นราธิวาส ม.นร
จัดโครงการประชาสัมพันธ์การบริการวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนาชุมชน
ณ ห้องประชุม ดร.จงรัก พลาศัย ชั้น 3
อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง จ.นราธิวาส
นายธรรมรงค์ คงวัดใหม่ รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส
เป็นประธานเปิดโครงการประชาสัมพันธ์การบริการวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนาชุมชน
โดยทางมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้จัดทำขึ้น โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ประชาชน นักศึกษา นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง
เข้าร่วมจำนวนกว่า 500 คน
ด้าน ผศ.ดร.สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า
ได้ดำเนินการจัดร่วมกับคณะ
วิทยาลัย สถานบัน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
จนถึงปัจจุบันและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่มีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยของแต่ละสาขาวิชาที่เปิดสอนในมหาวัทยาลัย
นำไปให้บริการด้านวิชาการและวิชาชีพหรือต่อยอดความรู้เดิมของชุมชนในรูปแบบต่างๆในปีการศึกษาที่ผ่านมา
ทางมหาวิทยาลัยฯได้ออกบริการด้านวิชาการและวิชาชีพกับชุมชนในพื้นที่นราธิวาส
ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมและให้ความรู้ด้านสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุ
ตรวจสอขภาพเบื้องต้น
ส่งเสริมด้านวิชาการ เช่น ปฏิบัตการเพาะเนื้อเยื้อพืช
การสอนเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การสอนเสริมด้านภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีน
ภาษาอาหรับ พัฒนาสื่อมัลติมีเดี่ย
พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การทำบัญชีครัวเรือน ความรู้ด้านเกษตร เช่น ผลิตปุ๋ย
การผลิตและแปรรูปจากสัตว์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกโรงเรือนพลาสติก
การจัดดอกไม้ในงานภูมิทัศน์ ด่านวิศวกรรม เช่น
การให้ความรู้และสาธิตการก่อสร้างพื้นระบายน้ำด้วยคอนกรีตพรุน
ด้านการจัดระบบสารสนเทศ การซ่อมเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ซ่อมบำรุงเครื่องจักรการเกษตร
ตลอดจนการแนะนำการใช้เครื่องยนต์ที่ถูกวิธี
สำหรับในปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยฯ
ได้ออกดำเนินการตามโครงการมากกว่า 58 โครงการ และปี 2560 จำนวน 63 โครงการ
โดยได้มอบหมายให้แต่ละคณะ/วิทยาลัย/สถาบัน โดยคณาจารย์ นักศึกษา
ออกบริการด้านวิชาการและวิชาชีพให้กับประชาชนในพื้นที่นราธิวาส ทั้ง 13 คณะ
ด้าน ผศ.ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
กล่าวว่า การบริการด้านวิชาการและวิชาชีพของ ม.นร นั้นต้องดูทิศทางของนโยบาย 4.0
ประเทศด้วย
คือทำอย่างไรให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้นเช่นการสร้างมุลค่าและประโยชนให้กับชุมชนในท้องถิ่น
และโดยศักยภาพของอาจารย์ในมหาลัยฯจะต้องเร่งเข้าสู่ชุมชนให้มากขึ้นโดยใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่เข้าไปพัฒนา
โดยใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่เข้าไปเสริม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯมีความพร้อมในทุกด้าน
“ตัวชี้วัดที่สำคัญ
มองจากยอดรวมของนักศึกษาที่เข้ามาสมัครเรียนที่มหาลัยฯมีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี
และขณะเดียวกันเราเข้าชุมชนก็ได้รับการตอบรับ โดยเฉพาะโครงการต่างๆเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว
โดยเฉพาะโครงการวิจัยนวตกรรมก็ได้รับงบประมาณค่อนข้างเยอะ
ซึ่งแสดงว่าทั้งผู้ให้ทุน ผู้รับทุน
ได้ไปสัมผัสที่จะเข้าไปช่วยตามความต้องการของชาวบ้านในชุมชน”
ขอบคุณข่าว.แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น