โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567

นราธิวาส-2 นายกฯ เยือนชายแดนไทย-มาเลเซียผลักดันการก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่นน้ำโก-ลกยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองฝั่ง ท่ามกลางการคุมเข้มจัดกำลังทหาร-ตำรวจกว่า 1,000 นาย(มีคลิป)


นราธิวาส-2 นายกฯ เยือนชายแดนไทย-มาเลเซียผลักดันการก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่นน้ำโก-ลกยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองฝั่ง ท่ามกลางการคุมเข้มจัดกำลังทหาร-ตำรวจกว่า 1,000 นาย(มีคลิป)



  ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน Tel.0824154474 





เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 3 สิงหาคม 2567 ที่ด่านศุลกากรสุไหงโกลก อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับนายอันวาร์ อิบราฮิม

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ที่เดินทางมายังประเทศไทยบริเวณด่านพรมแดนสุไหงโกลก จ.นราธิวาส เพื่อร่วมหารือทวิภาคี ซึ่งจัดขึ้นที่ด่านศุลกากรสุไหงโกลก โดยวันนี้ถือเป็นอีกวันที่เป็นการยืนยันถึงความสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างไทยและมาเลเซีย และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ ร่วมกันในการผลักดันการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย และรัฐในภาคเหนือของมาเลเซีย โดยเฉพาะโครงการ ก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่นน้ำโก-ลก





ซึ่งการเดินทางมาของนาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาสเพื่อพบปะหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย​ในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนใต้​ โดยเดินทางมาถึงท่าอากาศยานจังหวัดนราธิวาสเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พร้อมด้วย​ นายอนุทิน​ ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายมาริษ​ เสงี่ยมพงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเดินทางต่อโดยรถยนต์มายังด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก โดยมี พ.ต.อ.ศุภโชค หยงสตาร์ รอง ผบก.ตม.6 และ พ.ต.อ.พูลศักดิ์ แก้วสีขาว ผกก.ตม.จว.นราธิวาส เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ 

 




เมื่อเดินทางมาถึงด่านศุลกากร นายกรัฐมนตรี ได้รอต้อนรับ​ดาโตะ เซอรี อันวาร์ บิน อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียและคณะ ทันทีที่นายกรัฐมนตรีเดินทางมาถึงตทั้งสองได้ทักทายอย่างเป็นกันเอง พร้อมนำคณะเข้าร่วมหารือทวิภาคีกลุ่มเล็ก ที่ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก​  โดยมีผู้เข้าร่วมหารือ​ ประกอบ ด้วย นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่าย​/ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ​/หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้และได้ร่วมรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก

         




โดยการหารือในครั้งนี้เป็นการต่อยอดการลงพื้นที่ร่วมกันที่ด่านอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และด่านเมืองบูกิตกายูฮิตัม ของมาเลเซีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566  และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะผลักดันให้เกิดความสงบสุข และการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย และรัฐในภาคเหนือของมาเลเซีย เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองฝั่ง และผู้นำทั้งสองจะหารือกันเกี่ยวกับแนวทาง ที่จะเพิ่มปริมาณการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และความเชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะโครงการสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก


       

สำหรับสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก  เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างเมืองรันเตาปันยัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย โดยเริ่มเปิดใช้เส้นทางมาประมาณ 50 ปี ปัจจุบันไทยและมาเลเซียมีมติเห็นชอบร่วมกันให้มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกคู่ขนานกับสะพานเดิมภายใต้กรอบความร่วมมือว่าด้วยยุทธศาสตร์ในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย  แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย  หรือ IMT - GT และแผนงานพัฒนาของ ศอ.บต. โดยงบประมาณการก่อสร้างจะแบ่งคนละครึ่ง  คาดการณ์ว่าการก่อสร้างจะเริ่มในเดือนเมษายน 2568 หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงการจะแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2570

 







สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก สถาปัตยกรรมออกแบบเป็นรูปเรือกอและ สร้างทางด้านขวาของสะพานเดิม เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็น 4 ช่องทางจราจร  โดยสะพานตัวเก่าจะใช้เป็นช่องทางขาออกไปมาเลเซีย  ส่วนสะพานที่สร้างใหม่จะเป็นช่องทางขาเข้าไทย เสริมด้วยช่องทางของรถจักรยานยนต์ ประกอบกับด่านนี้ประชาชนทั้งไทยและมาเลเซีย จะมีการเดินเท้าข้ามเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่องทางเดินจะมีหลังคาคลุมเชื่อมถึงด่านพรมแดนทั้ง 2 ฝั่ง จะเห็นได้ว่าสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก จะเกิดประโยชน์ทั้งรถยนต์ จักรยานยนต์ และผู้เดินเท้า มีความปลอดภัย เป็นระเบียบ และลดปัญหาการรอหน้าด่านฝั่งมาเลเซียได้มากยิ่งขึ้น

และช่วงบ่ายทั้งสองฝ่ายได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน​ ที่ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

 






ทั้งเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายความมั่นคง จัดกำลังรวมกว่า 1,000 นาย รักษาความสงบเรียบร้อย โดยเจ้าหน้าที่ทั้งจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ด่านตรวจ ในพื้นที่ต่างๆ พร้อมทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างเข้มงวดทั้งทางบกและทางน้ำ โดยมีการวางกำลังทุกเส้นทางและจุดเข้าออกทุกจุดเพื่อความปลอดภัย มีการตรวจความพร้อมด้านสถานที่ การเตรียมงาน การวางกำลัง การคัดกรองบุคคลก่อนเข้างาน ตลอดจนแผนรักษาความปลอดภัยตลอดเส้นทาง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น