โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ประมวลภาพ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ ต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ปู่ย่าจ๋าเล่านิทานตาชีให้ฟังหน่อย มหกรรมดอกไม้บานที่ชายแดนใต้ครั้งที่ 2

 

 ประมวลภาพ   วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ ต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ปู่ย่าจ๋าเล่านิทานตาชีให้ฟังหน่อย มหกรรมดอกไม้บานที่ชายแดนใต้ครั้งที่ 2


เมื่อวันจันทร์ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ 2568 เวลา 08:00 ถึง17.00 นาฬิกา ณ ศูนย์สัมมาชีพบ้านต้นกล้า ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ ต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ปู่ย่าจ๋าเล่านิทานตาชีให้ฟังหน่อย มหกรรมดอกไม้บานที่ชายแดนใต้ครั้งที่ 2 
















































โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้เด็กเยาวชนและประชาชนในชุมชนและชุมชนข้างเคียง ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน  ศึกษาความเป็นมาของชุมชนในด้านต่างๆ ทั้งสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ, การเมือง รวมไปถึงเรื่องสุขภาพ โดยเป็นการเรียนรู้ผสมผสานจากข้อเท็จจริงและความรู้สึกที่สืบทอดผ่านเรื่องเล่า ตำนาน สถานที่ บันทึกเหตุการณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี และแบบแผนการปฏิบัติต่างๆ ของชุมชน ช่วยสร้างความเข้าใจชุมชนได้ดีขึ้น ลดอคติที่มีต่อกัน และเลือกวิธีการทำงานกับชุมชนให้เหมาะสม 

 👫การเรียนรู้ถึงจุดเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐาน ผู้ก่อตั้ง การขยายตัวของชุมชนและเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีต 

🧑‍🤝‍🧑การเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม และวิถีชีวิตของคนในชุมชน 

 👭การเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การทำมาหากิน และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของชุมชน 

 🧑‍🤝‍🧑การเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการปกครอง การบริหารจัดการชุมชน และความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก 

 👯การเรียนรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การรักษาพยาบาล และการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน 

  🏡การเรียนรูิประวัติศาสตร์ชุมชนจะช่วยสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นมาของตนเอง และส่งเสริมความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ส่งเสริมให้เข้าใจบทบาทของชุมชนที่มีต่อสังคมโดยรวมและความสัมพันธ์กับชุมชนอื่น ๆ ทำให้ได้รู้ว่าชุมชนมีอายุเท่าไร มีใครหรือเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้น และส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง  สามาถช่วยช่วยลดอคติภาพลักษณ์แบบเหมารวมที่อาจมีต่อชุมชน 

 🤱การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน จะช่วยให้เข้าใจบริบทของชุมชนมากขึ้นสามารถนำไปปรับใช้ เลือกวิธีการทำงานกับชุมชนได้อย่างสอดคล้องกับประสบการณ์ ความคาดหวัง และศักยภาพของชุมชน 

 🧑‍🎨สร้างความภาคภูมิใจในท้องถิ่น

ทำให้เกิดความรู้สึกรักและหวงแหนบ้านเกิดและสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชุมชน 

🏵️เป็นรากฐานในการพัฒนาชุมชน

เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนพัฒนาชุมชนในอนาคต 

 จากการที่ต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้ได้ร่วมกับนักศึกษา วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พวกเราไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง ยังมีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์สันติวิธีกอ.รมน หน่วยเฉพาะกิจยะลา กอ.รมนจังหวัดยะลา พัฒนาชุมชน วัฒนธรรม สกร.ผู้ใหญ่

ดีหลายๆท่าน ที่คอยให้คำแนะนำ ร่วมกันบ่มเพาะเมล็ดกล้าพันธุ์ให้งอกงาม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น