โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สาธารณสุขนราธิวาส จัดการแข่งขัน EMS Rally 2017 เพื่อพัฒนาความ ฟื้นฟูความรู้ การปฐมพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ (ชมคลิป)

   สาธารณสุขนราธิวาส จัดการแข่งขัน EMS  Rally 2017 เพื่อพัฒนาความ ฟื้นฟูความรู้ การปฐมพยาบาล ณ  จุดเกิดเหตุ (ชมคลิป)

      นายธรรมรงค์  คงวัดใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานพิธีมอบรางวัลกิจกรรมการแข่งขัน EMS Rally 2017 การแข่งขันทักษะด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ณ อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว- เขาตันหยง ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส  สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้จัดการแข่งขัน EMS  Rally 2017 เพื่อพัฒนาความ ฟื้นฟูความรู้ การปฐมพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ


     ซึ่งมีนโยบายในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ครอบคลุม ทุกพื้นที่ทั่วประเทศตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2548 และยังได้ขยายผลการจัดระบบบริการการการแพทย์ฉุกเฉินให้ลงไปถึงระดับตำบล โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และจากทุกภาคีเครือข่ายในพื้นที่  โดยเฉพาะ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และโรงพยาบาล ที่จะมีส่วนช่วยให้ประชาชนทุกคน มีสีทธิ์ได้รับบริการอย่างทั่วถึง ให้การช่วยเหลือที่รวดเร็ว ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน

     สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการโดยได้รับการสนับสนุน ทีมวิทยากรในการให้ความรู้ทั้งในด้านวิชาการ และการฝึกปฎิบัติ จากโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดนราธิวาส ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย นายกเทศมนตรีตำบลกะลุวอเหนือ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ หัวหน้ามูลนิธิภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่จากงานอุบัติเหตุฉุกเฉินทุกโรงพยาบาล จำนวน 500 ท่าน                    

   การให้การรักษาพยาบาลขั้นต้นที่ถูกต้อง รวดเร็วแก่ผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการลดอัตราการเสียชีวิตและพิการจากการบาดเจ็บจากสาเหตุต่างๆ ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการจัดกิจกรรม EMS Rally  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อนำไปสู่การขยายเครือข่ายกู้ชีพกู้ภัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ อำเภอ ตำบล และสามารถเข้าถึงบริการได้ทุกหมู่บ้าน

   ผู้แทน นพ. สสจ. นายแพทย์สุรกิจ วาหะ กล่าวว่า จากผลคะแนนของทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินในแต่ละฐาน สามารถบอกถึงคุณภาพการจัดการโดยรวมของชุดปฏิบัติการในแต่ละสถานการณ์สะท้อนให้เห็นภาพทิศทางการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน จะต้องเร่งดำเนินการในการจัดการพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับอำเภอ




       ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของอำเภอทั้งด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการขยายชุดปฏิบัติการฉุกเฉินและด้านการยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติการให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ซึ่งบุคคลเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ทั้งในภาวะปกติและสาธารณภัย

ขอบคุณ    ภาพ/ข่าว ซาการียา ดอเลาะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น