โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562

“นพปฎล วิเศษสุวรรณภูมิ” รอง หน.คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ กอ.รมน.ภาค ๔ สน.ร่วมกับหอการค้าจังหวัดนราธิวาส อ.สุไหงโกลก ร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาด้านเศรษฐกิจชายแดนใต้


“นพปฎล  วิเศษสุวรรณภูมิ” รอง หน.คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ กอ.รมน.ภาค ๔ สน.ร่วมกับหอการค้าจังหวัดนราธิวาส อ.สุไหงโกลก ร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาด้านเศรษฐกิจชายแดนใต้


   ประพันธ์ ฤทธิวงศ์ บก.เวปปลายด้ามขวาน@ ชายแดนใต้/ รายงาน

     เมื่อ ๑๓ ธ.ค.๖๒, ๑๓๐๐ ณ หอการค้าจังหวัดนราธิวาส อ.สุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ประธาน​​นายนพฎล  วิเศษสุวรรณภูมิ รอง หน.คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ผู้เข้าร่วม​สมาชิกหอการค้าจังหวัดนราธิวาส จำนวน ๖ คน
   บริบททั่วไป​พื้นที่ อ.สุไหงโกลก เป็นเมืองติดชายแดนมาเลเซีย มีอายุประมาณ ๖๐ ปีเศษ ส่วนใหญ่ประชากรมาจากต่างจังหวัดเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อาทิ เช่นทางภาคเหนือ หรือภาคใต้ตอนกลาง ด้วยความแตกต่างของพื้นที่ ทำให้วินัยของประชาชนในการร่วมมือกันพัฒนา และจัดระเบียบชุมชนค่อนข้างแตกต่างกับพื้นที่ อ.เบตง


สภาพปัญหาในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
    ๑. เมื่อรัฐบาลได้เลือก อ.สุไหงโกลก ให้เป็นพื้นที่พัฒนาด้านเศรษฐกิจบริเวณชายแดน        แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจแปรปรวน ค่าเงินริงกิต  ตกต่ำในรอบ ๑๒ ปี กำลังซื้อของคนมาเลเซียมีน้อย ในส่วนของสินค้าส่งออกได้แก่ ผัก ผลไม้ สัตว์ (วัว) และนำเข้าจำพวกไม้แปรรูป และหนังสัตว์ (วัว)
    ๒. พื้นที่ อ.สุไหงโกลก ไม่มีสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานภาครัฐระดับใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จึงทำให้ไม่ได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ เศรษฐกิจภายในจึงไม่เติบโต ที่ผ่านมาภาคเอกชนดำเนินการเองทั้งสิ้น ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือได้น้อยมาก
     ​๓. หอการค้าได้เสนอให้ใช้พื้นที่การเคหะจำนวน ๒๕ ไร่ เพื่อจัดสร้างศูนย์การค้า Impact เรือกอและขนาดใหญ่ แต่ สตง. ชี้แจงว่า ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณการก่อสร้าง จึงไม่สามารถก่อสร้างได้

    ข้อเสนอ​1. ขอชะลอการพัฒนาการค้าขายบริเวณชายแดน และเน้นด้านการท่องเที่ยว โดยเสนอ       เปลี่ยนจุดชมทะเลหมอกวัดภูเขาทองซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียง ๒๐๐ เมตร         มาเป็นบริเวณเส้นทางระหว่างน้ำตกสิรินธร และวัดภูเขาทอง เนื่องจากสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๖๕๐ เมตร สามารถที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากกว่า
    ​๒. บ้านบาลา อ.สุคิริน ชุมชนมีความเข้มแข็ง สร้าง Land mark ใหม่ เป็นจุดชมนกเงือกที่มีมากกว่า ๑๓ ชนิด โดยประชาชนได้สร้างโฮมสเตย์ ชมธรรมชาติ ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ในขณะนี้ประชาชนต้องการให้ภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เนื่องจากมีเงินทุนไม่เพียงพอต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีต่างๆ พร้อมทั้งป่าในพื้นที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของเอเชียอาคเนย์ 
   ​๓. ต้องการให้การรถไฟเพิ่มเส้นทางการเดินรถขบวนทักษินารักษ์ จากกรุงเทพ สุไหงโกลก เพื่อให้การเดินทางของนักท่องเที่ยวสะดวกขึ้น สามารถที่จะมาชมธรรมชาติ หรือการค้าขาย ณ พื้นที่ชายแดน เนื่องจากปัจจุบันต้องเดินทางโดยอากาศยานมาถึงแค่เมืองนราธิวาสเท่านั้นในส่วนของรถทัวร์ก็ต้องใช้เวลาในการเดินทางมากพอสมควร

      สำหรับการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบัน ​ททท. ได้สนับสนุนงบประมาณพัฒนา ปรับปรุงสวนสาธารณะบริเวณสถานีรถไฟ สวนมิ่งขวัญ แต่ก็ยังไม่ใช่จุดขายของพื้นที่ ซึ่งทางคณะกรรมการเห็นว่า ควรจะสร้างจุดการค้า Impact    ที่มีขนาดใหญ่ และมีสัญลักษณ์ที่เด่นชัดให้กับสุไหงโกลก เพื่อเป็นขุดขาย เช่น พาสานสัญลักษณ์ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ หรือ “Golden Bridge” สะพานลอยฟ้าในอุ้งมือยักษ์ บนเขาบานาฮิลล์ ประเทศเวียดนาม เป็นต้น
 **การดำเนินการต่อไป​คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ ร่วมกับหน่วยในพื้นที่ จะสำรวจบ้านบาลา อ.สุคิรินเพื่อจัดทำข้อมูลนำเสนอ และให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป**

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น