โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ ห้องประชุม วังสระปทุม ทรงติดตามที่การดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามพระราชดำริฯในโรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 13 บ้านตืองอ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีบรรพต อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ ห้องประชุม วังสระปทุม ทรงติดตามที่การดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน  ตามพระราชดำริฯในโรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 13 บ้านตืองอ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีบรรพต อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส




สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ ห้องประชุม วังสระปทุม ทรงติดตามที่การดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน  ตามพระราชดำริฯในโรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ 13 บ้านตืองอ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีบรรพต อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส สังกัด      กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44






 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) โดยมีดร.อภิสิทธิ์ พึ่งพร ผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และคณะ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส   นายชินวุฒิ ขาวสำลี  รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส   ตลอดจนข้าราชการเจ้าหน้าที่ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ฯ(ออนไลน์) ตาม  มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)







โรงเรียนนี้ เปิดสอนอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2534 อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44  จัดตั้งอย่างเป็นทางการวันที่ 15 กรกฎาคม 2534 เปิดทำการสอนระดับก่อนประถม ถึงระดับประถมศึกษา

 

        ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีครูตำรวจตระเวนชายแดน หรือครู ตชด. 6 นาย ครูอัตราจ้างและครูจิตอาสา 6 คน มีนักเรียน 167 คน

 





          ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรงเรียนฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันอย่างเคร่งครัด มีจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand โดยครูนำใบงานไปให้นักเรียนทำที่บ้าน มีการนัดหมายรับและตรวจใบงานในทุกวันศุกร์

   

 

       ด้านการศึกษา มีการวิเคราะห์ ผลการประเมิน O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 4กลุ่มสาระวิชา ต่ำกว่าระดับจังหวัด และระดับประเทศ  ในส่วนผลการเปรียบเทียบคะแนน O-NET ปีการศึกษา 2561 ถึง 2563 ทั้ง 4 กลุ่มสาระวิชา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

แนวทางการแก้ไข มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยการใช้เทคโนโลยี เช่น

DLTV และใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นคว้า  ซึ่งโรงเรียนได้วิเคราะห์ตามมาตรฐานตัวชี้วัด จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ (O-NET camp) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โรงเรียนประเมินตนเองตามมาตรฐานตัวชี้วัด เพื่อให้ครูได้รู้แนวทางการจัดการเรียนการสอน และเทคนิคการสอน และมีการส่งเสริมการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของโรงเรียนในการสืบค้นข้อมูล และใช้คลังข้อสอบออนไลน์

 

     ด้านจริยธรรมโรงเรียนสนับสนุนให้นักเรียนได้ปฏิบัติศาสนกิจร่วมกับประชาชนในทุกๆ วันศุกร์ และมีการพัฒนาศาสนสถานของชุมชนเดือนละ ๑ ครั้ง

 

      ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นคว้า ปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์ใช้ของโรงเรียนจำนวน 10 เครื่อง ห้อง USO NET จำนวน 10 เครื่อง เพียงพอกับนักเรียน

 ผลการประเมิน นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป

 

      โอกาสนี้ ทรงทอดพระเนตรการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่องผลไม้       กิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมห้องพยาบาล มีการติดตามและให้ความรู้ด้านการอนามัย โภชนาการและการสร้างสุขลักษณะที่ถูกต้องแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง

 

        นอกจากนี้มีการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการงานอาชีพ ผลผลิตทางการเกษตร ประเภทเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้        ซึ่งโรงเรียนจัดการเรียนรู้และให้นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยการ    ปลูกผักกินใบ ผักเครือเถา ปลูกไม้ผล เลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อ   ไก่พื้นเมือง เป็ด การเลี้ยงปลาในบ่อดินและบ่อซีเมนต์

 

     ด้านวิชาชีพที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของนักเรียนโรงเรียนจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ติดตา และการทำปุ๋ยพืชสด

  

    ด้านวิชาสหกรณ์นักเรียนโรงเรียนมีนักเรียนดำเนินกิจกรรมในรูปคณะกรรมการ ดำเนินกิจกรรมร้านค้า กิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์ การทำบัญชีต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียง การทำบัญชีครัวเรือน และทัศนศึกษาดูงาน ณ สหกรณ์ อรบ.นราธิวาสรักษ์บ้านเกิด จำกัด

 

     ด้านสุขภาพอนามัย โรงเรียนได้รณรงค์การออกกำลังกาย  การใช้ห้องน้ำให้ถูกสุขลักษณะ โดยทำร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีบรรพต จำนวน 90 ครัวเรือน

 

      ด้านสหกรณ์ ส่งเสริมให้ผู้ปกครองจัดทำบัญชีครัวเรือน จำนวน 45 ครัวเรือน

 

    ในด้านความภาคภูมิใจของโรงเรียนและชุมชนปีการศึกษา 2563 รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ของการคัดเลือกกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่น จากสำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส

 

    โอกาสนี้ มีพระราชดำรัสชื่นชมการดำเนินงานของโรงเรียน ที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ 

 

      เวลา 13 นาฬิกา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ ห้องประชุม วังสระปทุม ทรงติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพระราชดำริ ในโรงเรียนตํารวจตระเวนชายแดนบ้านละโอ หมู่ที่ 2 ตำบลศรีบรรพต อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) โดยมีนายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส   นายบุญพาศ รักนุ้ย

รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส  

ตลอดจนข้าราชการเจ้าหน้าที่ร่วมรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ฯ(ออนไลน์) ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

     ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีครูตำรวจตระเวนชายแดน หรือครู ตชด. ครูอัตราจ้าง และครูโรงเรียนคู่พัฒนาจำนวน  10 คน มีนักเรียน 71 คน

 

     ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 ตามคําสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 ให้สถานศึกษา ปรับการเรียนการสอน แบบ On Hand ทางโรงเรียนได้จัดการเรียนการสอน ดังนี้

วันจันทร์รับใบงาน และนําส่งใบงานในวันศุกร์ ส่วนวันอังคารถึงวันพฤหัสบดี ครูทุกระดับชั้นนัดพบนักเรียนเป็น กลุ่มย่อย เพื่อติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน

 

สำหรับผลการประเมิน  NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ คะแนนเฉลี่ย ทั้งสองด้าน สูงกว่าระดับจังหวัด ต่ำกว่าระดับประเทศ ส่วน O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 4กลุ่มสาระวิชา ต่ำกว่าระดับจังหวัด และระดับประเทศ ซึ่งครูวิเคราะห์ตนเองเพื่อทราบจุดอ่อนของ

ครูและนักเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา แนวทางแก้ไข การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี เช่น DLTV  และโรงเรียนได้วิเคราะห์ตามมาตรฐานตัวชี้วัด จัดทําแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ร่วมกับ มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลาซึ่งโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ(O-NET camp) เพื่อพัฒนา ความรู้แก่ครู นักเรียน

 

       จากการทรงงาน พบว่าปัญหาและความต้องการของชุมชน คือ ต้องการเรียนรู้อาชีพเสริมด้านช่างปูน

และช่างทําเฟอร์นิเจอร์ ประปาภูเขาขาดแคลนน้ําในช่วงฤดูแล้ง และท่อส่งน้ําอุดตันในช่วงฤดูฝนรวมราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ เช่น เงาะมังคุด ลองกอง และทุเรียนจะได้ดำเนินงานแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

 

 

  ด้านวิชาเกษตรของนักเรียน โรงเรียนจัดการเรียนรู้และให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ด้วยการปลูก ผักกินใบ ผักเครือเถา ปลูกไม้ผล เลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อ เป็ด การเลี้ยงปลาในบ่อดิน และบ่อซีเมนต์

 

 

    ด้านวิชาสหกรณ์นักเรียน โรงเรียนมีนักเรียนดําเนินกิจกรรมในรูปคณะกรรมการดําเนินกิจกรรมร้านค้า กิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์ การทําบัญชีต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ปกครองจัดทําบัญชีครัวเรือน จํานวน 20 ครัวเรือน

  

     ในการนี้ทรงทอดพระเนตรการสาธิตการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง คำควบกล้ำแท้

ทอดพระเนตรกิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน  ทอดพระเนตรสุขศาลาพระราชทาน "กิจกรรมการให้บริการการรักษาทางไกล" กิจกรรมการเลี้ยงอาหารกลางวัน และอาหารเสริมนม และทรงทอดพระเนตรกิจกรรมการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน กิจกรรมปลูกผักไม้ผล สาธิตการปักชำ"ผักหวาน" กิจกรรมปศุสัตว์ และกิจกรรมประมง

 

     โอกาสนี้ มีพระราชดำรัสแก่หน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนและชุมชน อย่างต่อเนื่อง  และบูรณาการเรื่องการจัดหาวัคซีน และเรื่องสุขาภิบาล ขณะที่นักเรียนจะต้องตั้งใจเรียน  หมั่นศึกษาหาความรู้  เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการประกอบอาชีพต่อไป

ภาพข่าว/รายงาน:  นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พัฒนาการอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น