โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566

คณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3)จัดประชุม ครั้งที่ 3/2566 รับฟังข้อเสนอแนะ หลังคณะพูดคุยร่วมจัดทำ JCPP เพื่อนำสันติสุขสู่ชายแดนใต้อย่างถาวร ตามกรอบเวลาในปี 2567 (ชมคลิป)

 คณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3)จัดประชุม ครั้งที่ 3/2566 รับฟังข้อเสนอแนะ หลังคณะพูดคุยร่วมจัดทำ JCPP เพื่อนำสันติสุขสู่ชายแดนใต้อย่างถาวร ตามกรอบเวลาในปี 2567 (ชมคลิป)


                      (ชมคลิป)  การประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่(สล.3)ครั้งที่ 3/2566

ประพันธ์ ฤทธิวงศ์ บก.ปลายด้ามขวาน@ ชายแดนใต้ /สล.3 งานสื่อสารมวลชน การสื่อสาร และเทคโนโลยี/ รายงานภาพข่าว




(ชมคลิป)  พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หน.คณะพูดคุยให้สัมภาษณ์  ผู้สื่อข่าวหลังจากการประชุม สล.3 ครั้งที่3/2566
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566) เวลา 10.30 น. ณ ห้องน้ำพราว 1 โรงแรมซีเอส ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2566

เพื่อขับเคลื่อนงานการสร้างสภาวะแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เอื้อต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุข ภายหลังมีการตกลงร่วมกันระหว่างคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกลุ่ม BRN ในการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม (Joint Comprehensive Plan towards Peace) หรือ JCPP



เมื่อวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา โดยมี พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในฐานะหัวหน้าคณะประสานงานระดับพื้นที่ เป็นประธาน พร้อมด้วย พลตรี วรเดช เดชรักษา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5/ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี ในฐานะเลขานุการคณะประสานงานระดับพื้นที่ ตลอดจนคณะประสานงานระดับพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี , ยะลา , นราธิวาส) และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ร่วมประชุม







พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ กล่าวว่า การดำเนินการของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี 2566 นั้น ตลอดห้วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีกิจกรรมสำคัญซึ่งส่งผลต่อความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุย คือ การพูดคุยแบบเต็มคณะที่ประเทศมาเลเซีย และการไปเยือนประเทศไทยของผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซียท่านใหม่ ซึ่งการพูดคุยแบบเต็มคณะนั้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพร้อมในหลักการ 3 ประเด็น คือ การจัดทำแผนร่วมกันแบบองค์รวม หรือ JCPP




โดยการกำหนดกรอบเวลาอย่างเป็นขั้นตอน และกรอบการทำงานของคณะทำงานทางเทคนิคเพื่อหารือนำเสนอการพูดคุยในครั้งต่อไป และเมื่อพูดถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็คงจะไม่พ้นการระเบิดขบวนรถของเจ้าหน้าที่ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียบุคลากรที่เชี่ยวชาญเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการทำมาหากินของประชาชนด้วยการปฏิเสธความรุนแรงนี้ทุกคนสามารถแสดงออกได้โดยทันที





ในส่วนการมาเยือนประเทศไทยของผู้อำนวยความสะดวก หลังได้รับตำแหน่งใหม่เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ตามคำเชิญของสมัชชาสันติภาพชายแดนใต้ปัตตานี เพื่อรับทราบสถานการณ์ปัจจุบันที่แท้จริงในพื้นที่ไว้เป็นข้อมูลในการทำงานโดยพบปะกลุ่มต่างๆ กว่า 33 กลุ่ม รับฟังปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยความเป็นกลางปราศจากวาระซ่อนเร้นใดๆ ซึ่งนั่นทำให้ท่านตระหนักได้ดีว่า "การสร้างการมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุมเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสันติสุขที่ยั่งยืน"










สำหรับประเด็นสำคัญในการประชุมคณะประสานงานระดับพื้นที่ครั้งนี้ คือ การจัดทำแผนปฎิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม (Joint Comprehensive Plan towards Peace) หรือ JCPP ซึ่งเป็นความก้าวหน้าในกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเนื้อหาสำคัญ 2 ส่วน คือ การลดความรุนแรง ลดการเผชิญหน้าในพื้นที่ และการจัดการปรึกษาหารือกับประชาชน เพื่อนำไปสู่การแสวงหาทางออกทางการเมือง โดยมีกรอบเวลาในการดำเนินการเริ่มตั้งแต่ขั้นการจัดทำ JCPP และการนำไปสู่การปฏิบัติในปี 2566 และ ปี 2567


















มีความคาดหวังว่าจะสามารถบรรลุฉันทามติในการยุติความขัดแย้งเพื่อสันติสุขที่ถาวรในพื้นที่ต่อไป ซึ่งคาดว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป และตลอดห้วงระยะเวลา 18 เดือนหลังจากนั้น จะมีสันติภาพเชิงลบ คือ การลดความรุนแรง และสันติภาพเชิงบวก คือ การปรึกษาหารือสาธารณะเพื่อหาทางออกจากประเด็นต่างๆ นำไปสู่การบรรลุข้อตกลงสร้างสันติสุขอย่างถาวรในสิ้นปี 2567 เกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการปฏิบัติร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ที่ไม่ใช่เพียงแต่คณะพูดคุย แต่ เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการแสดงพลังประชาชนในการปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ







3 เดือน ที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ดำเนินงานสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดคุยสันติสุข รับฟังปัญหา และสร้างความเข้าใจต่อประชาชน จนนำมาสู่การนำประเด็นปัญหาต่างๆ ของประชาชน มาร่วมหารือกับหัวหน้าพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการประชุม โดยการประชุมครั้งนี้ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อประเด็นสารัตถะทั้ง 3 ข้อ (การลดความรุนแรง, การปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่, การแสวงหาทางออกทางการเมือง) เพื่อให้การพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เห็นผลเป็นรูปธรรมในอนาคตต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น