โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564

พช. ร่วมกับ โรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์ฯ มอบทุนอุปการะเด็ก กิจกรรมกองทุนเด็กชนบทเคลื่อนที่

 

พช. ร่วมกับ โรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์ฯ มอบทุนอุปการะเด็ก กิจกรรมกองทุนเด็กชนบทเคลื่อนที่



 



          วันที่ 10 ตุลาคม 2564นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า          นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร จันทมฤก ประธานชมรมแม่บ้านกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานกิจกรรมกองทุนพัฒนาเด็กชนบทเคลื่อนที่ (Children Development Fund Mobile : CDF Mobile)



  โดยมี นางสาวนิภา ทองก้อน ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กล่าวรายงาน มี นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายชัยวัฒน์ แสงศรี ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นายทรงพล วิชัยขัทคะ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน นายธนวัฒน์ ปิ่นแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน นายศุภชัย สุพรรณทอง ผู้อำนวยการกองแผนงาน นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายเกรียงศักดิ์ รักษ์ศรีทอง นายอำเภอพรหมคีรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ พัฒนาการอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น คณะกรรมการโรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง ร่วมในพิธีมอบทุนอุปการะเด็ก ณ โรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา หมู่ที่ 2 ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช


          กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดตั้ง กองทุนพัฒนาเด็กชนบทขึ้นในปีเด็กสากล พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นกองทุนให้ความช่วยเหลือเด็กก่อนวัยเรียนที่ครอบครัวยากจนและด้อยโอกาส ให้ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเหมาะสมตามวัย โดยในปี 2536 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณารับกองทุนพัฒนาเด็กชนบทไว้ในพระราชูปถัมภ์ฯ ประกอบด้วยกองทุนพัฒนาเด็กชนบทส่วนกลาง และกองทุนพัฒนาเด็กชนบทจังหวัด 76 จังหวัด โดยได้มอบทุนช่วยเหลือเด็กมาแล้วกว่า 105,805 คน  เป็นเงิน 128,219,000 บาท




          ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาต่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีคุณูปการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร และผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งทรงมีพระมหากรุณารับกองทุนพัฒนาเด็กชนบทไว้ใน พระราชูปถัมภ์ฯ กรมการพัฒนาชุมชน 



จึงได้จัดทำกิจกรรมกองทุนพัฒนาเด็กชนบทเคลื่อนที่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนให้ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมตามวัย และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกองทุน กิจกรรมประกอบด้วย การมอบทุนอุปการะเด็ก จำนวน 30 ทุน ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 45,000 บาท โดยโรงเรียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านดอนคา ได้ร่วมทบทบทุนอุปการะ ดังกล่าว จำนวน 30 ทุน ๆ ละ 500 บาท รวมเป็นทุนละ 2,000 บาท

          นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน เห็นถึงความสำคัญของเด็กก่อนวัยเรียนว่า เป็นวัยที่สำคัญและเหมาะสมในการปูพื้นฐาน เนื่องจากเป็นวัยที่ร่างกายและสมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาเด็กชนบท เมื่อปี 2522 เพื่อเป็นกองทุนที่ให้ความช่วยเหลือเด็กก่อนวัยเรียนที่ครอบครัวยากจนและด้อยโอกาส ให้ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเหมาะสม 



และเมื่อปี 2536 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณารับกองทุนพัฒนาเด็กชนบทไว้ในพระราชูปถัมภ์ โดยกองทุนได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อหารายได้สมทบกองทุนฯ เป็นประจำทุกปี และนำเงินกองทุนฯ ไปใช้ในการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กก่อนวัยเรียน อายุแรกเกิดถึง 6 ปี โดยได้มอบทุนช่วยเหลือเด็กเล็กที่ยากจนและด้อยโอกาสในชนบท

          การจัดกิจกรรมกองทุนพัฒนาเด็กชนบทเคลื่อนที่ (Children Development Fund Mobile : CDF Mobile) เป็นการนำเงินกองทุนพัฒนาเด็กชนบทส่วนกลาง มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาเด็กที่ยังขาดโอกาสและยากจน ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ซึ่งในสถานการณ์ในปัจจุบันประเทศ ต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงขอเชิญชวนผู้ปกครองได้เลี้ยงไก่ไข่

เพื่อให้เด็กมีไข่กินทุกวัน ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ไปด้วย และยังได้ช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน สร้างความมั่นคงทางอาหาร นอกจากนี้กรมฯ ได้ให้จังหวัดจัดทำทะเบียนเด็กที่ได้รับทุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเด็กรุ่นเก่า ก็ทำให้ทำทะเบียนด้วยเพื่อการติดตามเด็กที่ได้รับทุน จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เงินอุปการะเด็กที่มอบ ให้แก่เด็กทั้ง 30 ราย ในวันนี้ จะเกิดประโยชน์แก่เด็กตามเจตนารมณ์ของกองทุนฯ ต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น