,000 คะแนนมีสิทธิ์เข้าวิน

…..


หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้จะมีการเลือกตั้งตัวแทนเกษตรกร ในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) แทนชุดเก่าที่หมดวาระลง ซึ่งผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งเป็นการกำหนดไว้เฉพาะเกษตรกรที่เป็นสมาชิก กฟก.เท่านั้น เกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง

สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีเกษตรกรสมาชิกที่มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนประมาณ 5.2 ล้านคน (ตัวเลขกลมๆ) จึงขอเชิญชวนให้เกษตรกรสมาชิกทุกท่านออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 นี้ เพื่อจะได้มีผู้แทนของเกษตรกรทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้พี่น้องเกษตรกร ร่วมเสนอความคิดเห็น นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของเกษตรกรทั้งด้านหนี้สิน การพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร รวมถึงมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรในด้านต่างๆ ด้วย

นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล อดีตรองประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.)  กล่าวว่า การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ตามที่กฎกระทรวงกำหนด ให้มีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) โดยมีผู้แทนเกษตรกรจำนวน 20 คน จัดตามสัดส่วนเกษตรกรสมาชิก ที่่มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวน 5,267,720 คน ซึ่งแบ่งผู้แทนเกษตรกรได้ดังนี้ ภาคเหนือมีผู้แทน 5 คน ภาคกลาง 4 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 คน และภาคใต้ 4 คน 

สำหรับบทบาทหน้าที่ของผู้แทนเกษตรกรที่มาจากการเลือกตั้งมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอความเห็นต่อรัฐบาลในการดูแลจัดการปัญหาหนี้สิน รวมทั้งการฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรกรทั่วประเทศ ผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับการเลือกตั้งจะเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทั้งด้านหนี้สินและการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เพื่อสรรหาตัวแทนเกษตรกรที่มีความรู้ความสามารถมาทำหน้าที่ดังกล่าว จึงขอเชิญชวนให้สมาชิกกองทุนฟื้นฟู เข้าคูหา


นายวงศ์วริศ์ วงษ์จันทร์ ผอ.สำนักการจัดการหนี้ฯ ประกาศรายชื่อผู้แทนที่เข้าร่วมสมัคร ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมทั้งสิ้น 127 คน มีใครบ้าง พร้อมเบอร์หมายเลขบอร์ดกองทุนฟื้นฟู มีใครบ้าง พร้อมคำแนะนำ ก่อนวันเลือกตั้ง ขอให้สมาชิกตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ที่ว่าการอำเภอ/เขต หรือ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัด หากตรวจสอบแล้วไม่พบรายชื่อ ขอให้ติดต่อที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดที่ท่านขึ้นทะเบียนรายชื่อไว้


แต่จากการตรวจสอบพื้นฐานเกษตรกรสมาชิกเพียงส่วนน้อยที่ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งตัวแทนเกษตรกร ในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ หน่วยงานจัดการเลือกตั้งควรเร่งประชาสัมพันธ์ และแจ้งสมาชิกกองทุนให้ออกไปใช้สิทธิ์ในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ เพื่อให้ได้ตัวแทนเกษตรกรอย่างแท้จริงเข้าไปทำงานในกองทุนฟื้นฟูฯ และผู้สมัครเองก็ต้องเร่งเดินหน้าแนะนำตัว พร้อมนโยบาย และเชิญชวนเกษตรกรสมาชิกออกไปใช้สิทธ์เลือกตั้ง

จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังพบว่า เกษตรกรสมาชิกออกไปใช้สิทธ์กันค่อนข้างน้อย ประมาณ 20% ต้นๆ อันเป็นการสะท้อนว่า การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง และกว้างขวางพอ หรือการตื่นตัวของเกษตรกร ยังไม่พอสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯในฐานะผู้จัดการเลือกตั้งควรเร่งมือเชิญชวนเกษตรกรสมาชิกให้มากกว่านี้ เจ้าหน้าที่รัฐเองก็ควรวางตัวเป็นกลาง เพราะ #นายหัวไทร ทราบว่า นายอำเภอบางอำเภอวางตัวไม่เป็นกลาง 

กล่าวสำหรับภาคใต้มีผู้สมัครมากถึง 23 คน มีคนที่เคยเป็นกรรมการเก่าลงสมัครถึง 8 คน นับเป็นการแข่งขันในสนามเกษตรกรที่ดุเดือดอีกสนามหนึ่ง และจากการประเมินคร่าวๆกับข้อมูลที่ไม่มากนัก คะแนนน่าจะกระจุกตัวอยู่กับผู้สมัครที่เป็นกรรมการเก่า 8 คน เพราะมีชื่อเป็นที่ปรากฏอยู่แล้ว ส่วนหน้าใหม่คงต้องใช้ความพยายามอีกมาก

การเลือกตั้งตัวแทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟู หาเสียงพื้นที่มากกว่า สส.เยอะ เพราะต้องหาเสียงครอบคลุมทั้งภาค ภาคใต้ก็ทั้ง 14 จังหวัด ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก แต่ด้วยผู้มีสิทธิ์ไม่มาก นายหัวไทรประเมินว่า ใครมีคะแนนถึง 15,000 คะแนน ก็น่าจะเข้าวินแล้ว 

สมมติว่า มีผู้ออกมาใช้สิทธ์ 25% กับจำนวนผู้มีสิทธิ์ในภาคใต้ 1,000,000 คน (ตัวเลขกลมๆ) ก็จะมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ประมาณ 250,000 คน ถั่วเฉลี่ยของคะแนนก็จะอยู่ที่ 10,000 ต้นๆด้วยซ้ำไป แต่เพื่อความชัวร์ ผู้สมัครที่หวังผลชนะ จะต้องทำคะแนนให้ได้ 15,000 คะแนน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น