โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

รายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พุทธศักราช 2563" หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์ของในหลวง “ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร


รายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พุทธศักราช  2563"  หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์ของในหลวง “ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร



รายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พุทธศักราช  2563
เวลา 13.40 - 14.00 น.


"  หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์ของในหลวง
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตระหนัก
ถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ทรงศึกษา และพระราชทาน แนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้หญ้าแฝก ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณสมบัติ ในการช่วยป้องกัน การชะล้าง และพังทลายของหน้าดิน และอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดินไว้ อีกทั้งยังเป็นพืชบ้านของไทย ที่เกษตรกรสามารถปลูก และขยายพันธุ์ได้โดยง่ายประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่นๆ


สนองพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการฟื้นฟูดิน น้ำ และป่าไม้ ให้กลับคืนมาอุดมสมบูรณ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศ ให้กลับสู่สภาวะสมดุลทางธรรมชาติดังเดิม


กองทัพภาคที่ ๑ พลโท  ธรรมนูญ วิถี  แม่ทัพภาคที่ ๑

พลตรี ฐกัด หลอดศิริ  ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๙
ประธานผู้ริเริ่มโครงการศูนย์การเรียนรู้การปลูกหญ้าแฝก กองพลทหารราบที่๙  ณ ศูนย์การเรียนรู้หญ้าแฝก
กองพลทหารราบที่ ๙ จังหวัดกาญจนบุรี

 " การกร่อนของดิน..แก้ไขด้วยพืชมหัศจรรย์ "


พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  
 พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการ
กร่อนของดิน หรือการชะล้างพังทลายของดิน โดยทรงให้ปลูกหญ้าแฝก ซึ่งมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับวิธีการปลูกหญ้าแฝก ความตอนหนึ่งว่า


     "...สิ่งที่ดีมีประโยชน์นั้น จะต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักวิชาและเหมาะสมแก่สภาพการณ์ทั่วไปด้วย จึงจะได้ผลที่พึงประสงค์ อย่างเช่นการปลูกหญ้าแฝก จะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผง และวางแนวให้เหมาะสมกับลักษณะของภูมิประเทศเป็นต้นว่า
บนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของความลาดชันและร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ หญ้าแฝกที่ปลูกโดยหลักวิธีดังนี้

 จะช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน รักษาความชุ่มชื้นในดิน เก็บกักตะกอนดินและสารพิษต่างๆ ไม่ให้ไหลลงแหล่งน้ำ ซึ่งจะอำนวยผลเป็นประโยนช์อย่างยิ่งแก่ การอนุรักษ์ดินและน้ำตลอดจนการฟื้นฟูดินและป่าไม้ให้สมบูรณ์ขึ้น..."


                    พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
               ณ อาคารจักรพันธุ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
            วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2540

หญ้าแฝก กำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต

     หญ้าแฝก (Vetiver grass)
เป็นพืชในตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นเป็นกอมีลักษณะเป็นพุ่ม ใบยาวตั้งตรง ขึ้นสูงพบกระจายอยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุข้ามปี หญ้าแฝกที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ หญ้าแฝกกลุ่มและหญ้าแฝกดอน


     ลักษณะพิเศษ
การเจริญและแตกกอของหญ้าแฝก มีการแตกหน่อรวมเป็นกอเบียดกันแน่นทำให้กอมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ   
หญ้าแฝกไม่แพร่พันธุ์โดยเมล็ด ไม่เป็นวัชพืชเหมือนหญ้าทั่วไป
     ระบบรากของหญ้าแฝก แตกต่างจากรากหญ้าทั่วไป คือ มีรากยาว หยั่งลึก แผ่กระจายเป็นตาข่ายเสมือน กำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต

"หญ้าแฝก คืออะไร"
     หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้า สามารถเจริญเติบโตได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ในเขตร้อนตั้งแต่ที่ราบจนถึงภูเขาสูง ทั้งในพื้นที่ดินที่มีความสมบูรณ์ต่ำ หรือ ในสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน
     ลักษณะเด่นของหญ้าแฝก
ระบบรากยาว หยั่งลึกลงไปในดินเป็นแนวดิ่ง ป้องกันการพังทลายของดินช่วยกักเก็บน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน ระบบรากสามารถดูดซับและกรองของเสียไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำ ช่วยบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติและยังดูดซึมธาตุอาหารพืชในดิน ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในระบบนิเวศ


     เจริญเป็นกอหนาแน่น
ไม่แผ่ขยายรบกวนพืชอื่น สามารถปลูกติดต่อกันเป็นแนวยาวเหมือนรั้ว หรือ "กำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต" ซึ่งจะช่วยกักเก็บตะกอนดินที่ถูกน้ำพัดพามาให้ติดอยู่กับแถวหญ้าแฝก รวมทั้งชะลอความเร็วของน้ำ ทำให้น้ำซึมลงใต้ดินได้มากขึ้น
     มีการแตกหน่อและใบใหม่อยู่เสมอ
ไม่ต้องดูแลมาก แข็งแรง และทนต่อการย่อยสลายเมื่อนำไปคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในแปลงผัก หรือ รอบต้นไม้จึงมีอายุการใช้งานนาน

     ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ
ได้ตลอดปี เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำจึงไม่แพร่พันธุ์เหมือนวัชพืช
     ปรับตัวเข้ากับสภาพต่างๆ ได้ดี
ทนต่อโรคพืชทั่วไปและลำต้นเจริญ อยู่ต่ำกว่าผิวดินช่วยให้อยู่รอดได้ในสภาพต่างๆ
     นำไปใช้ประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ง่าย ไม่ซับซ้อนลงทุนน้อย ผู้ปลูกสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง

 ชนิดหญ้าแฝกในประเทศไทย
     หญ้าแฝกมีกระจายอยู่ทั่วโลก ประมาณ 12 ชนิด และพบในประเทศไทย 2 ชนิด คือ
หญ้าแฝกลุ่ม
มีถิ่นกำเนิดทางตอนกลางของทวีปเอเชีย สันนิษฐานว่าอยู่ในประเทศอินเดีย พบในพื้นที่ลุ่มมีหรือความชื้นสูง มีน้ำขัง
มีลักษณะกอเป็นพุ่มสูงเต็มที่ประมาณ 150-200 ซม.
ใบสีเขียวเข้ม ยาว 45-100 ซม. หลังใบโค้งมนถึงเหลี่ยม
รากมีความหอมและหยั่งลึกลงดินได้ตั้งแต่ 100-300 ซม.
พันธุ์ที่กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมได้แก่ สุราษฎร์ธานี สงขลา 3 กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา และพระราชทาน


 หญ้าแฝกดอน
มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย ลาว เขมร เวียดนามพบได้ทั่วไปในที่ค่อนข้างแล้ง
มีลักษณะกอเป็นพุ่ม สูงเต็มที่ประมาณ 100-150 เซนติเมตร
ใบสีเขียวซีด ยาว 35-80 เซนติเมตร กว้าง 0.4-0.8 เซนติเมตร หลังใบพับเป็นสันสามเหลี่ยม เนื้อใบหยาบสากคายมีไขเคลือบน้อย
รากไม่มีความหอม และสั้นกว่า โดยหยั่งลึกลงดิน 80-100 เซนติเมตร
พันธุ์ที่กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมได้แก่ ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย
   

ประโยชน์การปลูกหญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

     พื้นที่ลาดชันต้องปลูกเป็นแถวเดี่ยวขวาง ความลาดชันของพื้นที่เป็นช่วงๆ และระหว่างแถวหญ้าแฝกจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลัก โดยระยะห่างของแถวหญ้าแฝกขึ้นกับความลาดเท

     อ่างเก็บน้ำ วางแนวปลูกเป็นแถวตามระดับ อย่างน้อย 3 แถว
แถวที่ 1 ปลูกที่ระดับทางน้ำล้นหรือระดับกักเก็บน้ำจนรอบอ่าง
แถวที่ 2 ปลูกที่ระดับสูงกว่าแถวที่ 1 ตามแนวดิ่ง 20 ซม. จนรอบอ่าง
แถวที่ 3 ปลูกที่ระดับต่ำกว่าแถวที่ 1 ตามแนวดิ่ง 20 ซม. จนรอบอ่าง

     บ่อน้ำ สระน้ำ วางแนวปลูกเป็นแถวตามแนวระดับอย่างน้อย 2 แถว
แถวที่ 1 ขอบบ่อ ห่างจากริมขอบบ่อ ประมาณ 50 ซม.
แถวที่ 2 ระดับทางน้ำเข้าบ่อ



     คลองส่งน้ำ คลองระบายน้ำ แม่น้ำลำคลอง ปลูกเป็นแถวตามแนวระดับขนานไปตามคลอง หรือแม่น้ำ ให้ห่างจากริมคลองหรือแม่น้ำ 50 ซม. และควรปลูกเป็นแถวอย่างน้อย 3 แถว

     ร่องน้ำ ปลูกพาดร่องน้ำเป็น รูปตัววีคว่ำ โดยส่วนแหลมของตัววีจะอยู่กลางร่องน้ำและหันทวนน้ำ แขนทั้งสองข้างของตัววีจะพาดถึงบนฝั่งร่องน้ำทั้งสองต้น ระยะปลูก ระหว่างต้น 10 ซม. ระยะห่างระหว่างแนวตัววีประมาณ 2 เมตร

     พื้นที่ไหล่ถนน จะวางแนวด้านข้างตามแนวถนน โดยแถวแรกอยู่บนไหล่ถนนถัดลงไป อยู่ต่ำกว่าไหล่ถนนประมาณ 100 ซม.

     พื้นที่ร่องสวน ปลูกเช่นเดียวพื้นที่ลาดชัน โดยปลูกอย่างน้อย 1 แถวห่างจากริมขอบแปลง 30 ซม.

เพื่อรักษาความชื้น
     ปลูกเป็นแถว ระหว่างแถวพืชหรือไม้ผลอาจปลูกทุกแถวหรือเว้น 1-2 แถว จึงปลูกหญ้าแฝก 1 แถว
     ปลูกครึ่งวงกลม ให้แนวหญ้าแฝกหากจากโคนต้นผลไม้ประมาณ 1.5-2 เมตร และให้รูปครึ่งวงกลมหงายรับน้ำที่ไหลบ่ามาเพื่อกักเก็บน้ำและตะกอนดิน
     ปลูกรอบพื้นที่ โดยปลูกเป็นแถวตามแนวขอบเขตของแปลงปลูกพืช

เพื่อปรับปรุงพื้นที่เสื่อมโทรม
     ต้องปลูกเต็มพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุง โดยใช้ระยะห่างระหว่างต้น และแถว 50×50 ซม. เมื่อหญ้าแฝกอายุ 2-3 ปี สำหรับกอหญ้าแฝกนำไปใช้เป็นหน่อขยายพันธุ์ได้ ส่วนใบและรากที่ไถกลบลงในดินจะถูกย่อยสลาย เป็นอินทรียวัตถุ ซึ่งจะขยายปรับสภาพของดินให้สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้ต่อไป

ประชาชนสามารถขอรับพันธุ์หญ้าแฝก ได้ที่ 098-6585549
กองพลทหารราบที่ ๙

 อย่าพลาดติดตามชมประมวลภาพเรื่องราวการปลูกหญ้าแฝก..หญ้าแฝกพืชมหัศจรรย์ ในรายการคืนคุณให้แผ่นดิน ออกอากาศวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563
 เวลา 13.40 - 14.00 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
คุณสุรีย์พร ดวงทอง คุณภูวฤทธิ์ พุ่มพวง พิธีกรดำเนินรายการคืนคุณให้แผ่นดิน

CR: ศิริพร จงศิริ
ผู้อำนวยการใหญ่ผลิต
รายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น