โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

"ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล" สมาชิกวุฒิสภาและนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย รับฟังปัญหาของชาวบ้าน หลังราคาทุเรียนหน้าสวน ไม่ถึง 100 (มีคลิป)

   "ไชยยงค์  มณีรุ่งสกุล" สมาชิกวุฒิสภาและนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย   รับฟังปัญหาของชาวบ้าน หลังราคาทุเรียนหน้าสวน ไม่ถึง 100  (มีคลิป)

                                                           



คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทยพร้อมด้วย ศูนย์พัฒนาอาชีพกลุ่มร่วมด้วยช่วยกันชายแดนใต้ ซึ่งเป็นองค์กรจิตอาสา ที่มีสื่อมวลชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนและรับเรื่องร้องทุกข์ ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าพบ  นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภา และนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย สะท้อนปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะราคาทุเรียนหน้าสวน 80 - 55 บาท 

       นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภา และนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย กล่าวว่า วาระงานเร่งด่วนที่จะทำ 1.เรื่องปากท้องของประชาชน สิ่งที่พบปัญหาของคนที่เศรษฐกิจ ฝืดเคืยง เงินในกระเป๋าไม่มี ร้านค้าปิดเยอะมาก ตลาดบางตลาด เมืองบางเมืองเป็นเมืองร้าง นี้คือผลของเศรษฐกิจ ที่จะต้องบอกให้รัฐบาลทราบในฐานะที่เรามาจากภูมิภาค 2.อยากจัดเวทีสว.พบประชาชนในฐานนะที่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่มีพื้นที่ เรียกว่าเป็นสว.ของประเทศ สามารถที่จะหารือ ร่วมมือกับ สว.ในแต่ละจังหวัดอย่างจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา  แล้วเปิดเวทีรับฟังปัญหาของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้สะท้อนปัญหาให้คนที่เป็นสว.ได้ทราบข้อเท็จจริงแล้วนำปัญหาความเดือดร้อนไปแก้ไข 

    สว.มีหน้าที่ในการนำความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ไปเสนอให้รัฐบาลทราบไม่ต่างจากสส. เพราะสว. เป็นสภาบนที่ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินสามารถที่จะนำความเดือดร้อนของประชาชน ทุกสาขาอาชีพไป อภิปรายเพื่อให้รัฐบาลแก้ปัญหาได้ อย่างวันนี้ จังหวัดชายแดนภาคใต้เรา เราอยู่ได้เพราะยางพารา ผลไม้ ยางพาราเคยขึ้นสูงถึง 100 กว่าบาทวันนี้ก็หล่นเรือยๆเหลือ 50 กว่าบาทแล้ว นี้ก็เป็นความชอกช้ำของพี่น้องเกษตรกร ที่จะต้องหาทางไปคุย อภิปราย หรือเสนอแนะให้รัฐบาลแก้ปัญหา 

    แล้ววันนี้ทุกเรียนของยะลา ก็ถือเป็นผลผลิตหนึ่งที่เขาบอกว่าสามารถ ที่จะทำเงินให้จังหวัดยะลาได้ หมื่นล้านวันนี้ปัญหา ทราบจากการรายงานข่าวของสื่อ พบว่า จีนตีกลับทุเรียน โดยอ้างว่ามีหนอน ซึ่งปัญหานี้ ปีที่แล้วก็เกิดไม่ใช่เกิดเฉพาะปีนี้  จะต้องหาข้อเท็จจริงในขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรจังหวัด จะต้องลงไปควบคุมดูแล อย่าให้เรื่องทุเรียนมีหนอนเป็นปัญหาหรือเงือนไขในการกดราคา รับซื้อทุเรียนจากชาวสวนทุเรียน

    ทราบว่าวันนี้ มีการอ้างทุเรียนเป็นหนอนมากดราคาหน้าสวน เหลือกก.ละไม่ถึง 100 บาทแล้ว ตรงนี้ต้องไปดูข้อเท็จจริงแล้วไปดูตลาด หรือที่เรียกว่าล้ง ดำเนินการซื้ออย่างไรราคาตรงนี้เป็นอย่างไร ราคาหน้าสวนเป็นอย่างไร ยังเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้บริหารบ้านเมือง อย่างผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรกร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีทางแก้ปัญหาได้ขอให้ร่วมมือกัน  

     นอกจากนี้ นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภา ยังได้กล่าวถึง การทำหน้าที่ ในการผลักดัน ยกเลิกคำสั่งคชส.ได้มีคำสั่งให้ ศอ.บต.ขึ้นกับ กอ.รมน.4  ตอนนี้เมื่อไม่มีคำสั่ง คสช.แล้ว ศอ.บต. สามารถกลับมาเหมือนเดิม และจัดตั้งสภาที่ปรึกษาซึ่งเป็นความหวังของคนในสามจังหวัด เพราะอดีตสมัยที่ท่านทวี (พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม) เขาอยู่และทำงานได้ เขามีสภาที่ปรึกษาซึ่งมาจากประชาชน 60 คน มีสภาที่ปรึกษาที่มาจากทุกภาคส่วน แล้วสภาที่ปรึกษาก็จะเป็นหน่วยงานที่สามารถนำเสนอปัญหา ต่างๆของคนในพื้นที่ได้  สองเป็นผู้กำหนดทิศทางในการพัฒนาด้วย รวมถึงสามารถ ที่จะไปมีส่วนแสดงความคิดเห็นในกกต.และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

    วันนี้ถือเป็นความโชคดีของพี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สามารถทำให้ ศอ.บต.หลุดพ้นจากทหาร และสามารถที่จะกลับเข้ามาเป็นหน่วยงานที่ เชื่อว่าสร้างความพึ่งพอใจให้กับคนในพื้นที่ได้อีกครั้ง ที่นี้ก็ขึ้นอยู่ที่เลขาธิการ ศอ.บต. ท่านจะนำพาศอ.บต.ไปในทิศทางไหน 

      ประโนที่สองที่ได้ผลักดัน ตนเห็นว่าการที่มีองค์กรต่างประเทศ อย่าง องค์กรกาชาดสากล หรือ ICRC อยู่ในพื้นที่ ในความรู้สึกมองว่าคือการที่มีต่างประเทศเข้ามาแทรกแซง กิจการภายในของเรา ในแสดงความคิดเห็นผลักดันให้เขาออกจากพื้นที่ วันนี้ถือว่า อาจจะมีส่วนประสบผลสำเร็จ หรือเพราะเขาอิ่มตัวแล้ว เขาก็ประเทศปิดสำนักงาน ที่เขาย้ายจากปัตตานี ไปอยู่หาดใหญ่ก่อนหน้านี้ ตอนนี้ประกาศปิดสำนักงานแล้ว คิดว่าการที่องค์กรต่างชาติ องค์กรนี้ไปจากสามจังหวัดก็คงทำให้การแก้ปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ถูกองค์กรต่างชาติแทรกแซง 

       ขณะที่ นายอับดุลฮาดี เจ๊ะยอ รองประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย และผู้สื่อข่าวข่าวสดจังหวัดยะลา กล่าวว่า ปัจจุบันเรามีเครือข่ายจิตอาสา ศูนย์พัฒนาอาชีพ กลุ่มร่วมด้วยช่วยกันชายแดนภาคใต้ ที่รับเรื่องร้องทุกข์จากชาวบ้าน มาตลอดอย่างต่อเนื่อง เป็นที่พึ่งให้ชาวบ้านทุกมิติ ล่าสุดปัญหาที่ได้รับร้องเรียนมากที่สุด ไม่พ้นเรื่องราคาผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านตกต่ำ ทุเรียนราคาหน้าสวน มีการรับซื้อแค่ 80 – 55 บาท เท่านั้น พวกเราจึงรวบรวมปัญหาทั้งหมด มาสะท้อนให้สว.ได้พิจารณาหาทางออกหรือเสนอ ให้รัฐบาลหาทางแก้ปัญหาโดยด่วน 

      นอกจากนี้ นางสาวรอกีเยาะ อาบู ประธานศูนย์พัฒนาอาชีพ กลุ่มร่วมด้วยช่วยกันชายแดนใต้ กล่าวว่า เบื้องต้นอะไรที่เราช่วยชาวบ้านได้เราก็จะทำ นอกจากรับเรื่องร้องทุกข์ ตอนนี้เรายังได้รับซื้อทุเรียนของชาวสวนในราคาที่ ชาวสวนพอใจ เช่น 100 - 120 บาท เพื่อนำมาพัฒนาแปรรูป ผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านให้เกิดมูลค่ามากขึ้น 

    ทั้งนี้ พวกเราก็ต้องขอบคุณ นายธีระชัย รัตนกมลพร ผู้ก่อตั้งบริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นายฐกร รัตนกมลพร บรรณาธิการบริหารเนชั่นทีวี และสำนักข่าวอิศรา ข่าวสดยะลาและผู้สื่อข่าวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย ที่ร่วมสนับสนุนกิจกรรมเพื่อช่วยชาวบ้านมาอย่างต่อเนื่อง

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

กลุ่มธรรมะสบายดี มูลนิธิ 5000 ปี มีความยินดีขอเชิญลูกศิษย์และผู้สนใจทุกท่าน เข้าร่วมงานประเพณีไหว้ครูประจำปี 2567 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00- 11.00น. ณ หอประชุม ชั้น 4 โรงเรียนทวีธาภิเศก (มัธยม) กรุงเทพฯ(มีคลิป)

 กลุ่มธรรมะสบายดี มูลนิธิ 5000 ปี มีความยินดีขอเชิญลูกศิษย์และผู้สนใจทุกท่าน เข้าร่วมงานประเพณีไหว้ครูประจำปี 2567 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00- 11.00น. ณ หอประชุม ชั้น 4 โรงเรียนทวีธาภิเศก (มัธยม) กรุงเทพฯ(มีคลิป)



                                                                         

การจัดงานไหว้ครูเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของไทยที่มีมาอย่างยาวนาน เพื่อให้ลูกศิษย์ได้แสดงออกถึงความเคารพและความกตัญญูต่อคุณครูผู้มีพระคุณ และฟังบรรยายพิเศษจาก อาจารย์จตุพล ชมภูนิช



ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อ.มาย ดารา โทร 088-415-1454

รมว.ยุตธรรม แถลง ทิศทางนโยบาย Thailand Zero Dropout การศึกษาสร้างชีวิตใหม่ คืนพลเมืองคุณภาพสู่สังคม - ศอ.บต.ชี้ เป็นปัญหาใหญ่ต้องร่วมมือกัน (มีคลิป)

 รมว.ยุตธรรม แถลง ทิศทางนโยบาย  Thailand Zero Dropout การศึกษาสร้างชีวิตใหม่ คืนพลเมืองคุณภาพสู่สังคม - ศอ.บต.ชี้ เป็นปัญหาใหญ่ต้องร่วมมือกัน  (มีคลิป)  


                                               


                              พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้นำคณะ นายแพทย์สมหมาย บุญเกลี้ยง ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต.  เจ้าหน้าที่ ข้าราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะผู้บริหารพรรคประชาชาติ แถลงทิศทางนโยบาย  Thailand Zero Dropout ด้วย “การศึกษาสร้างชีวิตใหม่ คืนพลเมืองคุณภาพสู่สังคม” ของกระทรวงยุติธรรม ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง กระทรวงยุติธรรม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และภาคีเครือข่าย  ในการนำเสนอมาตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชน นอกระบบการศึกษา จำนวน 1020,000 คน ให้กลายเป็นศูนย์    

     พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ต้องเรียนว่า กระทรวงยุตธรรม โดยเฉพาะ 3 กรมเขาเรียกว่า กรมพัฒนาพฤตินิสัย จะต้องพัฒนาคนเป็นรายคน ถ้าเป็นสถาบันการศึกษา ถือว่าเป็นสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรมราชทัณฑ์ จะต้องจัดการศึกษาที่ต่ำกว่าขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,390,014 คน โรงเรียนไหนมีโรงเรียนใหญ่  3 แสนคนน่าจะไม่มี พอคุมประพฤติ ซึ่งมีหน้าทีจะต้องจัดการศึกษา เช่นเดียวกัน มีถึง  4040,000 คน  เป็นโรงเรียนที่มีประมาณ 5 แสนคน และกรมพินิจและคุมครองเด็กอาจจะมีอีกหลักหมื่น 

     ที่นี้ อยากให้เห็นว่าเป็น วิกฤติ อันตรายหรือความรุ่นแรงที่สุดที่เรามองไม่เห็น ถ้าเราแก้ปัญหาการศึกษา เรื่อนจำผู้ต้องราชทัณฑ์ ประเทศไทยมีเจตนา ไม่ให้เรียนต่ำกว่า ชั้นมัธยมปลาย เราไปดูคนไม่ได้การศึกษา 28,356 คน ระดับประถม 117,415 คน ม.ต้น 85,143 คน ม.ปลาย 40,074 คน ปวช.10,939 คน ปวส. 8,939 คน ป.ตรี 7,565 คน สูงกว่าป.ตรี 1,018 คน   สมมุติ มีคนถามว่ารมว.ทวีจะแก้ปัญหานักโทษล้นคุกได้อย่างไร  ง่ายนิดเดียวให้กระทรวงศึกษา ให้หน่วยราชการ ไม่ทำให้ dropout ออกมา  

      วาระที่มาในวันนี้ ก็คือ ทำยังไงจะให้กระทรวงยุตธรรม ไม่ Zero Dropout ผมยังไม่พูดถึงกรมประพฤติ กรมพินิจและกรมคุมครองเด็กถ้าพูดแล้วจะตกใจ วันนี้เอาแค่ ตัวเลขหลังกำแพงก่อน   ความเสมอภาคไม่ใช่แค่เรียนหนังสื่อ ความเสทอภาคต้องได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพสอดคล้องกับบริบทและเป็นการศึกษาที่พัฒนาสติปัญญาคนไม่ใช่ทำลายสติปัญญาคน  

                                                                        


คิดว่าวันนี้เป็นสิ่งท้าท้าย และท้าท้ายที่สุดสามจังหวัด ผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งหมดในภาคใต้ การศึกษาแค่ต่ำขั้นพื้นที่ 55 เปอร์เซ็นต์ นี้คือวิกฤติของพื้นที่  

       นายแพทย์สมหมาย บุญเกลี้ยง ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องมีการบูรณาการในการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพที่ดีของประชาชน ภาพรวมอาจต้องมีการบูรณาการควบคู่กันกับโครงการอื่นๆด้วยโดยเฉพาะการปก้ปัญหาความยากจน เพราะเชื่อว่า หากประชาชนมีคุณภาพที่ดี มีงานทำ ครอบครัวจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกๆด้าน ปัญหาเด็กตกหล่นจากระบบการศึกษาต้องหายไปอย่างแน่นอน สำคัญทุกคนต้องร่วมกัน

รมว.ยุติธรรม รวมพลคนหลังกำแพงภาคใต้ เพื่อสร้างพื้นที่คืนสังคม (มีคลิป)

 รมว.ยุติธรรม รวมพลคนหลังกำแพงภาคใต้ เพื่อสร้างพื้นที่คืนสังคม (มีคลิป)


                                                                                

วันที่ 24 กรกฎาคม 2567  พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดงานมหกรรมรวมพลคนหลังกำแพง ภายใต้แนวคิด ราชทัณฑ์แก้ไข คนไทยให้โอกาส พร้อมทั้งร่วมเวทีเสวนาพิเศษ ในประเด็นความท้าทายในการสร้างการยอมรับผู้พ้นโทษ ณ อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK Park ยะลา) ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา ถ.สุขยางค์ ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา 

   สำหรับ งานมหกรรมรวมพลคนหลังกำแพง เป็นการสร้างพื้นที่ในการประสานความร่วมมือ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการให้โอกาสกับผู้ก้าวพลาดที่ได้ผ่านกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัย การปรับทัศนคติและการฝึกวิชาชีพ จนสามารถออกมาใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวและสังคมด้วยการประกอบอาชีพสุจริต สามารถเป็นต้นแบบให้กับผู้ต้องขัง ซึ่งในปัจจุบันมีผู้พ้นโทษที่ออกไปประกอบอาชีพและประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีพื้นที่ในการบอกเล่าให้กับสังคม การจัดกิจกรรมครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและความหวังให้กลุ่มคนหลังกำแพง ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นกับสังคมและกลุ่มผู้พ้นโทษ ว่าโอกาสที่สังคมหยิบยื่น และโอกาสที่กลุ่มคนเคยก้าวพลาดได้รับจะเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างคนดีมีคุณค่าโดยไม่หวนกลับมากระทำผิดซ้ำ 


     โดยมีเลขาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ ผู้ช่วยเลขาธิการศอ.บต. ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ รองอธิบดีกรมควบคุมความประพฤติ และเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม ประชาชน กลุ่มผู้ประกอบการเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

     พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  ได้กล่าวในโอกาสนี้ด้วยว่า ทุกคนไม่มีใคร ไม่เคยก้าวพลาด อยากให้พวกเราลองกลับมาคิดว่า การจัดงาน (ราชทัณฑ์แก้ไข คนไทยให้โอกาส ) คำว่า คนไทยให้โอกาส เป็นคำที่สูงส่งมาก  "ผมคิดว่า การให้โอกาสคนหลังกำแพง คือทางรอดของประเทศไทย" 

  วันนี้ราชทัณฑ์เปลี่ยนไปราชทัณฑ์เป็นสถานที่ๆสร้าวคน เพื่อให้คน มาสร้างครอบครัว สร้างประเทศชาติ ราชทัณฑ์ ไม่ใช่ดินแดนต้องห้ามไม่ใช่ดินแดนต้องคำสาปอีกแล้ว 

    ปัจจุบันจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำอยู่ในประเทศ3แสนกว่าคน ผู้ที่อยู่ในกรมควบคุมความประพฤติเกือบ4 แสนคน บุคคลเหล่านี้เกือบล้านคนต้องการเพียงแค่โอกาสคำว่าโอกาสคือสิ่งที่คนอื่นยื่นให้ เพราะคนที่ต้องการโอกาสมากที่สุดคือผู้ที่ก้าวพลาด โอกาสหนึ่งที่เค้าต้องการคืออยากให้มองเค้าเป็นมนุษย์คนนึงและขอแต่พื้นที่ในสังคมอยากให้เรากลับมามองถึงการให้โอกาสบุคคลที่ก้าวพลาดทั้งที่อยู่ในเรือนจำและพ้นโทษออกมาแล้ว การให้โอกาสคือการให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คนเกือบล้าน สามารถเป็นแรงงานสำคัญในการขับเคลื่อนงานที่เหมาะกับความถนัดเค้าได้ นอกจากนี้โอกาสที่เป็นสิทธิมนุษยชนคือโอกาสด้านการศึกษา การเปลี่ยนชีวิตและโอกาสของคน สิ่งสำคัญคือการศึกษา ถ้าคนเราขาดโอกาสทางการศึกษา ย่อมเสี่ยงต่อการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ไม่ดี

อย่างน้อย คนที่ในเรือนจำ ต้องได้รับการศึกษาตามอัตลักษณ์ วัฒนธรรมที่เหมาะสมในพื้นของตนรวมทั้งหลักคำสอนของศาสนา ทุกคนควรได้รับโอกาสที่เท่าเทียมในฐานะที่เป็นบุคลากรของประเทศไทย

สรรเพชญ” กระทุ้งรัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหา “อควาเรียมหอยสังข์” และปัญหาประมง ที่ สส. นำเสนอ ซัด 1 ปีไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา เสมือนรัฐบาลไม่ใส่ใจกับปัญหาของประชาชน

 สรรเพชญ” กระทุ้งรัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหา “อควาเรียมหอยสังข์” และปัญหาประมง ที่ สส. นำเสนอ ซัด 1 ปีไม่มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา เสมือนรัฐบาลไม่ใส่ใจกับปัญหาของประชาชน

                                                                      


       25 กรกฎาคม 2567 นายสรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้หารือต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งสารไปยังนายกรัฐมนตรีให้เร่งติดตาม แก้ไขปัญหาที่ตนได้เคยอภิปรายไว้ในสภาผู้แทนราษฎร หลังผ่านมากว่า 1 ปีเต็มแล้วไม่มีความคืบหน้า ใน 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องโครงการก่อสร้างศูนย์ศึกษาเพาะพันธุ์สัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา หรืออควาเรียมหอยสังข์ ซึ่งเป็นปฏิมากรรมที่แสดงถึงความฉ้อฉลทุจริตการก่อสร้างโครงการของรัฐ ที่มีความล่าช้ากว่า 15 ปี และกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 16 โดยใช้งบประมาณกว่า 1,400 ล้านบาท และโครงการยังไม่แล้วเสร็จ และอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องปัญหาของชาวประมงที่กำลังรอคอยคำตอบจากรัฐบาล โดยเฉพาะในเรื่องของการรับซื้อเรือคืนจากชาวประมง ซึ่งใช้งบประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท 


เนื่องจากชาวประมงได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐทำให้ชาวประมงไม่สามารถประกอบอาชีพและต้องประสบปัญหาทางการเงินในครอบครัว กู้เงินนอกระบบ ขายที่ดินทรัพย์สินที่มีเพื่อส่งเสียให้บุตรหลานได้เรียนหนังสือต่อ อีกทั้งเรือที่เป็นอุปกรณ์ทำมาหากินก็เอาออกทะเลไปประกอบอาชีพไม่ได้ ซ้ำร้ายปัจจุบันก็กำลังจะประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่จะทำลายระบบนิเวศและสัตว์พื้นถิ่นซ้ำเติมปัญหาของชาวประมงอีก นอกจากนี้นายสรรเพชญได้ขอให้นายกรัฐมนตรีได้กำชับไปยังรองนายกรัฐมนตรีที่เป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล เพื่อฟื้นฟูการประมงและอุตสาหกรรมการประมงให้เร่งประชุมคณะกรรมการเพื่อหาทางออกและมีมติในการช่วยเหลือชาวประมงโดยเร่งด่วนที่สุด



         นายสรรเพชญ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้ง 2 เรื่องนี้ตนได้เคยหารือในสภาผู้แทนราษฎรไปแล้วเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2567 ซึ่งบัดนี้ผ่านมา 1 ปีเต็มที่ตนได้เคยหารือตนได้ใช้ทุกกลไกของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ทั้งการหารือ การตั้งกระทู้ถาม การเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลในกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ การยื่นหนังสือเพื่อติดตามความคืบหน้าถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


 ปัจจุบันผ่านมา 1 ปีแล้วยังไม่มีความคืบหน้า ตนเกรงว่าหากเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้จะส่งผลเสียต่อฝ่ายนิติบัญญัติเพราะหากผู้แทนราษฎรที่เป็นตัวแทนของประชาชนไม่สามารถทำอะไรได้แล้วประชาชนจะพึ่งใครได้ การที่รัฐบาลละเลยปัญหาที่เป็นเสียงสะท้อนจากประชาชนผ่านผู้แทนราษฎรและหารือในสภานั้นอาจแสดงถึงความไม่จริงใจ ไม่ใส่ใจของรัฐบาลในการทำงาน เสมือนเป็นการละเลยเสียงสะท้อนจากประชาชน อีกทั้งยังมีอีกหลาย ๆ ปัญหาที่รัฐบาลทำตัวดินพอกหางหมูไม่เร่งแก้ไขให้แล้วเสร็จ ถนัดทำแต่เรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง สุดท้ายแล้วประชาชนก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นายสรรเพชญกล่าว

ตากใบอ่วมพายุกระหน่ำบ้านพัง 100 หลังคาเรือนชาวบ้านกว่า 3,000 คนเดือดร้อนหนัก นายอำเภอ นายก อบต.ออกสำรวจให้การช่วยเหลือแล้ว(มีคลิป)


ตากใบอ่วมพายุกระหน่ำบ้านพัง 100 หลังคาเรือนชาวบ้านกว่า 3,000 คนเดือดร้อนหนัก นายอำเภอ นายก อบต.ออกสำรวจให้การช่วยเหลือแล้ว(มีคลิป)


 ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน Tel.0824154474 

                                                                           






 รายงานข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกรณีพายุและมีลมกรรโชกแรงที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 21.30 น.ของคืนวันที่ 23 ก.ค.67 ที่ผ่านมา ในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส แจ้งว่า จากการสำรวจพื้นที่ประสบภัยที่ถือว่าประชาชนได้รับผลกระทบอย่างหนัก คือในพื้นที่ 2 หมู่บ้านของตำบลไพรวัน คือ บ้านกูบู ม.6 และบ้านบึงฉลาม ม.10 มีจำนวนรวม 100 หลังคาเรือน มีประชาชนอาศัยอยู่ จำนวนกว่า 3,896 คน




 ส่วนใหญ่ทำให้หลังคาบ้านปลิวว่อนไปกับกระแสลม โดยแยกความเสียหายออกเป็น 2 กรณี คือ 1. บ้านที่หลังคาถูกลมพัดหายไปบางส่วน และ 2. บ้านที่หลังคาถูกลมพัดหายไปกว่า 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และบ้านที่ได้รับผลกระทบหนักสุด คือ บ้านของนายยา มามะ เลขที่ 25 ม.10 ที่ลมกรรโชกแรงพัดกระเบื้องหลังคาปลิงว่อนไปกับกระแสลมมากถึง 150 แผ่น 




 ล่าสุดว่าที่ร้อยตรีจิรัสย์ ศิริวัลลภ นายอำเภอตากใบ และนายมูฮำมัด รอหิง กำนัน ต.ไพรวัน รวมทั้งนายบัณฑิต บินกาเดร์ นายก อบต.ไพรวัน ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย ในการรวบรวมข้อมูลที่จะนำวัสดุอุปกรณ์ เช่น ไม้แปรรูป กระเบื้องมุ่งหลังคาและสังกะสี ออกแจกจ่ายให้กับเจ้าของบ้านแต่ละหลัง เพื่อนำมาทำการซ่อมแซม โดยในช่วงบ่าย ว่าที่ร้อยตรีจิรัสย์ นายอำเภอตากใบ จะระดมกำลังสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน อ.ตากใบ และเจ้าหน้าที่ทหาร แยกย้ายออกให้การซ่อมแซมบ้านเรือนของประชาชนทั้ง 2 หมู่บ้าน ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เกรงในช่วงเย็นอาจจะมีฝนตกลงมา สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินภายในบ้านของประชาชน






















 ด้าน ว่าที่ร้อยตรีจิรัสย์ นายอำเภอตากใบ กล่าวว่า เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ประมาณ 3 ทุ่มครึ่งกลางดึกที่ผ่านมา เกิดลมพายุพัดแรงและมีฝนในพื้นที่ ต.ไพรวัน บริเวณริมชายหาด ม.6 บ้านกูบู ม.10 บ้านบึงฉลาม ทำให้บ้านของชาวบ้านที่อยู่ริมทะเลเสียหายไปประมาณ 100 หลังคาเรือน ซึ่งความเสียหายเป็นเรื่องของหลังคาถูกลมพัด เดี๋ยวจะมีการดึง อส.ชุดช่าง มาช่วยเพราะว่าถ้าซ่อมแซมช้าถ้ามีลมพัดแรงทรัพย์สินภายในบ้านของชาวบ้านจะได้รับความเสียหาย

////////////////////////////////// 24 กรกฎาคม 2567