โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565

🌅🌅 พระนอนโบราณประจำเมืองสงขลา​ ที่เขาแดง​ 🌅🌅

 🌅🌅  พระนอนโบราณประจำเมืองสงขลา​  ที่เขาแดง​ 🌅🌅




   ผมจำได้ว่า​ เมื่อประมาณ​ พ.ศ.2530  ผมได้เคยขึ้นไปไหว้พระนอนขนาดใหญ่​ ทำด้วยหินก้อนใหญ่ๆ​ มาตั้งซ้อนกันคล้ายกำแพง​ เป็นองค์พระที่มีขนาดยาวมากกว่า​ 50​ ม.สูงบางช่วงเกือบ​ 10​ ม.อยู่ในลักษณะนอนอยู่บนเชิงเขา

   ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามกับสำนักงานโครงการปลูกป่าชายเลน​ (ป่าโกงกาง)​ 

   ซึ่งสมเด็จพระเทพฯทรงเสด็จมาเปิดโครงการฯเมื่อหลายปีมาแล้ว

   อยู่ในพื้นที่​ ม.2​ บ้านแหลมสน​ ต.หัวเขา​ อ.สิงหนคร​ จ.สงขลา

   ชาวบ้านในสมัยโบราณจะเรียกว่า​ "พระนอนเมืองสงขลา" ชาวบ้านเชื่อว่า​ มีความศักดิ์สิทธิมาก​ มีตำนานเล่าว่า​ เดิมชาวบ้านชาวเมืองที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา​ แต่ไปร่วมการสร้าง"พระธาตุนครศรีฯ" ไม่ได้​ จึงได้ร่วมกันสร้างพระนอนองค์ใหญ่นี้ขึ้นมา​ เป็นพระศักดิ์สิทธิ์​  เป็นศิริมงคลคู่บ้านคู่เมือง

   แต่ก่อนผมได้ข้อมูลว่า​ พื้นที่นี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่แหล่งโบราณสถาน​ และ ในปัจจุบันไม่ทราบว่ามีการออกโฉนดไปแล้วหรือไม่ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรเราต้องศึกษากันต่อไป





   ผมเคยไปไหว้เมื่อ​  30​ กว่าปีที่ผ่านมา​ ตอนนั้นองค์พระยังปรากฏสมบูรณ์​ โดดเด่น​ ชัดเจน

    หลังทราบเหตุการบุกรุกโบราณสถานที่เขาแดง​ ผมมานั่งทบทวนและคิดขึ้นมาได้ จึงขอให้เพื่อนในพื้นที่ขึ้นไปดูให้เมื่อวาน(10​ มี.ค.2565)​ ได้พบร่อยรอยองค์พระยังอยู่​ แต่ขาดการดูแลรักษา​ ถูกปล่อยให้ต้นไม้ขึ้นแทรกระหว่างหินบนองค์พระ​ มีร่อยการขุดค้นหาสมบัติและรอยน้ำกัดเซาะ​ ชำรุดไปตามธรรมชาติ​และกาลเวลา​ ดังปรากฏในรูปที่ส่งมาด้วยนี้

   เพื่อนถ่ายรูปส่งมาให้​ เห็นแล้วรู้สึก.. หดหู่.. เสียดาย..ไม่แน่ใจว่าที่ดินบริเวณนี้​ ตอนนี้เป็นที่มีเอกสารสิทธิ์หรือไม​่ แต่ที่เชิงเขา​ มีบัวเก็บกระดูกและฮวงซุ้ยฝังศพบรรพบุรุษอยู่ด้วย​ ส่วนองค์พระนอน​ อยู่สูงขึ้นไปบนเนินเขาประมาณ100​ ม.ด้านหน้าที่ดินมีรั้ว​ลวดหนาม แต่ประตู​เปิดโล่ง ไม่มีป้ายห้ามเข้า​ แสดงว่า​ ผู้ครอบครองที่ดินใจดี​ ไม่มีเจตนาหวงห้าม​ หรืออาจยังคงเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตโบราณสถาน

   ผมคิดว่า​ เราๆท่านๆที่มีความสนใจและเจ้าหน้าที่​ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ​ เราน่าจะมาช่วยกันศึกษาข้อมูล​ ช่วยกันรณรงค์ให้มีการบูรณะ​ อนุรักษ์และพัฒนา​ ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของเมืองสงขลา​  และเป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยสืบไปนะครับ

          สัญญา​ วัชรพันธุ์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น