โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563

(ชมคลิป) สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล จัดสัมมนาเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดผลไม้อัตลักษณ์


 (ชมคลิป) สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล จัดสัมมนาเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดผลไม้อัตลักษณ์ 

สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล จัดสัมมนาเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดผลไม้อัตลักษณ์ โครงการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์และเหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ของภาค

          เมื่อวันที่  25 มิ.ย.2563 นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เปิดกิจกรรม สัมมนาเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดผลไม้อัตลักษณ์ โครงการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์และเหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ของภาค โดยมีนายวิฑูร อินทมณี เกษตรจังหวัดสตูล กล่าวรายงาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 70 คน ณ สตาร์รินทร์รีสอร์ท อ.เมืองสตูล จ.สตูล  


          นายวิฑูร อินทมณี เกษตรจังหวัดสตูล กล่าวว่า โครงการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์และเหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ของภาค มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มผู้ผลิตไม้ผลอัตลักษณ์ พัฒนาการผลิตไม้ผลอัตลักษณ์สู่มาตรฐาน สามารถแข่งขันหางการตลาดได้ ส่งเสริมภาพลักษณ์ไม้ผลอัตลักษณ์ สู่ผู้บริโภคให้มีความรู้ความเข้าใจถึงถิ่นกำเนิด เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยมาตรฐานการรับรอง Gl

  และเป็นการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการผลไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ในระดับจังหวัด ให้เกิดการเพิ่มมูลค่า และเกิดการพัฒนาองค์กรเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าไม้ผลที่เหมาะสมกับพื้นที่สู่การเป็นผู้ประกอบการ
          ทั้งนี้ จังหวัดสตูลมีสินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว และไม้ผลโดยเฉพาะไม้ผล ซึ่งเป็นไม้ผลเศรษฐกิจของจังหวัด ประกอบด้วย ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง และจำปาตะ มีพื้นที่ปลูก ประมาณ 1,000 ไร่ ผลผลิตรวม ประมาณ 4,992 ตัน ผลผลิตส่วนใหญ่จะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมของทุกปี

       
          นอกจากนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศให้จำปาดะจังหวัดสตูล ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ Gl ซึ่งมีเกษตรกรที่ขอใช้ตราสัญญลักษณ์นี้ จำนวน 46 ราย และกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการส่งเสริมให้เป็นพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดในรูปแบบของแปลงใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต พัฒนาคุณภาพและบริหารจัดการด้านการตลาด เป็นการยกระดับและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีคุณค่าทางสังคมมากยิ่งขึ้น   
    
    
นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น