โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564

นันทรัตน์ นามบุรี' ผลักดัน NS + BEST Model กระตุ้นการท่องเที่ยววิถีใหม่และวิถีถัดไปในสามจังหวัดภาคใต้

  นันทรัตน์ นามบุรี'  ผลักดัน NS + BEST Model กระตุ้นการท่องเที่ยววิถีใหม่และวิถีถัดไปในสามจังหวัดภาคใต้





           ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นันทรัตน์ นามบุรี คณบดีคณะวิทยาการจัดการ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอ 'NS + BEST Model'   หรือ  วิธีการบริหารและจัดการการท่องเที่ยวตามฐานวิถีชีวิตใหม่ ( New normal) หรือ ความปกติใหม่ และ ความปรกติถัดไป ( Next normal) ต่อ กลไกของรัฐและผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการท่องเที่ยวในสามจังหวัดภาคใต้ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพและสร้างรายได้ ตลอดจน กระตุ้นการท่องเที่ยวหลังการคลายล็อคและหนุนคนไทยเที่ยวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย  จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส


           " มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรย.) ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการทำวิจัย 'โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ ' (ทุน KM) จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ลงพื้นที่ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต และ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทำงานร่วมกับชุมชนรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ( stakeholders) ทั้งแนวดิ่งและแนวระนาบ พร้อมทั้ง จะนำ (ก) แนวคิดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ( Responsible Tourism) ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ( 2563)  ที่เน้นการใส่ใจ หรือ การให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและมีปัจจัย หรือ องค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ  ประกอบด้วย ประการที่หนึ่ง คือ B- booking in advance หรือ การเตรียมการเพื่อใช้บริการจองล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ประกอบการได้จัดและบริการให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเช่น การจำกัดจำนวนคน หรือ การเว้นระยะห่าง ประการที่สอง คือ E - Environment ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวในพื้นที่หรือเส้นทางธรรมชาติด้วยความระมัดระวังภายใต้การฟื้นตัวของธรรมชาติในช่วงระยะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2019 หรือ COVID - 19 ประการที่สาม คือ S- Safety หรือ การเฝ้าระวังและการป้องกันตนเองในช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่าทางจากตนเอง หรือ บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่น และประการสุดท้าย คือ T - Technology หรือ การใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าและประสบการณ์การท่องเที่ยวเช่นการลงทะเบียน หรือ การจองที่พักผ่านแอปพลิเคชั่น การใช้ระบบการเบิกจ่ายและถอนเงินอัตโนมัติ การศึกษาข้อมูลการท่องเที่ยวผ่าน VR ( Virtual Reality)  และ หรือ AR ( Augmented Reality) ฯลฯ ผสมผสานกับ  (ข) แนวคิด ' NS + ' ซึ่งประกอบด้วย N- Nature plus ที่หมายถึง รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวไปยังสถานที่ ที่แปลก หรือ ใหม่ ( unseen) หรือ กึ่งใหม่ ( semi-unseen)  เป็นสถานที่ตามธรรมชาติที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง มีอัตลักษณ์เฉพาะ ( uniqueness) และมีร้อยเรื่องราว ( stories)  ส่วน S - ( Deep) South (Experience ) plus คือ พื้นที่ใต้สุดและมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านและเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ( multi- cultural society) ที่ชุมชนไทยพุทธและมุสลิม อยู่ร่วมกันภายใต้บรรยากาศ หรือ สภาพแวดล้อมที่เอื้ออาทร ( mutual environments) และแนวคิด ข้างต้น เป็นแนวคิดที่ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เพราะ นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวในสถานที่ที่เป็นธรรมชาติ ไม่พลุกพล่าน หรือ เป็นที่รู้จักไม่มาก ( semi-unseen) เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และมีเรื่องราวร้อยรัดกับความเป็นอยู่ของพี่น้องและประชาชนที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้ง ยังเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบบเว้นระยะห่าง เพราะนักท่องเที่ยวสามารถเลือกที่จะพักเป็นการส่วนตัว ( private isolation) ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีสถานที่พร้อมสำหรับการตั้งเต็นท์ในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ดูดาว หรือ ตั้งแค้มป์ตามความชอบของตนเอง ( Lifestyle) หรือ การเปลี่ยนบรรยากาศจาก 'การทำงานที่บ้าน'  หรือ work from home เป็น  การทำงานจากแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ หรือ การเรียนจากแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อหลบหนีความจำเจในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ ฯลฯ" ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.นันทรัตน์ นามบุรี  ขยายความเพิ่มเติม

          

       " มรย. และ วช. จะส่งมอบ NS+BEST Model ให้ฝ่ายนโยบายซึ่งประกอบด้วย (ก) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ผู้รับผิดชอบและเป็นกลไกในการขับเคลื่อน 'โครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน (ข) สำนักการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา นราธิวาสและปัตตานี (ค) ท้องถิ่นจังหวัด (ง) ชมรมธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว (จ) ชมรมมัคคุเทศก์จังหวัด (ฉ) องค์กรพัฒนาเอกชนและมูลนิธิ ฯลฯ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งในระยะแรกคงต้องเปิดพื้นที่เพื่อพูดคุยกันและคัดเลือกพื้นที่ปลอดภัยเพื่อนำร่องในลักษณะของ Travel Bubble แล้วค่อยขยายผลไปยังชุมชนที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ เช่น อาจจะเริ่มต้นที่ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ไปพลางก่อน เพราะเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะสัมพันธ์กับความต้องการของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน กล่าวคือ เป็นพื้นที่ unseen มีความหลากหลายของพืชพรรณและธรรมชาติ ตลอดจน มีเรื่องราวน่าสนใจที่สามารถร้อยเรียงและบอก อีกทั้ง สามารถจัดการและควบคุมดูแลให้ชุมชนและนักท่องเที่ยวอยู่ภายในพื้นที่และขอบเขตที่สามารถรักษาความปลอดภัยด้านการสุขอนามัยได้ " ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทรัตน์ นามบุรี ระบุ


        อนึ่ง ดร. สุกฤษตา พุ่มแก้ว รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ มรย. กล่าวเสริมว่า " ในระยะแรก 'ต้นแบบ'  หรือ Model ดังกล่าว ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลผ่านกระบวนการ 'ซ่อม สร้าง เสริม' อย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือ 'ซ่อม' โดยการ (ก) เร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมและครบพื้นที่เป้าหมาย (ข) กระตุ้นการจับจ่ายเพื่อการท่องเที่ยวผ่านนโยบาย 'จ่ายคนละครึ่ง' หรือ (ค) เพิ่มมูลค่าและยกระดับแหล่งเที่ยวชุมชนให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน ( CBT Thailand standards) และ SHA ( Amazing Thailand Safety & Health Administration) เพื่อเป็นเครื่องมือทางการตลาดและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว ส่วนการ 'ซ่อม' ต้องมุ่งส่งเสริม (ก) การท่องเที่ยวภายในประเทศ (go local) และ (ข) การ upskill และ reskill ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ให้บริการการท่องเที่ยว และ เจ้าหน้าที่ หรือ ผู้บริหารทั้งในระดับท้องถิ่นและท้องถิ่น (ค) ส่งเสริมการบุกเบิกและเปิดพื้นใหม่ๆ ( unseen) ที่เป็นธรรมชาติในเส้นทางสั้นๆใกล้บ้านและเหมาะสำหรับการเที่ยวกันเป็นกลุ่มเล็กๆ  (ง) การท่องเที่ยวรายกิจกรรม เช่น เดินป่า ส่องนก ฯลฯ  หรือ  (จ) การท่องเที่ยวระยะยาว ( long stay ) สำหรับการบำบัดและผ่อนคลายหรือ รักษาสุขภาพของผู้สูงอายุ ฯลฯ และ การ 'เสริม' ซึ่งประกอบด้วย การให้คำปรึกษา หรือ เป็นพี่เลี้ยงแก่ชุมชนด้าน (ก)  กลยุทธ์การตลาด (ข) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (ค) การพัฒนาอาหารพื้นถิ่น (ง) การพัฒนาประสบการณ์การท่องเที่ยว และ (จ) ด้านเทคโนโลยี หรือ ดิจิทัล รวมถึง (ฉ) การส่งเสริมและทดสอบ หรือ เผยแพร่การท่องเที่ยววิถีชุมชนผ่าน YouTuber หรือ Vlogger ที่มีชื่อเสียง และ ( ช) การยกระดับและพัฒนาการนำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือ บริการแปลกใหม่ของชุมชนผ่านตลาดออนไลน์เพื่อให้เกิดความสำเร็จเชิงพาณิชย์ หรือ (ซ) การเปิด Travel Bubble เพื่อให้ชุมชนที่สามารถจัดการเรื่องการระบาดของ COVID-19 ได้ดีเท่าๆกัน ส่งนักท่องเที่ยว หรือ มีการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวระหว่างกัน  เป็นต้น" 


            " มรย. ยังได้จัดทำ (ก) ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569 ) ให้กับตำบลอัยเยอร์เวงและตำบลแม่หวาด รวมถึง (ข) คู่มือกิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ตามฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับชุมชนพื้นที่ป่าฮาลาบาลาและจะส่งมอบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าของพื้นที่ ด้วย"  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทรัตน์ นามบุรี กล่าวเสริม



สุพจน์ อาวาส

22 สิงหาคม 2564/20.00 น.

สุพรรณบุรี


................................................


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น