โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2564

นิพนธ์ฯ ตอบ 2 กระทู้แยกเฉพาะ โครงการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำบึงหนองบอนจาก กรุงเทพฯฝั่งตะวันออก เผย เร่งรัดโครงการให้เสร็จทันตามสัญญาภายใน 15 ก.พ. 65 เพื่อป้องกันน้ำท่วม

  นิพนธ์ฯ ตอบ 2 กระทู้แยกเฉพาะ  โครงการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำบึงหนองบอนจาก กรุงเทพฯฝั่งตะวันออก เผย เร่งรัดโครงการให้เสร็จทันตามสัญญาภายใน 15 ก.พ. 65 เพื่อป้องกันน้ำท่วม 



  นิพนธ์ฯ ตอบ 2 กระทู้แยกเฉพาะ  โครงการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำบึงหนองบอนจาก กรุงเทพฯฝั่งตะวันออก เผย เร่งรัดโครงการให้เสร็จทันตามสัญญาภายใน 15 ก.พ. 65 เพื่อป้องกันน้ำท่วม - ส่วนการแก้ไขปัญหาสุนัขและแมวจรจัดในเขตกทม.  ตั้งเป้าอนาคตต้องฉีดวัคซีนให้ได้ 2 แสนตัว ทำหมันปีละ 2 หมื่น เชื่อลดจำนวนลงจนไม่เป็นปัญหาต่อสังคม

 

 


   เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2564  ที่รัฐสภา นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท.  ตอบกระทู้แยกเฉพาะของนายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ ส.ส. กทม. พรรคก้าวไกล ถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา  โดยนายนิพนธ์ กล่าวชี้แจงว่า โครงการดังกล่าวเป็นการสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ระยะทางยาว 9.40 กิโลเมตร รับน้ำจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกของ กทม.(ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา และประเวศน์)

เริ่มก่อสร้างจากบริเวณบึงรับน้ำหนองบอน ลอดใต้คลองหนองบอน คลองตาช้าง ถนนศรีนครินทร์ ถนนอุดมสุข ถนนสุขุมวิท 101/1 และคลองบางอ้อ ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางอ้อ ประกอบด้วย อาคารรับน้ำ 7 แห่ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณถนศรีนครินทร์ ถนนอุดมสุข ถนนสุขุมวิท

 และเพื่อให้การระบายน้ำทั้งโครงการมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องมีอาคารรับน้ำ และปล่องรับน้ำลงอุโมงค์ระหว่างทาง ปล่องรับน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในคลอง แต่มีบางแห่ง จำเป็นต้องอยู่บนถนนอุดมสุข คือ บริเวณสะพานข้ามคลองเคล็ด บริเวณปากซอยอุดมสุข 56 และบริเวณปากซอยอุดมสุข   จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรใหญ่ จึงต้องเบี่ยงการจราจรบนถนนอุดมสุขจากเหลือ 2 ช่องจราจรไป-กลับ ซึ่ง กทม.ได้ทำการประชาสัมพันธ์ติดตั้งป้ายบอกล่วงหน้า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้รถยนต์ในช่วงเวลาเร่งด่วน พร้อมเร่งรัดผู้รับงานก่อสร้างเร่งสร้างอุโมงค์ระบายฯ ทั้งโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 15 กุมภาพันธ์ 2565 ตามกำหนดของสัญญาจ้าง

 

   "ส่วนกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถเครนล้มใส่บ้านเรือนประชาชน เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2563  ผู้ควบคุมงานและวิศวกรสนาม ได้ติดต่อประสานงานกับการไฟฟ้าเพื่อทำการเก็บกู้สายไฟฟ้า และติดตั้งเสาไฟฟ้าเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าชั่วคราวให้กับบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบได้ครบทุกหลัง โดยผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ พร้อมคณะได้เข้าพบเจ้าของบ้านที่ได้รับความเสียหาย เพื่อแสดงความเสียใจและขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเร่งซ่อมแชมบ้านที่เสียหายแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 19  ธันวาคม 2563  และได้เยียวยาผู้เสียหายเรียบร้อยแล้ว ทั้งกำชับไม่ให้เกิดเหตุซ้ำขึ้นอีก โดยได้มีหนังสือกำชับผู้รับจ้างให้ก่อสร้างด้วยความระมัดระวัง และได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) ในการดูแลการทำงานของเครื่องจักรอีกด้วยนายนิพนธ์ กล่าว

 

 

   และ กระทู้ที่ 2 คือ เรื่องการแก้ไขปัญหาสุนัข และ แมวจรจัด ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งกระทู้โดย นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.จากพรรคก้าวไกล โดยนายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มท. ได้ชี้แจงว่า "การดำเนินการแก้ไขต้องสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชุม สังคม พร้อมทั้งการปลูกจิตสำนึกต่อเรื่องการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ยกตัวอย่าง กรณีที่กรุงเทพมหานคร พยายามเข้าไปจัดแหล่งพักพิงสัตว์จรจัดในชุมชนต่างๆ แต่ก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนที่จะให้มีแหล่งดูแลสัตว์จรจัดเหล่านั้นทำให้ปัญหาก็ไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างที่ควรจะเป็น

 

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้มีการเข้าไปดูแลจัดการป้องกันปัญหาสุนัขและแมวจรจัด โดยนโยบายการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดในเขตกทม. ที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อลดปัญหาสุนัขจรจัดและสวัสดิภาพในสัตว์ โดยประสานกับกลุ่มคนรักสัตว์เข้าไปแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด มีการร่วมมือกันทำงานมาอย่างต่อเนื่อง  เช่น การประสานสมาคมสงเคราะห์สัตว์แห่งประเทศไทย เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และมีผู้รักสัตว์เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขข้อร้องเรียน ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน โดยในอนาคต กทม. ตั้งเป้าหมายการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ต้องไม่น้อยกว่าปีละ 200,000 ตัว และทำหมันไม่น้อยกว่าปีละ 20,000 ตัว  ซึ่งจะทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สุนัขและแมวจรจัดลดจำนวนลงจนไม่เป็นปัญหาต่อสังคม ไม่กระทบการดำเนินชีวิตของประชาชน และไม่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุข

 

////

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น