โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565

“พลังสังคมใหม่” ส่ง“ พลพงศ์ พงษ์สุพัฒน์ ลงเลือกตั้งซ่อม เขต 4 ลำปาง (ชมคลิป)

 “พลังสังคมใหม่” ส่ง“ พลพงศ์ พงษ์สุพัฒน์ ลงเลือกตั้งซ่อม  เขต 4 ลำปาง   (ชมคลิป)

ประพันธ์  ฤทธิวงศ์ /รายงาน



        
(กดลิงก์)   https://vt.tiktok.com/ZSdvSyKRg/?k=1




                  หลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 4 ของจังหวัดลำปางใหม่ ซึ่งเป็นไปตามที่คณะกรรมการ?การเลือกตั้ง? (กกต.) เสนอ เนื่องจากคณะกรรมการฯ ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลือกตั้งซ่อมในครั้งที่ผ่านมา เห็นว่านายวัฒนา สิทธิวัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐ ขณะนั้นได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่สุจริตเที่ยงธรรม โดยการนี้ได้มีพระราชกฤษฎีกา ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565 และคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดลำปางได้มีการกำหนดวันเลือกตั้งและวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 แทนตำแหน่งที่ว่างในวันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2565 และได้กำหนดให้วันที่ 9-13 มิถุนายน 2565 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งฯ




             เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ศาลาประชาคมที่ว่าการอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดลำปางได้ประเดิมเปิดสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) เขต 4 ลำปาง ขึ้นซึ่งบรรยากาศไม่ค่อยคึกคักเท่าที่ควรมีผู้สมัครจากพรรคการเมือง เดินทางมาลงทะเบียนสมัครรับเลือกตั้งอยู่เพียงสองราย คือ นายพลพงศ์ พงษ์สุพัฒน์ ผู้สมัครจากพรรคพลังสังคมใหม่ และนายเดชทวี ศรีชัย พรรคเสรีรวมไทย โดยผู้สมัครทั้งสองได้เดินทางมายังสถานที่รับสมัครตั้งแต่เช้าก่อนเวลา 08.30 น.

         ซึ่งถือเป็นการมาถึงสถานที่รับสมัครพร้อมกัน ดังนั้นเมื่อถึงเวลารับสมัครคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง จึงให้ทั้งฝ่ายตกลงกันเพื่อเลือกหมายเลขผู้สมัครแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จึงให้มีการจับสลากหมายเลขผู้สมัครแทน และผลปรากฏว่า นายเดชทวี ศรีชัย พรรคเสรีรวมไทย ได้หมายเลข 1 ส่วนนายพลพงศ์ พงษ์สุพัฒน์ ผู้สมัครจากพรรคพลังสังคมใหม่ได้หมายเลข 2 โดยในทุกกระบวนการทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำเขตเลือกตั้ง ได้มีการคุมเข้มคงระยะห่างตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อ COVID-19 ไม่อนุญาตให้บรรดาเหล่ากองเชียร์เข้าไปในบริเวณเขตพื้นที่รับสมัคร แต่ให้นั่งคอยอยู่ในบริเวณจุดพักที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ พร้อมกำหนดให้ผู้สมัครสามารถมีผู้ติดตามถือเอกสารหลักฐานในการสมัครรับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 คน เท่านั้น

          โดยทันทีหลังจากการจับสลากหมายเลขผู้สมัครแล้วเสร็จ ผู้สมัครทั้งสองรายก็ได้เข้ายื่นเอกสารการลงสมัคร ซึ่งก็ได้ผ่านการตรวจสอบตามลำลับขั้นตอนจากเจ้าหน้าที่จนแล้วเสร็จ ท่ามกลางความยินดีของเหล่ากองเชียร์ผู้ที่มาให้การสนับสนุน ในการนี้นายทองเนตร ดูใจ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดลำปาง และนายสมศักดิ์ วัชรธาดาพงศ์ นายอำเภอเถิน ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 4 ได้เข้ามาร่วมกำกับดูแลสังเกตุการณ์ในการรับสมัครครั้งนี้ด้วย


         ดร.เชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ หัวหน้าพรรคพลังสังคมใหม่ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายสำคัญให้เป็นหลักในการหาเสียงตั้งแก่ สมาชิกพรรคและตัวแทนเขตการเลือกตั้งทั่วประเทศ ด้วยมติคณะกรรมการบริหารพรรคให้ชูนโยบาย นำไปชี้แจงในการหาเสียงเพื่อทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในเขตเลือกตั้ง

   ดร.เชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ หัวหน้าพรรคพลังสังคมใหม่ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายสำคัญให้เป็นหลักในการหาเสียงตั้งแก่ สมาชิกพรรคและตัวแทนเขตการเลือกตั้งทั่วประเทศ ด้วยมติคณะกรรมการบริหารพรรคให้ชูนโยบาย นำไปชี้แจงในการหาเสียงเพื่อทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในเขตเลือกตั้ง โดยมีนโยบายสำคัญดังนี้

     1.นโยบายช่วยค่าใช้จ่ายสวัสดิการค่าครองชีพพื้นฐานให้ผู้มีรายได้น้อยกว่า 100,000 บาทต่อปี โดยรวมผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เบี้ยคนชรา คนพิการ

      2.พรรคพลังสังคมใหม่เล็งเห็นความสำคัญอย่างหนึ่ง ยกระดับสวัสดิการพนักงานเอกชนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ในค่ารักษาพยาบาลฟรี สำหรับ พ่อ แม่ สามี ภรรยา รวมทั้งบุตร รวมทั้งค่าเล่าเรียนฟรีบุตรของผู้ประกันตน

      ด้านนายสุโท สร้างคำ เลขาธิการพรรคพลังสังคมใหม่ กล่าวว่า ขณะนี้พรรคพลังสังคมใหม่ ได้รับกระแสข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมืองจะมีการยุบสภาในเร็วๆนี้ พรรคพลังสังคมใหม่มีความพร้อมในการส่งตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ครบ 400 เขต ทั่วประเทศเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ได้ออกเดินทางพบปะพี่น้องประชาชนทั่วประเทศของท่านหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค พร้อมคณะกรรมการบริหารพรรคและผู้สมัครส.ส.เขตทั่วประเทศ โดยชูนโยบายดังกล่าวเพื่อให้รับแรงสนับสนุนจากพี่น้องประชาชน ถึงแม้จะเป็นพรรคการเมืองใหม่แต่พรรคพลังสังคมใหม่ไม่ได้เป็นพรรคเล็ก พร้อมส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งสู้ทุกพรรค

 

     สำหรับนโยบายพรรคพลังสังคมใหม่

ประเทศไทยมีความมั่นคง สุขสงบ และสวยงาม  มีอาชีพและฐานะมั่นคง ยั่งยืน แต่ความเหลื่อมล้ำเป็นบ่อเกิดหรือปัจจัยเสริมของอีกหลายปัญหาในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นปัญหา เศรษฐกิจ ศาสนา การเมือง สังคม ที่คุกรุ่นและปะทุมาเป็นระยะๆ ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่เรื้อรัง หากไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง คาดเดาได้ว่าสังคมไทยในอนาคตจะมีกระบวนการสะสมทุนกระจุกตัวอยู่กับธุรกิจขนาดใหญ่ผลตอบแทนจากค่าจ้างจะมีความห่างกันมากขึ้น ประสบการณ์จากต่างประเทศบ่งชี้ว่าความเหลี่อมล้ำต้องการความมุ่งมั่นและความยินยอมของสังคมในการจัดระเบียบเศรษฐกิจผ่านทางนโยบายที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำต่างๆได้จริง  พรรคพลังสังคมใหม่ จะยึดมั่นในอุดมการณ์ของการบริหารพรรคภายใต้กฎหมายและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ยึดผลประโยชน์ของชาติ ประชาชนเป็นหลักในการบริหารประเทศ จึงได้กำหนดนโยบายลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมให้กับสังคม ในหลากหลายมิติคือ

นโยบายด้านเศรษฐกิจ พุทธศาสนา การเมือง สังคม

1.  รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า (Universal Basic Income UBI ) เป็นแนวคิดที่กำลังมาแรงทั่วโลกขณะนี้ แต่โดยรวมแล้วหมายถึงการให้เงินฟรี แก่ประชาชนโดยไม่มีเงื่อนไข รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า (UBI) แตกต่างจากสวัสดิการที่รัฐจัดให้ เพราะเป็นการให้เปล่าแบบไม่มีเงื่อนไขไม่ยุ่งยากให้ทุกเดือนรัฐ จะโอนเงินเข้าบัญชีของผู้มีรายได้น้อยทุกเดือนๆละ 3,000 บาท เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำเพราะอนาคตคนจะตกงาน งานทุกระดับกำลังถูกแทนที่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ จนนักอนาคตวิทยาบางคนทำนายว่า 8 ปีข้างหน้า (๒0๓๐) จะมีคนตกงาน หลายล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของแรงงาน จำเป็นจะต้องนำเอานโยบาย "รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า" (UBI) มาปรับฐานรากเปลี่ยนฐานคิด จ่ายเงินเดือนให้กับผู้ที่มีรายได้น้อยที่ต่ำกว่าเส้นความยากจน เดือนละ 3,000 บาท เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ แบบยั่งยืน รายได้พื้นฐานถ้วนหน้า(UBI) ไม่ใช่ บัตรสวัสดิการและไม่ใช่บำนาญประชาชนรายได้พื้นฐานถ้วนหน้า(UBI) จ่ายเงินเดือนให้กับเด็กอายุตั้งแต่เจ็ดขวบขึ้นไป ผู้ที่เคยได้รับบัตรสวัสดิการและผู้สูงอายุ ทั้งสามกลุ่มนี้จะได้รับเงินเดือนๆละ 3,000 บาท ทุกๆเดือน เพื่อแก้ปัญหาฐานรากของคนจนในประเทศไทยให้พ้นจากความยากจนแบบยั่งยืน

 2. นโยบายคุ้มครองส่งเสริมพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนและศาสนาอื่นให้มั่นคงเข้มแข็งโดยสนับสนุนให้ยกร่าง พรบ.ทั้งสิ้น 6 ฉบับดังนี้

 2.1 ยกร่าง พรบ. จัดตั้งกระทรวงพุทธศาสนา "มหาคณิสร" ให้เป็นกึ่งองค์กรอิสระเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันและอนาคต สู่ช่วงชั้นการบริหารจัดการพุทธศาสนาในรอบ ๕ ทศวรรษข้างหน้า อย่างมีธรรมาภิบาลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยุคสู่ยุคอย่างถูกวิธี

 การณ์นี้ มหาเถรสมาคม กรมการศาสนาสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ จะสิ้นสุดลงโดยปริยายส่วน พระราชอำนาจจะยังคงบริบูรณ์ จะก่อเกิดมี "มหาเถรสภา" ผู้ทรงสิทธิประสาท ที่มาของอำนาจสู่ "มหาคณิสร" ผู้จะเป็นคณะบริหารคณะสงฆ์ไทยอย่างแท้จริง โดยล้อเอา พรบ.สงฆ์ ๒๔๘๔ มาเป็นแม่แบบบางมาตรา

 2.๒. ยกร่าง พรบ.จัดตั้งศาลวินัยธรหรือสำนักอธิกรณ์ เพื่อจัดระเบียบกระบวนพิจารณาอธิกรณ์หรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับสถาบันพุทธศาสนาและพระภิกษุสงฆ์ รวมถึงนักพรตในพุทธศาสนา โดยใช้แนวทางศาล "ชำนัญพิเศษ" สนับสนุนให้นำ พระธรรมวินัย มาพิจารณาก่อนการวินิจฉัย ตัดสินอธิกรณ์และข้อพิพาทที่เกิดกับศาสนทายาทและศาสนสมบัติอย่างถูกวิธี

 2.๓. ยกร่าง พรบ.จัดตั้งกองทุนการเงินเพื่อพุทธศาสนา,พุทธศาสนิกชน และพุทธศาสนาระหว่างประเทศ ยกเลิกนโยบายจัดตั้ง "ธนาคารพุทธศาสนา" เพราะอาจไม่สอดรับกับระบบดิจิตอลทางการเงิน และยากต่อการให้บริการธุรกรรมทางการเงินในอนาคต

 ควบรวมศาสนสมบัติกลางและจัดให้วัดรายได้สูงเกิน ๑๐ ถึง ๕๐ ล้านบาทต่อปี ต้องหักเข้ากองทุนการเงิน

เพื่อพุทธศาสนาร้อยละ ๕ และรายรับตั้งแต่ ๕o ล้านบาทต่อปีขึ้นไป ต้องหักเข้ากองทุนพุทธศาสนาร้อยละ ๑0

เพื่อการอุปถัมภ์บำรุงพุทธศาสนาโดยทรัพย์สินของพุทธศาสนาเอง วัดที่มีรายได้ต่อปี ต่ำกว่าปีละ ๑0 ล้านบาท อาจได้สิทธิทำแผนงานของบพัฒนาวัดจากกองทุนนี้

เพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนาตามความจำเป็น

 2.4. ยกร่าง พรบ.คุ้มครองหรือจัดระเบียบว่าด้วยการให้ที่ดินป่าโซน E มีสถานะเป็น พุทธอุทยานตามธรรมชาติ เพื่อให้สอดรับกับพระธรรมวินัย วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ ที่ต้องทำป่าเขาลำเนาไพรให้เป็นสัปปายะสถานแก่พุทธศาสนทายาท และมุ่งพัฒนาให้ชุมชนชาวพุทธสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้และมีพุทธศาสนสถานควบคู่กันเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม ตามข้อผ่อนปรนเพื่อตอบโจทย์เรื่องขาดแคลนที่ทำกินและพุทธศาสนธรรมของเกษตรกร

 2.๕. ยกร่าง พรบ.วิสาหกิจขุมชนวิถีพุทธ เพื่อทุเลาปัญหาการขาดแคลนพระสงฆ์อยู่จำพรรษาและขาดงบประมาณเล็กน้อยเพื่อการอุปโภคภายในวัดและการทรงสมณชีพของพระสงฆ์ตามวัดในชนบทอย่างพอเพียง เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ฯลฯ ที่วัดในชนบทประสบปัญหานี้จนเกิดวัดร้าง ยุบเลิกวัด เป็นจำนวนมาก

 ที่สำคัญเป็นการยึดโยงกันระหว่าง บ้าน วัด ชุมชน ให้มีสภาพเป็นจริง โดยจัดให้วัดที่มีศักยภาพจัดทำ 1 ลานวัด ๑ ตลาดนัด ทำวัดให้เป็นศูนย์กลางการบริหารกองทุน ผลิต ถนอมพันธุ์ ไซโล และกระจายผลิตภัณฑ์ สู่สังคมพื้นฐานอื่นๆ

 2.๖. ยกร่าง พรบ. เชิดซูเกียรติให้ผู้นำศาสนาอิสลาม เป็น "นักพรต" เพื่อลดภาระของผู้นำทางศาสนาไม่ต้องรับภาระหนักในการทำกิจกรรมทางสังคมและการเมืองของผู้นำศาสนานั้น ซึ่งอาจรับตำแหน่งเป็นถึงนายกรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสำคัญๆและ/หรือตำแหน่งชั้นสูงสุดในระบบราชการไทย เพื่อลดข้อขัดแย้งแคลงใจของศาสนิกชนของศาสนาอื่น ที่มองว่าผู้นำศาสนาอิสลามได้สิทธิมากเกินไป และมักปฏิเสธลอยหรือรับสภาพลอยเสมอๆ หากจำต้องตอบคำถามของสังคมที่ตั้งคำถามถึงสถานภาพของผู้นำศาสนาอิสลาม พรบ.นี้จะชี้ชัดให้การแสดงตัวตนของผู้นำศาสนาอิสลามในสังคมไทยแบบรวมเหล่าว่ามีสถานภาพอย่างไรตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญไทย

 

๓. นโยบายส่งเสริมจัดสรรที่ดินของรัฐ ให้ประชาชนทุกครอบครัวที่ไม่มีบ้านและไม่มีที่ดินทำกิน บนพื้นที่ของรัฐให้เพียงพอโดยปริมาณและวิธีการที่เหมาะสม เช่น เช่าที่ดิน ทหาร ที่ธนารักษ์ ที่ราชพัสดุ ที่ป่าอนุรักษ์เสื่อมโทรม ฯลฯ หรือที่ดินที่ประชาชนครอบครองอยู่แล้วเช่น ภบท.5-6-11 สปก.4-01 ฯลฯ นำมาจัดสรรใหม่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อครัวเรือน ให้สามารถประกอบอาชีพทำกินบนที่ดินได้มากกว่าเพื่อการทำเกษตรอย่างเดียว รองรับความมั่นคงของคนไทยในวัยเกษียณเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนสร้างความมั่นคงพื้นฐานในชีวิตของประชาชน แก้ปัญหาคนไม่มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

 4. นโยบายผลักดันและส่งเสริมให้ออก พรบ. อนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมือง นำไก่ชน ไก่สวยงาม ส่งออกไปขาย ต่างประเทศ อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยดั่งเดิม เพื่อสร้างอาชีพเกษตรกรไทยให้มีรายได้ในการเลี้ยงไก่ชน ไก่สวยงาม ตลอดถึงได้ขายพืชผลการเกษตรเพื่อนำมาเป็นอาหารไก่พื้นบ้านในราคาดี

 5. นโยบายปฏิรูปการศึกษาอย่างครบวงจร ทุกมิติอย่างจริงจัง เพื่อลดภาระของผู้ปกครอง ยกระดับการศึกษาด้านอาชีวศึกษามากยิ่งขึ้น ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน ประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่นต่อการศึกษาและเน้นการศึกษาเพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพอย่างแท้จริง

 6. นโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติดและสารพิษ ให้โอกาสผู้ติดยาเสพติดได้เข้ารับการบำบัดรักษา รวมถึงดูแลช่วยเหลือให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ทุกคนสามารถเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจโดยไม่ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ พัฒนาและยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อลดทอนศักยภาพ ความสามารถพื้นที่การผลิตยาเสพติดในประเทศเพื่อนบ้าน และการลักลอบนำเข้าสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ สนับสนุนการสกัดกั้นยาเสพติดให้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อลดและตัดโอกาสในการลักลอบลำเลียงยาเสพติดเพื่อการแพร่กระจายและส่งออกทางระบบคมนาคมขนส่ง พัสดุภัณฑ์ ทางออนไลน์ ผู้ผลิต ผู้ค้ารายใหญ่ต้องรับโทษทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด

 7. นโยบายแยกกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นออกจากระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเป็นกระทรวงส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันเป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเต็มรูปแบบโดยสภาท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นช่วยคิดช่วยทำในระบบ บ้าน วัด ชุมชน โดยสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

 8. นโยบายการส่งเสริมพัฒนาการกีฬา และการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพให้เป็นอาชีพหนึ่งที่มีความมั่นคงและด้านการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางในการท่องเที่ยว (เมืองหลัก เมืองรอง ชุมชน) ให้มีความโดดเด่น ความพร้อมในอัตลักษณ์ของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตกรรมวิถี เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากร ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตกรรมวิถี ให้มีขีดความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์และนำมาต่อยอดการบริหารจัดการชุมชนได้อย่างเหมาะสมสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติต่อไปด้วยการส่งเสริมกิจกรรมของกระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยวให้เกิดประสิทธิภาพอย่างบริบูรณ์

 

 

 

 

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น