เล่าเรื่อง "มองต่างมุม" ฝากถึงใครสักคนในอนาคต "คุณต้องบริหารไทยอย่างไทย สู่สากล ไม่ใช่ให้ไทย เหมือนใคร เพื่อใคร ในสากล"
สังคม หมายถึง คนส่วนรวม ต่างความคิด
ต่างนิสัย ต่างที่มา ต่างฐานะ ต่างความต้องการ
ต่างความรู้สึก ต่างขนบธรรมเนียมประเพณีฯลฯ
เป็นไปไม่ได้เลยที่จะให้ทุกคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ การปกครองสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกฎระเบียบและข้อบังคับ
รวมถึงบทลงโทษต่างๆ เพื่อกำหนดให้การกระทำของทุกคนในสังคมอยู่ภายใต้กรอบและขอบ
เขตของศีลธรรม ซึ่งเราเรียกว่า "กฎหมาย"
กฎหมาย เป็นมาตรการในการปกครองสังคมที่เป็นที่ยอมรับและมีการบังคับใช้ต่างกันไปในแต่ละประเทศทั่วโลก
แต่ในขณะเดียวกัน การเรียกร้องความเสมอภาคและความเท่าเทียม ในการบังคับใช้กฎหมาย
ก็ดูเหมือนจะเป็นเงาตามตัว ของกฎหมาย
ที่มีการบังคับใช้ในแต่ละประเทศมาอย่างยาวนาน
เนื่องจากการออกกฎหมายจะต้องผ่านผู้นำหรือตัวแทนในแต่ละพื้นที่ ที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็น 10 ปีที่แล้ว ดังที่กล่าวมานี้ เราก็สามารถเข้าใจได้ และยอมรับได้
แต่!! น่าสังเกตุ ที่การออกกฎหมายในปัจจุบันยังคงทำกันเฉพาะคนกลุ่มหนึ่ง โดยการอ้างสิทธิ์ผู้นำหรืออ้างสิทธิ์ตัวแทนของคนหมู่มาก ทั้งที่กฎหมายเหล่านั้นมีผลต่อสิทธิเสรีภาพของทุกคนในสังคม ซึ่งอันที่จริงในยุคปัจจุบันก็เต็มไปด้วยเทคโนโลยี สื่อออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงทุกคนได้ โดยทั่วกัน ผิดกับสมัยก่อนที่ประชาชนยังต้องพึ่งพาตัวแทน เพื่อเป็นกระบอกเสียง เพื่อแสดงความความคิดเห็นและความต้องการของประชาชน
จะดีกว่าหรือไม่ สำหรับยุคปัจจุบัน?
หากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
เรียกร้องเสนอให้มีการร่างกฎหมายผ่าน application ผ่านการแสดงความคิดเห็น
ผ่านความเห็นชอบ และไม่เห็นชอบ จากทุกๆคน
ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งภายในประเทศ ในรูปแบบ
"Section by Section" ทีละมาตรา
เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในสิทธิของตนเอง แทนที่ ระบบเดิมในรูปแบบ
"ฝากผู้แทน ไปคิดแทน" ซึ่งหลายต่อหลายครั้งที่ผู้แทนทำเพื่อตัวเองแทนที่จะทำเพื่อเรา
แน่นอน ว่านี่เป็นเพียงแค่แนวคิด ในแง่มุมหนึ่งย่อมต้องมีข้อเสีย และไม่สมบูรณ์
ว่ากันถึงข้อเสียของการร่างกฏหมายในรูปแบบนี้
- จะต้องมีการถกเถียง ปรึกษาหารือ ดีเบต
กันระหว่างคนหลายฝ่าย หลายกลุ่ม จนกว่าจะได้สิ่งที่เป็นกลางที่สุด ที่จะนำไปบังคับใช้
- อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าในการออกกฎหมายในรูปแบบปกติ เพราะต้องผ่านความเห็นชอบและไม่เห็นชอบจากประชาชนทุกคน แต่ก็สามารถแก้ไขกำหนดระยะเวลาการมีส่วนร่วม โดยการใช้กฎข้อบังคับได้
- หากคนส่วนใหญ่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ก็จะเกิดผลเสียต่อสิทธิเสรีภาพโดยตรง ต่อคนในประเทศทุกคน
ทั้งที่ลงเห็นชอบและไม่เห็นชอบให้ผ่านร่างกฎหมายในแต่ละมาตรานั้น
- จำนวนของมาตราตามกฎหมายจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนทั้งประเทศ ที่มีผลผูกพันโดยตรง
ในทุกกลุ่ม โดยอาจะมีกฎหมายนักศึกษา กฎหมายการพนันพื้นบ้าน ฯลฯ
ในทุกอาชีพ โดยอาจจะมีกฎหมายสวนยางกฎหมายสวนปาล์ม กฎหมายประมงพื้นบ้าน
กฎหมายวินมอเตอร์ไซค์ กฎหมายร้านข้าวแกงกฎหมายร้านส้มตำ กฏหมายร้านตัดผม ฯลฯ
ในทุกพื้นที่ โดยอาจจะมีกฎหมาย เฉพาะหมู่บ้าน กฎหมายเฉพาะตำบล กฎหมายเฉพาะอำเภอ
ฯลฯ เป็นต้น
ถึงแม้จะมีข้อเสีย แต่ทั้งนี้ การให้ทุกคน เข้าถึงและใช้สิทธิของตนในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อประเทศ ต่อแผ่นดินเกิด แผ่นดินอยู่ แผ่นดินตาย
ของตนเอง เสียงส่วนใหญ่ คงไม่มีใครคิดเห็นที่จะสนับสนุนเพื่อทำลาย ประเทศของตน
ว่ากันด้วยเรื่องกฎหมาย จะไม่กล่าวถึงคงไม่ได้
ในส่วนของกฎหมายที่กำหนดลักษณะของการ
กระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดไว้ ทั้ง 5 ข้อ ได้แก่ริบทรัพย์สิน ปรับ กักขัง จำคุก ประหารชีวิต
แน่นอนว่าบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดนั่นเป็นการริดรอนสิทธิ์ ให้ผู้กระทำความผิดเสียประโยชน์ ตามสมควรแก่เหตุ
ซึ่งดูเหมือนจะมีความเสมอภาค แต่ ไม่ใช่ทั้งหมด
เพราะในบทลงโทษที่เป็นโทษ ปรับ ได้กำหนดบทลงโทษไว้ อย่างน่าสังเกตุ โดยกำหนดโทษเจาะจงและไม่คำนึงถึงสถานะและฐานะความเป็นอยู่ทางสังคมของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม โทษในการปรับนี้ แสดงถึงความไม่เสมอภาคและความไม่เท่าเทียมอย่างมาก ซึ่งเราก็มักจะได้ยินประโยคหรือคำจำกัดความที่ว่า"ใครจนเสียค่าปรับไม่ได้ก็ติดคุก
ใครรวยมีจ่ายก็รอดไป"
จะดีกว่าหรือไม่ สำหรับยุคปัจจุบัน?
หากสามารถกำหนดโทษปรับ โดยคิดเป็น
เปอร์เซน ตามสัดส่วนของรายได้ หรือ ตามราคาประเมินทรัพย์สินที่นำสู่การกระทำความผิดนั้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
ผู้ใดกระทำความผิดหรือนำทรัพย์สินสู่การกระทำความผิดที่เป็นความผิดลหุโทษ ในลักษณะโทษที่มีการเรียกปรับ เช่น การฝ่าสัญญาณไฟจราจรสีแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่า "หยุด" เมื่อเป็นความผิด และนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ให้เปรียบเทียบปรับในอัตราส่วน 0.05% จากราคาประเมินกลางตามมูลค่าทรัพย์สินที่นำสู่การกระทำความผิดนั้น ตามราคาประเมินกลาง ณ ปัจจุบัน หรือให้เปรียบเทียบปรับในอัตราส่วน 0.05% จากฐานรายได้เฉลี่ยสุทธิย้อนหลัง 6 เดือน หากผู้กระทำความผิดยินยอมที่จะแสดงฐานรายได้ย้อนหลัง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้การเปรียบเทียบปรับจะต้องไม่ต่ำกว่า 500 บาทหรือไม่เกินกว่า 10,000 บาท จากราคาประเมินทรัพย์สินที่นำสู่การกระทำความผิดหรือจากฐานรายได้สุทธิย้อนหลัง 6 เดือนก็ตาม
เป็นต้น
ตัวอย่างที่1.
นาย ก. ขับรถซุปเปอร์คาร์ยี่ห้อนึง ฝ่าไฟแดง
เมื่อเป็นความผิดและเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายแล้ว
เจ้าพนักงาน ประเมินราคาสินทรัพย์ ณ ปัจจุบัน
มีมูลค่า สามสิบล้านบาท คิดเป็น 0.05% จากโทษปรับ นาย ก ต้องชำระค่าปรับ 15,000 บาท
หรือชำระไม่เกินกว่า 10,000 บาท ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นต้น
ตัวอย่างที่2.
นาย ข. ขับรถกระบะยี่ห้อนึง ฝ่าไฟแดง
เมื่อเป็นความผิดและเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายแล้ว
เจ้าพนักงาน ประเมินราคาสินทรัพย์ ณ ปัจจุบัน
มีมูลค่า หนึ่งล้านบาท คิดเป็น 0.05% จากโทษปรับ นาย ข. ต้องชำระค่าปรับ 500 บาทเป็นต้น
หรือชำระไม่ต่ำกว่า ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เป็นต้น
เท่านี้คนมีก็เสียประโยชน์เท่ากับคนไม่มี
คนไม่มีก็เสียประโยชน์เท่ากับคนมี ทั้งคนมีและคนไม่มีย่อมถูกริดรอนสิทธิโดยเท่ากัน
ปัญหาเกิดจากคน ที่ไหนมีคนที่นั่นมีปัญหา
กฎหมายไม่ทำลายคน หากคนไม่ทำผิดกฎหมาย
และความเสมอภาคทางสังคมจะเกิดขึ้นกับทุกคน เมื่อทุกคนให้ความสำคัญในกฎเกณฑ์ของสังคม
*** หมายเหตุ***
แนวคิดดังกล่าวนี้เป็นเพียงแง่มุมหนึ่ง
จากซอกเสียงของคนในสังคมไทยที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและสนับสนุนให้เกิดความเสมอภาคทางสังคม
นามปากกา S.s 612
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น