โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีปิดการฝึกอบรมและมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมฝึกอบรม


 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีปิดการฝึกอบรมและมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมฝึกอบรม




เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีปิดการฝึกอบรมและมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมฝึกอบรม



 "โครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง“ จำนวน 100 คน โดยปฏิบัติการฝึกอบรมเป็นเวลา 14 วัน ระหว่างวันที่ 1 - 14 กันยายน 2563 เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับความเดือดร้อนเมื่อพ้นโทษออกไปภายนอก ณ เรือนจำจังหวัดนราธิวาส    เรือนจำจังหวัดนราธิวาส จัดพิธีปิดการฝึกโครงการโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์




วันนี้ (16 ก.ย. 63) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายไพโรจน์ จริตงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้แทนพระองค์ ไปมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้รับการฝึกอบรมโครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์ ณ เรือนจำจังหวัดนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส



 โดยมี นายณรงค์ อุรุวรรณ์ ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดนราธิวาส,นายไกรวุฒิ ช่วยสถิตย์ พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส หัวหน้าส่วนราชการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เรือนจำ ผู้ต้องขังที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เข้าร่วมพิธี



ตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้มีการฝึกโครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง เรือนจำจังหวัดนราธิวาส รุ่นที่ 1 กรมราชทัณฑ์ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา เพื่อสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็ก 




โดยสามารถดำเนินการได้ในทุกเงื่อนไขของพื้นที่ และมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพื้นฐานความคิดการฝึกวินัย การลงมือปฏิบัติ ตลอดจนการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับความเดือดร้อนได้เมื่อพ้นโทษออกไปภายนอก



ทั้งนี้ การฝึกโครงการดังกล่าว มีผู้เข้ารับการฝึกเป็นผู้ต้องขังที่เป็นคนไทย 92 คน และชาวต่างชาติ 8 คน รวมทั้งสิ้น 100 คน โดยปฏิบัติการฝึกอบรมเป็นเวลา 14 วัน ระหว่างวันที่ 1 - 14 กันยายน 2563 แบ่งการฝึกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การอบรมพึ่งตนด้วยทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 2 การแปลงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ 



ประกอบด้วย การออกแบบแนวความคิดการบริหารจัดการพื้นที่ขนาดเล็ก การประยุกต์ทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา ตามภูมิศาสตร์สังคมลงบนกระดาษ , การสร้างพื้นที่จำลอง และวางแผนการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น , การปฏิบัติในพื้นที่จริงมีขนาด 1 งาน หรือ 412 ตารางเมตร



 ตามทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา ตามภูมิศาสตร์สังคม และขั้นที่ 3 การสรุปและประเมินผล ที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นครบถ้วนตามหลักสูตรแล้ว ผลการฝึกอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีผู้สำเร็จการฝึก จำนวนทั้งสิ้น 100 คน


สำหรับผลการดำเนินงานหลังจากนี้ผู้ต้องขังที่จะรับการพ้นโทษในโอกาสต่อไป จะต้องไปดำเนินการในพื้นที่ตามภูมิศาสตร์สังคมของตนเอง อันเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด



 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และช่วยกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น