ขอเชิญ ..พุทธศาสนิกชน ร่วมงานบำเพ็ญกุศล รำลึก ครบรอบ ๓ ปี
การมรณภาพ พระครูประโชติและพระอรรถพร
วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.oo น.เป็นต้นไป
ณ วัดรัตนานุภาพ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส (ชมคลิป)
กำหนดการงานรำลึกครบรอบ ๓ ปี
พระครูประโชติ
รัตนานุรักษ์ และพระอรรถพร กุสลจิตโต
วันที่
๑๗-๑๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ
วัดรัตนานุภาพ ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
...........................................................................
วันที่ ๑๗ มกราคม
๒๕๖๕
เวลา
๑๘.๓๐ น. พุทธบริษัทสวดพระพุทธมนต์ / ชมวีดีทัศน์
รำลึกพระครูประโชติ ฯ
๒๐.๓๐ น. เจริญสติ
/ กรวดน้ำ – แผ่เมตตา/ กราบพระรัตนตรัย
วันที่ ๑๘ มกราคม
๒๕๖๕
เวลา ๐๙.๐๐ น. มอบทุนการศึกษา
๐๙,๓๐
น. ประกอบพิธีสวดพระพุทธมนต์ “ธรรมนิยาม”
(พระสงฆ์ ๑๐ รูป)
๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดมาติกา
๑๐.๓๐ น. ตักบาตร
๑๑.๐๐ น. ถวายสังฆทาน
๑๑.๓๐ น. ถวายภัตตาหารเพล
เวลา ๑๓.๐๐ น. วีดีทัศน์ พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ และพระอรรถพร
กุสลจิตโต
๑๔.๓๐ น. ไหว้พระสวดมนต์/เจริญจิตภาวนา
/ จุดเทียนสักการะน้อมรำลึก
๑๕.๓๐ น. เสร็จพิธี
ประวัติพระสังฆาธิการ
เพื่อขอเข้าสอบพระอุปัชฌาย์
๑. ตำแหน่ง
ชื่อ พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ฉายา จนฺทวํโส อายุ
๔๔ พรรษา ๒๓ วิทยฐานะ นธ. เอก
สำนักเรียนวัดประดิษฐ์บุปผา ตำบลสุไหงปาดี
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส วุฒิทางโลก ปริญญาโท มหาวิทยาลัยปทุมธานี
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ๑. เจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ
ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
๒. เจ้าคณะตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
(ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แวดล้อมด้วยศาสนาอื่น)
๒. สถานะเดิม
ชื่อ สว่าง นามสกุล เวทมาหะ เกิดวัน ๓ ฯ๓ ๕ ค่ำ
ปีกุล วันที่ ๑๓ เมษายน
๒๕๑๔
บิดา นายตีบ เวทมาหะ มารดา นางเขียว เวทมาหะ ที่บ้านเลขที่ ๑/๙๘ ถนนเอเชีย ๑๘ ตำบลสุไหงโก-ลก
อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
๓. บรรพชา - อุปสมบท
วัน ๓ ฯ๘ ๗ ค่ำ ปีวอก
วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๓๕ วัดประชุมชลธารา ตำบลสุไหงปาดี
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
พระอุปัชฌาย์ พระครูมงคลคณาบดี (พระเทพศีลวิสุทธิ์)
วัดประชุมชลธารา ตำบลสุไหงปาดี
อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
พระกรรมวาจาจารย์ พระครูสถิตสีลขันธ์ วัดโบราณสถิตย์
ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
พระอนุสาวนาจารย์ พระอธิการประสพ กิตฺติโก
วัดโคกตา ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
๔. วิทยฐานะ
(๑) พ.ศ. ๒๕๔๐
สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดประดิษฐ์บุปผา ตำบลสุไหงปาดี
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
(๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ สำเร็จการศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยปทุมธานี
(๓) การศึกษาพิเศษ สามารถพูดภาษายาวี
(มลายูท้องถิ่น) ได้เป็นอย่างดี
(๔) ความชำนาญการ
มีความสามารถทางด้านการออกแบบแปลนอุโบสถ
วิหาร ศาลาการเปรียญ
และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ดี
๕. งานปกครอง
(๑) พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๙
ดำรงตำแหน่งเลขานุการเจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี
พ.ศ. ๒๕๔๗ –
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ ตำบลโต๊ะเด็ง
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ. ๒๕๕๐ ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลสุไหงปาดี
อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ. ๒๕๕๑ – ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
(๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ มีพระภิกษุจำพรรษา ๙ รูป สามเณร - รูป
ศิษย์วัด - คน ชี - คน
พ.ศ. ๒๕๕๖ มีพระภิกษุจำพรรษา ๖ รูป สามเณร - รูป
ศิษย์วัด - คน ชี - คน
พ.ศ. ๒๕๕๗ มีพระภิกษุจำพรรษา ๖ รูป สามเณร - รูป
ศิษย์วัด - คน ชี - คน
(๓) มีการทำวัตรสวดมนต์ เช้า – เย็น เป็นประจำตลอดปี
(๔) มีการทำอุโบสถกรรม (สวดพระปาฏิโมกข์) ทุกกึ่งเดือน
(๕) มีระเบียบการปกครองของวัด ดังนี้.-
-
ระเบียบปฏิบัติในการอยู่ในเสนาสนะสงฆ์
๑. การรักษาของสงฆ์ พระภิกษุสามเณรรูปใดที่ได้รับมอบหมายให้เข้าอยู่อาศัยประจำ
กุฏิหลังใด ห้องใด
ห้ามเคลื่อนย้ายถาวรวัตถุของสงฆ์ไปในที่อื่นก่อนได้รับอนุญาต
จากเจ้าอาวาส
๒. หากต้องการทำการก่อสร้างเพิ่มเติม ขยายกุฏิที่อยู่นั่นทั้งภายนอกและภายในหรือการ
ตกแต่งกุฏิเช่น การตอกตะปู
การเพิ่มเติมในส่วนต่างๆ ก็ตามต้องแจ้งในเจ้าอาวาส
รับทราบก่อน
๓. การรักษาความสะอาด พระภิกษุ
สามเณรผู้ได้รับมอบหมายให้อยู่กุฏิใดต้องดูแลรักษาความสะอาดบริเวณกุฏิให้สะอาดอยู่เสมอ
๔.
พระภิกษุสามเณรทุกรูป ต้องทำวัตรช้า- เย็น
ตามระเบียบที่ทางวัดกำหนดไว้ยกเว้นมีกิจธุระจำเป็น ต้องแจ้งให้เจ้าอาวาสทราบก่อน
๕. พระภิกษุสามเณรทุกรูป ต้องศึกษาพระธรรมวินัย เพื่อที่จะได้ทราบและปฏิบัติถูกต้องตามพระวินัย
-
ระเบียบปฏิบัติการใช้ผ้านุ่งห่ม
๑. การนุ่งสบง ต้องนุ่งสบงเป็นปริมณฑล คือชายข้างบนปิดสะดือ ชายข้างล่าง
ประมาณครึ่งแข้ง ให้ชายด้านหน้ากับชายด้านหลังเสมอกัน และ ให้ใช้ผ้าสบงสีเดียว
กันกับจีวร
๒. การห่มจีวร
ต้องห่มจีวรเป็นปริมณฑล
คือห่มลดไหล่ข้างบน คลุมไหล่ซ้ายเปิดไหล่
ขวา ถ้าห่มคลุมชายจีวรข้างบนปิดหลุมคอทั้งสองชายข้างล่างต่ำกว่าชายสบง
หรือให้กล่อมเท้า
๓.
ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มต้องสะอาด ไม่ด่างไม่ดำ
ไม่สกปรก ไม่เหม็นสาบและไม่หอมกรุ่นด้วยน้ำอบน้ำหอม
- ระเบียบปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ
๑. หากมีกิจกรรมต่างๆ พระภิกษุ
สามเณรทุกรูปต้องมาให้ความร่วมมือกับกิจกรรม
ต่างๆ ของวัด
๒. พระภิกษุ
สามเณรรูปใดต้องการไปพักค้างแรมในที่อื่น
ต้องมาแจ้งให้เจ้าอาวาส
รับทราบก่อนทุกครั้ง หากเจ้าอาวาสไม่อยู่ให้บอกแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเพื่อ
รับทราบไว้
๓. พระภิกษุ
สามเณร เมื่อเข้ามาพักอาศัยในวัดนี้ต้องศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรม
วินัย และกฎระเบียบของวัดอย่างเคร่งครัด
(๖) มีกติกาของวัด ดังนี้.-
๑. ผู้ที่จะเข้ามาบรรพชาอุปสมบท จะต้องมาอยู่วัดก่อน ๑๕ วัน
๒. พระภิกษุสามเณรบวชใหม่ทุกรูป ต้องท่องจำคำอาราธนาศีล
๘ และศีลอุโบสถและคำอาราธนาธรรม
๓. พระภิกษุ
สามเณร และศิษย์วัด เมื่อเข้าพรรษาแล้วต้องเรียนนักธรรม
๔. พระภิกษุ
สามเณร และศิษย์วัดทุกคน ก่อนที่จะมาอยู่ที่วัด ต้องมีผู้ปกครองนำมาฝาก และเมื่อจะไปในที่อื่น หรือมีธุระไปข้างนอก ต้องแจ้งให้เจ้าอาวาสได้รับทราบก่อน
๕. ห้ามเล่นการพนัน การทะเลาะวิวาท และก่อให้เกิดการแตกแยกความสามัคคี
๖.
หากได้รับคำตักเตือนจากเจ้าอาวาส
หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ของวัดต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดเพื่อเป็นระเบียบ
(๗) ในระยะ
๓ ปีที่ผ่านมา ไม่มีอธิกรณ์เกิดขึ้นในวัด
๖. งานศึกษา
(๑) พ.ศ. ๒๕๔๐ -
ปัจจุบัน เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม
แผนกธรรม สำนักเรียน
(ศาสนศึกษา) วัดประชุมชลธารา อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ. ๒๕๔๐ -
ปัจจุบัน
เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา วัดรัตนานุภาพ อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ. ๒๕๔๒ – ปัจจุบัน เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง
คณะสงฆ์ภาค ๑๘
ณ วัดโคกสมานคุณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
พ.ศ. ๒๕๕๐ – ปัจจุบัน เป็นพระปริยัตินิเทศน์
จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ. ๒๕๕๐ – ปัจจุบัน เป็นพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำโรงเรียนบ้านโคกโก
ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ. ๒๕๕๐ – ปัจจุบัน เป็นกรรมการควบคุมห้องสอบธรรมสนามหลวงแผนกธรรม
และธรรมศึกษา สนามสอบวัดประชุมชลธารา
อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ.
๒๕๕๑ – ปัจจุบัน เป็นกรรมการควบคุมห้องสอบธรรมสนามหลวงนักธรรมชั้นโท
สนามสอบวัดประชุมชลธารา อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
(๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
มีนักเรียนแผนกธรรม ดังนี้.-
น.ธ. ตรี จำนวน ๓ รูป สมัครสอบ
๓ รูป
สอบได้จำนวน ๒ รูป สอบตก
๑ รูป
น.ธ. โท จำนวน ๓ รูป สมัครสอบ ๓ รูป
สอบได้จำนวน ๑ รูป สอบตก ๒ รูป
น.ธ. เอก จำนวน - รูป สมัครสอบ
- รูป
สอบได้จำนวน
- รูป สอบตก
- รูป
รวมนักเรียน ๖ รูป เข้าสอบ
๖ รูป สอบได้
๓ รูป สอบตก ๓ รูป
พ.ศ. ๒๕๕๖
มีนักเรียนแผนกธรรม ดังนี้.-
น.ธ. ตรี จำนวน ๒ รูป สมัครสอบ ๒ รูป
สอบได้จำนวน ๑ รูป สอบตก ๑ รูป
น.ธ. โท จำนวน ๑ รูป สมัครสอบ ๑ รูป
สอบได้จำนวน ๑
รูป สอบตก - รูป
น.ธ. เอก จำนวน ๑ รูป สมัครสอบ ๑ รูป
สอบได้จำนวน - รูป สอบตก ๑ รูป
รวมนักเรียน ๔ รูป เข้าสอบ
๔ รูป สอบได้
๒ รูป สอบตก ๒ รูป
พ.ศ. ๒๕๕๗ มีนักเรียนแผนกธรรม ดังนี้.-
น.ธ. ตรี จำนวน ๑ รูป สมัครสอบ ๑ รูป
สอบได้จำนวน
๑ รูป
สอบตก
- รูป
น.ธ. โท จำนวน ๑
รูป สมัครสอบ ๑ รูป
สอบได้จำนวน - รูป สอบตก ๑
รูป
น.ธ. เอก จำนวน ๑ รูป
สมัครสอบ ๑ รูป
สอบได้
- รูป สอบตก ๑ รูป
รวมนักเรียน ๓ รูป เข้าสอบ
๓ รูป
สอบได้ ๑ รูป สอบตก ๒ รูป
(๓)
วิธีส่งเสริมการศึกษา
มีวิธีส่งเสริมการศึกษา ดังนี้.-
(๑) จัดรางวัลให้แก่ผู้สอบธรรมสนามหลวงได้
(๒) ส่งเสริมให้นักเรียนแผนกธรรมศึกษาได้ศึกษาหาความรู้จากสำนักเรียนต่าง
ๆ
(๓)
มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
(๔) ส่งพระภิกษุ สามเณร ไปศึกษา
พร้อมให้ทุนสนับสนุนการศึกษา
(๕) จัดหาสื่อการเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนต่าง
ๆ
(๖) จัดโครงการบรรพชาสามเณรและศีลจาริณีภาคฤดูร้อน
(๗) จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา ชื่อ “กองทุนศึกษาสงเคราะห์ วัดรัตนานุภาพ”
๗. งานเผยแผ่
(๑) พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นพระวิทยากรศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมยุวพุทธ
วัดบ้านดี
จังหวัดปัตตานี
พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นพระวิทยากรศูนย์การอบรมคุณธรรม-จริยธรรม
ศูนย์ ๙๐
สมเด็จพระศรีนครินทร์
อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
พ.ศ. ๒๕๔๓ - ปัจจุบัน เป็นพระวิทยากร
กองทัพธรรม กองทัพไทย ร่วมต้านภัยยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๔๔ - ปัจจุบัน
เป็นพระธรรมทูตเฉพาะกิจ
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ. ๒๕๔๙ - ปัจจุบัน
เป็นพระเผยแผ่ในพื้นที่เฉพาะ
พ.ศ. ๒๕๕๐ - ปัจจุบัน เป็นครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประจำโรงเรียนบ้านโคกโก
ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ. ๒๕๕๐ - ปัจจุบัน เป็นพระธรรมทูตสัญจร
จังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นวิทยากรอบรมค่ายคุณธรรม
จริยธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน เป็นพระเผยแผ่ในพื้นที่เฉพาะ ๕
จังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน เป็นพระธรรมทูตในพื้นที่เฉพาะ ๕
จังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นวิทยากรฝึกอบรมพระนักเทศน์
จังหวัดนราธิวาส
พ.ศ. ๒๕๕๓ - ปัจจุบัน เป็นพระวิทยากรโครงการเสริมความมั่นคงสถาบัน
พระพุทธศาสนาในภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๔ - ปัจจุบัน เป็นพระธรรมวิทยากร
ศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรม
จังหวัดนราธิวาส
(๒) มีการทำพิธีวันมาฆบูชา เป็นประจำทุกปี พอถึงกำหนดวันที่นัดหมาย ในช่วงเช้า ประกอบพิธี
ตักบาตร รับศีลฟังธรรม และถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์และสามเณรส่วนในช่วงค่ำก็เป็น
การแสดงธรรมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันมาฆบูชาและนำพระภิกษุ
สามเณรและประชาชนประกอบพิธีเวียนเทียน มีผู้มาร่วมประชุมพิธีเป็นพระภิกษุสามเณร ๕ รูป
ประชาชนประมาณ ๒๕๐ คน
(๓) มีการทำพิธีวันวิสาขบูชา คือ
ให้ผู้ใหญ่บ้านประกาศให้ชาวบ้านรับรู้กำหนดการ ต่างๆ ในการจัด
กิจกรรม ซึ่งมีการประกอบพิธีดังนี้ ช่วงเช้าประกอบพิธีตักบาตร รับศีลฟังธรรม และถวาย
สังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
การแสดงพระธรรมเทศนา
เกี่ยวกับความสำคัญ และความ
เป็นมาของวันสำคัญนี้ มีการถือศีล
๘ และศีล ๕ ตามประเพณี ในช่วงค่ำ มีการประกอบพิธี
เวียนเทียน มีผู้มาร่วมประชุมพิธี เป็นพระภิกษุสามเณร ๕ รูป ประชาชนประมาณ ๓๕๐ คน
(๔) มีการทำพิธีวันอาสาฬหบูชา ซึ่งมีการประกอบพิธีการดังนี้ ช่วงเช้าประกอบพิธีทำบุญ ตักบาตร
รับศีลฟังธรรม และถวายสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
ในช่วงค่ำ มีการแสดงพระธรรม
เทศนาเกี่ยวกับความสำคัญ และความเป็นมาของวันสำคัญนี้
และประกอบพิธีเวียนเทียนมีผู้มาร่วม
ประชุมพิธีเป็นพระภิกษุสามเณร
๕ รูปประชาชนประมาณ ๔๐๐ คน
(๕) มีการอบรมพระภิกษุ สามเณร
ดังนี้.-
๑. หลังจากทำวัตรสวดมนต์ตอนเย็นเสร็จแล้ว ใช้เวลาอบรมประมาณ ๑๕ นาที
๒. จัดอบรมเรียนรู้พระธรรมวินัย
และเสขิยวัตร ของพระภิกษุ สามเณร ในช่วงเข้าพรรษา
(๖)
มีการอบรมศีลธรรมแก่ นักเรียน และประชาชน
ดังนี้.-
๑. ในวันธรรมสวนะมีการอบรมศีลธรรมแก่นักเรียน
และประชาชนทุกวันธรรมสวนะ
๒. ในวันธรรมสวนะได้มีการนำประชาชน
ครูและนักเรียนสวดมนต์ไหว้พระอย่างสม่ำเสมอ
(๗)
มีผู้มารักษาศีลฟังธรรมที่วัดตลอดปี
จำนวน ๕๐๐ – ๖๐๐ คน
๘. งานสาธารณูปการ
(๑)
งานก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด
พ.ศ. ๒๕๕๑ ดำเนินการก่อสร้างกำแพงวัด
ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน
ขนาดสูง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๒๗๓ เมตร แล้วเสร็จสมบูรณ์ราคาการก่อสร้าง
เป็นจำนวนเงิน
๔๖๐,๔๕๗ บาท (สี่แสนหกหมื่นสี่ร้อยห้าสิบเจ็ดบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ดำเนินการก่อสร้างศาลาพักร้อน ลักษณะหลังคาทรงไทยประยุกต์
มุงกระเบื้อง
ลอนเล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก
พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตร
แล้วเสร็จสมบูรณ์ราคาการก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๑๙๓,๗๘๕ บาท
(หนึ่งแสนเก้าหมื่นสามพันเจ็ดร้อยแปดสิบห้าบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ดำเนินการก่อสร้างศาลาพักร้อน ลักษณะหลังคาทรงไทยประยุกต์
มุงกระเบื้อง
ลอนเล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๒.๕๐ เมตร ยาว ๓
เมตร
จำนวน ๒ หลัง ค่าก่อสร้างหลังละ ๑๕๗,๖๐๕ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นเจ็ดพันหก
ร้อยห้าบาทถ้วน) แล้วเสร็จสมบูรณ์ราคาการก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน
๓๑๕,๒๑๐ บาท (สามแสนหนึ่งหมื่นห้าพันสองร้อยสิบบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๒ ดำเนินการก่อสร้างหอฉัน ลักษณะอาคาร ๒ ชั้น
หลังคาโครงเหล็ก มุงกระเบื้อง
ลอนเล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร
ยาว ๒๐ เมตร แล้วเสร็จสมบูรณ์ราคาการก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน
๓,๔๘๐,๗๙๕ บาท (สามล้านสี่แสนแปดหมื่นเจ็ดร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๒ ดำเนินการก่อสร้างกุฏิ ลักษณะอาคารห้องแถวยกพื้นจำนวน
๓ ห้อง
หลังคาโครงไม้
มุงกระเบื้องลอนคู่ คอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน
พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร แล้วเสร็จสมบูรณ์ราคาการ
ก่อสร้าง
เป็นจำนวนเงิน ๕๘๐,๙๒๕ บาท
(ห้าแสนแปดหมื่นเก้าร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๓ ดำเนินการก่อสร้างโรงประกอบอาหาร
ลักษณะอาคารเปิดโล่ง หลังคาโครงไม้
มุงกระเบื้องลอนคู่ พื้นเทคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๐ เมตร
แล้วเสร็จสมบูรณ์ราคาการก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๒๗๕,๙๑๕ บาท
(สองแสนเจ็ดหมื่นห้าพันเก้าร้อยสิบห้าบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๓ ดำเนินการก่อสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิรวม
ลักษณะเทคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน
ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตร สูง ๑ เมตรแล้วเสร็จสมบูรณ์ราคาการก่อสร้าง
เป็นจำนวนเงิน ๒๐๑,๕๖๕ บาท (สองแสนหนึ่งพันห้าร้อยหกสิบห้าบาทถ้วน)
พ.ศ.๒๕๕๔ ดำเนินการก่อสร้างห้องน้ำ
ลักษณะห้องแถว จำนวน ๗ ห้อง คอนกรีตเสริมเหล็ก
ก่ออิฐถือปูน มุงหลังคากระเบื้องลอนคู่ พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้างห้องละ ๒
เมตร
ยาว ๓ เมตร ค่าก่อสร้างห้องละ ๒๖,๕๘๕ บาท
(สองหมื่นหกพันห้าร้อยแปดสิบ
ห้าบาทถ้วน) แล้วเสร็จสมบูรณ์ราคาการก่อสร้าง
เป็นจำนวนเงิน ๑๘๖,๐๙๕ บาท
(หนึ่งแสนแปดหมื่นหกพันเก้าสิบห้าบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๔ ดำเนินการก่อสร้างป้ายวัด
ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก กนกลายไทย
จำนวน ๒ ป้าย ขนาดยาว ๑.๘๐ เมตร สูง ๑ เมตร แล้วเสร็จสมบูรณ์ราคาการ
ก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน ๖๑,๓๕๐ บาท (หกหมื่นหนึ่งพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๔ ดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันน้ำเซาะตลิ่งทั้งสองฝั่ง
ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก
ขนาดยาวฝั่งละ ๕๐
เมตร ลึก ๑.๕๐ เมตร แล้วเสร็จสมบูรณ์ราคาการก่อสร้าง
เป็นจำนวนเงิน ๖๓๕,๙๑๕ บาท (หกแสนสามหมื่นห้าพันเก้าร้อยสิบห้าบาทถ้วน)
รวมผลงานก่อสร้างทุกรายการเป็นจำนวนเงิน ๖,๓๙๒,๐๑๒ บาท
(หกล้านสามแสนเก้าหมื่นสองพันสิบสองบาทถ้วน)
(๓) มีการพัฒนาวัด
ดังนี้.-
(๑)
ดำเนินการจัดซื้อที่ดินเพิ่มพื้นที่วัด
จำนวน ๓ ไร่ ๒ งาน จำนวนไร่ ๆ ละ ๓๒,๐๐๐ บาท (สามหมื่นสองพันบาทถ้วน)
รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๔๔๘,๐๐๐ บาท (สี่แสนสี่หมื่นแปดพันบาทถ้วน)
(๒)
ดำเนินการซื้อดินถมปรับพื้นที่วัด
จำนวน ๑๙๘ คิว ๆ ละ ๖๐๐ บาท (หกร้อยบาทถ้วน) รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๑๘,๘๐๐ บาท
(หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นแปดพันแปดร้อยบาทถ้วน)
(๓) จัดระเบียบการดูแลรักษาอุปกรณ์สิ่งของต่างๆ ของสงฆ์
ตลอดจนถึงการให้ยืมของ วัดไปใช้กิจกรรมต่างๆ
(๔) ปรับปรุงพื้นที่บริเวณวัดให้สะอาดเรียบร้อย และเป็นระเบียบอยู่เสมอ
(๕) จัดหาถังขยะมาวางไว้ในบริเวณจุดต่างๆ ของวัด
(๖) จัดสวนร่มรื่น โดยการปลูกต้นไม้ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติของเด็กนักเรียน
และเด็กเยาวชนที่เข้ามาศึกษาธรรมะในวัด
รวมผลงานการพัฒนาวัด
เป็นจำนวนเงิน ๕๖๖,๘๐๐ บาท
(ห้าแสนหกหมื่นหกพันแปดร้อยบาทถ้วน)
๙. งานสาธารณประโยชน์
พ.ศ. ๒๕๕๑ ดำเนินการก่อสร้างป้อมยาม ชรบ. หมู่บ้าน จำนวน
๑ หลัง ลักษณะหลังคาโครงไม้
มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ คอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง ๓
เมตร
ยาว ๔ เมตร แล้วเสร็จสมบูรณ์การก่อสร้าง ๔๒,๘๔๓ บาท (สี่หมื่นสองพันแปด
ร้อยสี่สิบสามบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๒ ดำเนินการก่อสร้างป้อมยาม ชรบ. หมู่บ้าน จำนวน
๑ หลัง ลักษณะหลังคาโครงไม้
มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ คอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง ๒.๕๐
เมตร
ยาว ๔ เมตร แล้วเสร็จสมบูรณ์การก่อสร้าง ๒๕,๕๖๕ บาท (สองหมื่นห้าพันห้า
ร้อยหกสิบห้าบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๓
ดำเนินการจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์วัดรัตนานุภาพ เพื่อใช้สำหรับสงเคราะห์
ประชาชนในหมู่บ้าน
ในกรณีป่วยช่วยค่ารักษาพยาบาลและช่วยงานศพเมื่อเสียชีวิต
เปิดบัญชีเป็นจำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
สมุดเงินฝาก
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขา สุไหงโก-ลก
บัญชีเลขที่ ๓๓๖-๓-๓๒๗๓๒-๕
บัญชีเงินฝากประเภทเงินฝากประจำ ๓ เดือน
ชื่อบัญชี กองทุนสงเคราะห์วัดรัตนานุภาพ ปัจจุบันมีเงินฝากจำนวน
๒๑๔,๗๗๙.๕๓ บาท (สองแสนหนึ่งหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบเก้าบาทห้าสิบสาม
สตางค์)
รวมผลงานสาธารณประโยชน์
เป็นจำนวนเงิน ๒๘๓,๑๘๗.๕๓ บาท
(สองแสนแปดหมื่นสามพันหนึ่งร้อยแปดสิบเจ็ดบาทห้าสิบสามสตางค์)
๑๐.
งานศึกษาสงเคราะห์
(๑) งานตั้งทุนการศึกษา
พ.ศ.
๒๕๔๘ ดำเนินการจัดตั้งทุนศึกษาสงเคราะห์
เป็นจำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
สมุดเงินฝาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สาขา สุไหงปาดี บัญชีเลขที่
๑๕๕-๒-๕๕๔๙๔-๘
บัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์
ชื่อบัญชี ทุนศึกษาสงเคราะห์วัดรัตนานุภาพ
ปัจจุบันมีเงินฝาก ๔๐,๖๑๔.๖๔ บาท
(สี่หมื่นหกร้อยสิบสี่บาทหกสิบสี่สตางค์)
(๒) งานเพิ่มทุนการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้เพิ่มทุนการศึกษาสงเคราะห์ทุกปี
ๆ ละ เป็นจำนวนเงิน ๕,๐๐๐ บาท
สมุดเงินฝาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สาขา สุไหงปาดี บัญชีเลขที่ ๑๕๕-๒-๕๕๔๙๔-๘
บัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์
ชื่อบัญชี ทุนศึกษาสงเคราะห์วัดรัตนานุภาพ
ปัจจุบันมีเงินฝาก ๔๐,๖๑๔.๖๔
บาท
(สี่หมื่นหกร้อยสิบสี่บาทหกสิบสี่สตางค์)
(๓) งานมอบทุนการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๕ มอบทุนศึกษาสงเคราะห์นักเรียน
ในเขตการศึกษาอำเภอสุไหงปาดี
ระดับประถมศึกษา จำนวน ๔๕
ทุนๆละ ๑,๐๐๐ บาท
ระดับมัธยมศึกษา จำนวน
๘ ทุนๆละ ๑,๕๐๐
บาท
รวมเป็นเงินมอบทุน
จำนวน ๕๗,๐๐๐ บาท (
ห้าหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน )
พ.ศ. ๒๕๕๖ มอบทุนศึกษาสงเคราะห์นักเรียน
ในเขตการศึกษาอำเภอสุไหงปาดี
ระดับประถมศึกษา จำนวน ๔๕
ทุนๆละ ๑,๐๐๐ บาท
ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๙
ทุนๆละ ๑,๕๐๐ บาท
รวมเป็นเงินมอบทุน จำนวน ๕๘,๕๐๐
บาท ( ห้าหมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน )
พ.ศ. ๒๕๕๗ มอบทุนศึกษาสงเคราะห์นักเรียน
ในเขตการศึกษาอำเภอสุไหงปาดี
ระดับประถมศึกษา จำนวน ๓๖
ทุนๆละ ๑,๐๐๐ บาท
ระดับมัธยมศึกษา จำนวน
๖ ทุนๆละ ๑,๕๐๐
บาท
รวมเป็นเงินมอบทุน จำนวน ๔๕,๐๐๐
บาท ( สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน )
รวมผลงานศึกษาสงเคราะห์ เป็นจำนวนเงิน
๒๐๑,๑๑๔.๖๔ บาท
(สองแสนหนึ่งพันหนึ่งร้อยสิบสี่บาทหกสิบสี่สตางค์)
๑๑. งานเจ้าคณะ
พ.ศ. ๒๕๕๐ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
มีวัดในเขตปกครองจำนวน
๗ วัด ๑ ที่พักสงฆ์ ได้ดำเนินการงานในหน้าที่
มอบหมายด้วยความ เรียบร้อยทุกประการโดยเฉพาะงานในหน้าที่หลักของ
เจ้าคณะ ๒ ประการ ดังนี้.-.
(๑) งานตรวจการคณะสงฆ์ในเขตที่ตนปกครอง โดยออกตรวจการปีละ
๓ ครั้ง ๆ ละ ๓ วัด
โดยให้
คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ เช่น
- เรื่องส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุ
สามเณร
- เรื่องการจัดทำผังวัดและป้ายชื่อวัด
- เรื่องการจัดทำบัญชีต่าง
ๆ
- เรื่องการรักษาดูแลรักษาความสะอาดภายในบริเวณวัด
- เรื่องการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
(๒)
งานจัดประชุมพระสังฆาธิการ โดยจัดประชุมพระสังฆาธิการในเขตที่ตนปกครอง
ปีละ ๓
ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการคณะสงฆ์ เช่น
- เรื่องการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
- เรื่องกฎหมายที่พระภิกษุต้องศึกษาเรียนรู้
- เรื่องการจัดตั้งกลุ่มชาวพุทธเข้มแข็งในพื้นที่
- เรื่องการดูแลความสงบเรียบร้อยภายใต้สถานการณ์ความรุนแรง
-
เรื่องการบรรพชา อุปสมบท ของพระภิกษุในช่วงเข้าพรรษา
- เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในวัด
- เรื่องการจัดกิจกรรมร่วมกับส่วนราชการ
๑๒. สมณศักดิ์
๑. พ.ศ.
๒๕๕๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท
ในพระราชทินนามที่ พระครูประโชติรัตนานุรักษ์
๒. พ.ศ.
๒๕๕๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นโท
ในพระราชทินนามเดิม
๑๓. พระครูสัญญาบัตรภายในวัด
(๑)
มีพระครูสัญญาบัตร จำนวน ๑
รูป คือ.-
๑. พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
๑๔. ขอรับรองว่า
ได้ทำประวัติถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในรายการทุกประการ
รับรองว่าเป็นความจริงตามนี้ทุกประการ
(ลงชื่อ).....................................................................
(พระครูประโชติรัตนานุรักษ์)
เจ้าคณะตำบลสุไหงปาดี / เจ้าอาวาส
เจ้าของประวัติ
รับรองว่าเป็นความจริงตามนี้ทุกประการ
(ลงชื่อ).....................................................................
(พระครูสถิตสีลขันธ์)
เจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี
รับรองว่าเป็นความจริงตามนี้ทุกประการ
(ลงชื่อ)...................................................................... (พระเทพศีลวิสุทธิ์)
เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส
ประวัติวัดรัตนานุภาพ
ข้อมูลเบื้องต้น
วัดรัตนานุภาพ ตำบลโต๊ะเด็ง
อำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
เดิมชื่อ สำนักสงฆ์บ้านโคกโก เพราะตั้งอยู่ ณ
บ้านโคกโก หมู่ที่ ๒ ตำบลโต๊ะเด็ง
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เดิมได้ตั้งติดอยู่กับโรงเรียนบ้านโคกโก
เพราะเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน
ตามเจตนาของชาวบ้านเพื่อจะสร้างวัด แต่เนื่องจากที่ดินที่
จะสร้างให้เป็นวัดนั้นไม่พอตามหลักเกณฑ์ของ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เพราะที่ดิน
แบ่งไปตั้งโรงเรียนบ้านโคกโกเสียส่วนหนึ่ง
คณะชาวบ้านบ้านโคกโก
โดยการนำของพระปลัดสงัด ปญฺญาวโร
ซึ่งในสมัยนั้น หัวหน้าที่พักสงฆ์
ท่านเป็นเจ้าสำนัก
ฯ และโดยความเห็นชอบของ พระเดชพระคุณพระอรรถโมลี เจ้า
คณะจังหวัดนราธิวาส
(สมณะศักดิ์ในสมัยนั้น) ได้ทอดผ้าป่าเพื่อหาเงินซื้อที่ดินเพื่อตั้ง
เป็นวัด และได้พิจารณาหาซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัด เมื่อหาที่ดินได้แล้วจึงทำการตกลงซื้อ
ในราคา
แปลงละ
๓๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๙
ไร่ ๓ งาน ๘๔ ตารางวา
. สภาพพื้นดินที่ทำการซื้อนั้น
เป็นผืนนาร้างและเป็นดินลอยซึ่งติดอยู่ตามเส้นทางไปบ้านไอยือรา บ้านโต๊ะเด็ง เมื่อทำการซื้อแล้วพระปลัดสงัด ปญฺญาวโร
ได้ทำการจ้างรถเมค์กโคมาขุด
เพื่อทำให้เป็นคูและให้น้ำแห้งเพื่อตั้งเสนาสนะให้พออยู่ได้
วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
พระปลัดสงัด ปญฺญาวโร
และคณะชาวบ้านได้ทำการรื้อถอนกุฎิเสนาสนะบางส่วนจากที่สำนักสงฆ์เดิมมาตั้งยังสำนักสงฆ์ใหม่ สภาพสำนักสงฆ์ (วัดรัตนานุภาพ) แต่เดิมนั้นเป็นทุ่งนาโล่งแจ้งไม่มีต้นไม้ เป็นป่าหญ้าปล้องและป่ากก เมื่อพระปลัดสงัด ปญฺญาวโร
ได้ยกเสนาสนะจากที่เดิมมาตั้งยังสำนักใหม่
วิธีการรื้อถอนเสนาสนะของคณะชาวบ้านนั้น
ใช้วิธีรื้อแต่หลังคาเสนาสนะและฝา
สำหรับโครงร่างของเสนาสนะนั้น
คณะชาวบ้านได้ช่วยกันหามมาประกอบยังที่ตั้งใหม่ เสนาสนะในสมัยนั้นมีอะไรบ้างจะขอกล่าวในโอกาสต่อไป
หลังจากที่พระปลัดสงัด ปญฺญาวโร
ได้มาตั้งสำนักสงฆ์ใหม่ในที่แห่งนี้
ด้วยความเห็นชอบของพระเดชพระคุณพระอรรถโมลี เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส พระปลัดสงัด ฯ
และคณะชาวบ้านโคกโกได้ทำการพัฒนาสถานที่แห่งใหม่ มีการสร้างห้องน้ำ สร้างหอฉัน
(สร้างกับไม้และใช้ต้นหลาโอนเป็นเสาร์)
ขุดบ่อ
ขุดลอกคูสาธารณะหลังสำนักสงฆ์
ถมดินหน้าสำนักสงฆ์ฯ เพื่อใช้เป็นที่จัดงานบุญต่าง ๆ
เพราะตามที่ตั้งเสนาสนะนั้นเมื่อถึงเวลาฝนตกก็จะเกิดน้ำท่วมขัง
เป็นอุปสรรคอย่างมากในการบำเพ็ญกุศลของคณะชาวบ้าน จากเหตุนี้เองจึงต้องถมดินด้านหน้าวัด
ในไตรมาสแรกของการจำพรรษา ณ
สำนักสงฆ์บ้านโคกโก
ในที่สถานที่แห่งใหม่ ปีแรกได้มีพระภิกษุจำพรรษาจำนวน ๕ รูป หลังจากออกพรรษาเข้าสู่ปี พ.ศ.๒๕๔๑
ในเดือน...........................................พระปลัดสงัด ปญฺญาวโร ได้ลาสิกขา
ทำให้สำนักสงฆ์แห่งนี้ว่างจากเจ้าสำนัก
(ผู้นำ)
แต่ในขณะนั้นยังมีพระอรรถพร กิตฺติโก
ซึ่งเป็นพระภิกษุลูกที่
(คนในบ้านโคกโก) อยู่รูปเดียว และเมื่อเข้าสู่ช่วงเข้าพรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๔๑
นั้นนั่นเอง
คณะพุทธศาสนิกชนต่างขวนขวายหาพระภิกษุเพื่อมาอยู่จำพรรษาให้ครบองค์กฐิน
พ.ศ. ๒๕๔๑ (ปีที่ ๒) คณะญาติโยมชาวบ้านโคกโก โดยการนำของนายกมล จุลเทพ ได้นิมนต์พระภิกษุจากวัดประชุมชลธารามา ๓ รูป เพื่อจำพรรษา และในคณะพระภิกษุที่นิมนต์มามีพระปลัดสว่าง จนฺทวํโส อยู่ด้วยหนึ่งรูป
จุดเริ่มต้นชีวิต ณ สำนักสงฆ์โคกโก
ก่อนที่จะกล่าวถึงการเริ่มต้นของการใช้ชีวิต ณ
สำนักสงฆ์โคกโก
ข้าพเจ้า(พระปลัดสว่าง
จนฺทวํโส) ขอเล่าความเป็นมาถึงต้นสายปลายเหตุแห่งชีวิตสมณะของข้าพเจ้า พอให้ได้เรื่องราวแบบย่อ ๆ (พอรำคาญ)
ข้าพเจ้าถือกำเนิดชีวิตแบบสมณะ
เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๓๕ ณ อุโบสถวัดประชุมชลธารา อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยมีพระครูมงคลคณาบดี เจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดีในสมัยนั้น (ปัจจุบัน
เป็นเจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส
ชื่อพระราชคุณาธาร พ.ศ.๒๕๔๘) มีพระครูสถิตสีลขันธ์ เจ้าคณะตำบลสุไหงปาดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการประสพ กิตฺติโก
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ผู้ให้กำเนิด
หลังจากถือกำเนิดเป็นสมณะศากยบุตรแล้ว
ได้พักพิงอาศัยอยู่วัดประดิษฐ์บุปผา
ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี โดยมีพระอธิการเพชร อติพโล
เป็นเจ้าอาวาส ระยะหนึ่ง แต่ด้วยกรรมบันดาลก็ต้องเคลื่อนย้ายไปจำพรรษาอยู่ วัดน้ำขาว-ยะกา ตำบลกายูคละ
อำเภอแว้ง ซึ่งเป็นพรรษาแรก พรรษาที่
๒ วัดเขาเข็มทอง อำเภอแว้ง
พรรษาที่ ๓ วัดลอยประดิษฐ์ อำเภอสุไหงปาดี (อยู่กับอาจารย์ พระครูสถิตสีลขันธ์) พรรษาที่ ๔ – ๕ ศูนย์ปฏิบัติธรรมถ้ำน้ำใส ตำบลคูหา
อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา (อยู่ถ้ำ)
และหลังจากนั้นได้เดินทางกลับมายังสถานที่เกิด (วัดประชุมชลธารา) ตั้งใจเพื่อมาขอลาสิกขา แต่บุญยังมี
เพราะได้ฟังคำพูดของพระอุปัชฌาย์ว่า
อยู่ช่วยกันก่อน ผมไม่มีใครแล้ว (เพราะช่วงนั้นพระปิลาสิกขาพอดี)
สุดท้ายจึงตัดสินใจรับใช้อุปัชฌาย์เพื่อทดแทนบุญคุณท่าน และรับใช้พระศาสนาต่อไป
เมื่อกลับมาวัดประชุมชลธาราแล้วและต้องการอยู่กับอุปัชฌาย์ตามที่ตั้งใจไว้ แต่ด้วยบุญหรือกรรมก็หามิได้ พรรษาที่
๖ (พ.ศ.๒๕๔๐) วัดประดิษฐ์บุปผาขาดพระภิกษุจำพรรษาอีก
จึงต้องไปจำพรรษาให้เขาเหมือนอย่างที่ผ่านมาแต่ละพรรษา
เพราะนึกสงสารวัดและชาวบ้านที่เขาต้องการทำบุญ
เมื่อออกพรรษาแล้วจึงกลับมายังวัดประชุมชลธาราอีก เพราะต้องการอยู่กับอุปัชฌาย์สักหนึ่งพรรษาตามที่ตั้งใจไว้
ในพรรษาที่ ๗
นี่เองข้าพเจ้าได้เห็นถึงความต้องการของคณะชาวบ้าน บ้านโคกโก
ที่อยากได้พระภิกษุเพื่อไปจำพรรษา
ณ
สำนักสงฆ์โคกโกและเพื่อเป็นเนื้อนาบุญของพวกเขา
สิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นคือหยดน้ำตาและคำขอร้องจากคนชรา ที่มาขอพระภิกษุเพื่อไปจำพรรษา และเป็นที่พึ่งของเขาในช่วงเข้าพรรษา ข้าพเจ้าได้พบกับคณะชาวบ้านโคกโก ๒
ครั้ง คือในช่วงตอนบ่าย (มาหาพระไปจำพรรษา) และตอนเย็น
(ประมาณ ๑๘.๐๐ น.)
ซึ่งตอนนั้นข้าพเจ้าไม่รู้จักหรอกว่าคณะชาวบ้านนั้น เป็นคนหมู่บ้านใด เพราะข้าพเจ้าพึงกลับมาอยู่ในเขตอำเภอสุไหงปาดี (ไม่รู้จักใคร)
ในตอนบ่ายวันนั้นที่ชาวบ้านไปหาพระเพื่อมาอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์โคกโก พระภิกษุบางรูปต่างพากันหนีกลับบ้าน กลัวถูกมาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์บ้านโคกโก คณะชาวบ้านเลยแหวไปตามเคย (กลับไปพร้อมความเศร้าและร้อยคราบน้ำตา) พอมาถึงช่วงตอนเย็นคณะชาวบ้านโคกโกกลับมายังวัดประชุมฯ
อีกครั้ง (มีความเพียรมาก) ทีนี้แหละได้เรื่อง....ข้าพเจ้าได้ยินเสียงระฆังดังขึ้น จึงจัดแจงนุ่งสบงทรงห่มจีวรมาทำวัตรสวดมนต์ (นึกว่าระฆังทำวัตรเย็น) แต่ไม่ใช่เป็นสัญญาณระฆังทำวัตร แต่เป็นสัญญาณเรียกพระประชุม เพื่อคัดหาพระภิกษุไปจำพรรษายังสำนักสงฆ์โคกโก และวัดโบราณสถิตย์
ข้าพเจ้าจำได้ว่ามีพระสมใจ
กิตฺติสาโร (คุณระ) เสนอให้เอาพระที่มีพรรษามาก ๆ ไป ซึ่งในขณะนั้นมีอยู่ ๓
รูป (พระสังเวียน ,
พระเล่ง และข้าพเจ้า) แต่ไม่มีใครไป
คุณระ จึงเสนอให้หยิบฉลาก ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกรำคาญ
และด้วยความสงสารญาติโยมและพระอรรถพร
กิตฺติโก ที่อยู่รูปเดียว เป็นกำลังอยู่แล้ว จึงได้ประกาศขอไม่หยิบฉลาก (เพราะต้องการอยู่กับอุปัชฌาย์สักหนึ่งพรรษาตามที่ได้ตั้งใจไว้) และได้ประกาศในระหว่างที่ประชุมนั้นว่า “ถ้าหากไม่มีใครไป...!ผมไปเอง แต่ผมไม่หยิบฉลาก” เป็นอันตกลงว่าไม่มีใครหยิบฉลาก ทำให้ในปีนั้นต้องออกมาจากวัดประชุม ฯ อีกแล้ว
ญาติโยมชาวบ้านโคกโกรับข้าพเจ้ามาอยู่จำพรรษา ที่สำนักสงฆ์โคกโก ในปี
พ.ศ.๒๕๔๑
ซึ่งข้าพเจ้านำพระภิกษุมาจากวัดประชุมชลธารา ๓
รูป มีอยู่ที่สำนัก ฯ แล้ว ๒
รูป ตกลงว่าในปีแรกของการจำพรรษา ณ
สำนักสงฆ์ ฯ
มีพระจำพรรษาจำนวน ๕ รูป
(แต่เป็นรุ่นที่ ๒ ของสำนักสงฆ์ฯ) ข้าพเจ้าคิดว่าหลังจากจำพรรษาเสร็จแล้วก็จะกลับไปยังวัดประชุม
ฯ ต่อ
แต่ด้วยความสงสารญาติโยมที่มีความศรัทธาและตั้งใจที่สร้างวัดขึ้นให้ได้ จึงจำเป็นต้องอยู่ต่อ เพื่อสร้างความหวังของญาติโยมให้เป็นจริง
แม้บ้างครั้งจะต้องเจอกับอุปสรรคในการสร้างวัด เช่น
บ้างคนก็ไม่ให้ความร่วมมือ
บ้างคนขัดขวาง บางคนดูถูก ว่าไม่เป็นวัด
(สร้างวัดไม่ขึ้น) สารพัด ฯลฯ
แต่ทั้งหมดก็ไม่สามารถที่จะขัดขวางความเพียร ความพยายาม
ความสามัคคีของผู้ศรัทธา
คณะญาติโยมที่มีความตั้งใจไปได้
แม้บ้างคนจะล่วงลับดับชีวิตไปก่อนที่จะได้เห็นประกาศการตั้งวัดว่า “วัดรัตนานุภาพ”
แต่ดวงวิญญาณของผู้ศรัทธาเหล่านั้นคงรับรู้อนุโมทนาบุญในครั้งนี้
ลำดับและสติพระภิกษุจำพรรษา ตั้งแต่
ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ - ปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๔๑
พระภิกษุ ๕ รูป สามเณร รูป
พ.ศ.
๒๕๔๒ พระภิกษุ ๖ รูป
สามเณร ๑ รูป
พ.ศ.
๒๕๔๓ พระภิกษุ ๗ รูป สามเณร ๑
รูป
พ.ศ. ๒๕๔๔
พระภิกษุ ๖ รูป
สามเณร ๑ รูป
พ.ศ.
๒๕๔๕ พระภิกษุ ๖ รูป
สามเณร - รูป
พ.ศ.
๒๕๔๖ พระภิกษุ ๗ รูป
สามเณร
- รูป
พ.ศ. ๒๕๔๗
พระภิกษุ ๖
รูป สามเณร รูป
พ.ศ.
๒๕๔๘ พระภิกษุ ๖
รูป สามเณร รูป
พ.ศ.
๒๕๔๙ พระภิกษุ ๕
รูป สามเณร -
รูป
พ.ศ.
๒๕๕๐ พระภิกษุ ๕
รูป สามเณร -
รูป
พ.ศ. ๒๕๕๑
พระภิกษุ ๕ รูป
สามเณร - รูป
การพัฒนา
๑.
พัฒนาถาวรวัตถุ ดังนี้
-
ได้ขอขยายเขตไฟฟ้าเข้ามายังสำนักสงฆ์โคกโก
โดยใช้งบประมาณจากการทอดกฐิน ปี
พ.ศ. ๒๕๔๑ จำนวน
๘๐,๐๐๐ บาท
- ปี
พ.ศ. ๒๕๔๒ สร้างศาลาการเปรียญ “ธรรมานุภาพ” ใช้เวลาสร้าง
ประมาณ ๗
ปี เสร็จ พ.ศ.
๒๕๔๘ งบประมาณการสร้าง ๓,๐๐๐,๐๐๐
บาท (กว่าไม่มาก)
และในระหว่าง
ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
- ๒๕๔๘ นี้ก็ยังได้สร้างสิ่งอื่น ๆ พร้อมกันไปกับศาลาการเปรียญ ฯ ดังต่อไปนี้
๑. กุฏิที่สร้างใหม่ จำนวน
๔ หลัง (ไม่รวมกุฏิที่รื้อมาจากสำนัก ฯ เก่า) งบประมาณการสร้าง จำนวนเงิน
๒๗๐,๐๐๐ บาท
๒. ห้องสุขา
๒ หลัง จำนวน
๑๒ ห้อง งบประมาณการสร้าง ๑๕๐,๐๐๐
บาท
๓. โรงเลี้ยง
๑ หลัง งบประมาณการสร้าง ๑๘๐,๐๐๐
บาท
๔. ศาลาอเนกประสงค์ ๑
หลัง ๖๐,๐๐๐ บาท
๕. ซื้อที่ดินเพิ่ม ประมาณ
๒
ไร่ (โยมซื้อถวาย)
จำนวนเงิน ๖๐,๐๐๐
บาท
๖.
สร้างสะพานข้ามคลอง งบประมาณการสร้าง ๑๑๐,๐๐๐
บาท
๗.
สร้างฝายเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง (ของบ อ.บ.ต.
๗๘,๐๐๐ บาท)
๘.
ถมที่เพื่อปรับพื้นให้เสมอ ใช้ดินประมาณ ๖๐๐
กว่าคัน งบจำนวน
๒๔๐,๐๐๐ บาท
๙.
ขุดเจาะบ่อบาดาล ๒
บ่อ (บ่อหนึ่ง ก.รป. ขุดให้ อีกบ่อใช้งบเองประมาณ ๒๕,๐๐๐
บาท)
๑๐.
ซื้อเสาไฟฟ้าพร้อมสายเข้าวัด จำนวนเงิน
๗,๐๐๐ บาท
๑๑.
ปลูกต้นไม้ยืนต้น ไม้ผล
ฯลฯ
๑๒. ซื้อเครื่องเลื้อยไม้ ๒
เครื่อง (เครื่องวงเดือน ๑
เครื่อง ๒๗,๐๐๐ บาท
เครื่องเลื้อยธรรมดา ๑ เครื่อง
๑๒,๐๐๐ บาท)
๑๓.
เครื่องตัดหญ้า ๒
เครื่อง ๑๕,๐๐๐ บาท
๑๔.
รถมอเตอร์ไซร์ ๑
คัน ๒๕,๐๐๐ บาท
๑๕.
หอกระจายข่าว งบประมาณการสร้าง ๑๓,๐๐๐
บาท
การพัฒนาคน
จากการที่สำนักสงฆ์โคกโก ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.
๒๕๔๐
และได้ยกขึ้นเป็นวัดโดยมีชื่อว่า “วัดรัตนานุภาพ”
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๔๗
ได้พัฒนาคน (สร้างคน)
ส่งเสริมในด้านการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร
และที่กำลังศึกษาอยู่ดังนี้
๑. พระปลัดสว่าง จนฺทวํโส นธ.เอก , ปว.ค. , พ.ธ.บ. (กำลังศึกษา)
๒. พระมหาศุกร์
สุขิโต นธ.เอก
, ปธ.๕
(กำลังศึกษาต่อ)
๓. พระหวีด
คุณวโร นธ. เอก
, ปว.ค.
พ.ธ.บ.
๔. พระสุพรรณชาติ ติกฺขวีโร นธ. เอก
พ.ธ.บ. (กำลังศึกษาอยู่ ปี ๓)
๕. พระอรรถพร
กุสลจิตโต นธ.เอก ม.๖
๖. พระสมนึก
ปสนฺโณ นธ.โท ม. ๓
(กำลังศึกษา)
๗. สามเณรชวนโชค ลูกจันทร์
นธ.ตรี ม.๓ (ลาสิกขา)
และยังมีการมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนทุกปี
30
ธันวาคม 2547 ประกาศตั้งวัดในพระพุทธศาสนา โดยสำนักงานพระพุทธศานาแห่งชาติ ตามที่นายกมล จุลเทพเป็นผู้ขออนุญาต
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น