โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567

คณะทูต OIC เข้าเยี่ยมชมแหล่งรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอิสลาม ณ พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน จ.นราธิวาส สถานที่สำคัญของชาวไทยมุสลิมชายแดนใต้ (มีคลิป)

 คณะทูต  OIC เข้าเยี่ยมชมแหล่งรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอิสลาม  ณ  พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน จ.นราธิวาส  สถานที่สำคัญของชาวไทยมุสลิมชายแดนใต้  (มีคลิป)




วันนี้ (13 มิ.ย.67)  ที่พิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน  ม.6 ต.ละหาร อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นำคณะทูตกลุ่มประเทศมุสลิม (The Organization of Islamic Cooperation) หรือที่รู้จักกันดีในนาม OIC จำนวน 12 คน จาก 8 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศบรูไน อียิปต์ อิหร่าน มาเลเซีย มัลดีฟส์ ไนจีเรีย อินโดนีเซีย และประเทศอุซเบกิสถาน

 ซึ่งเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อร่วมกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจและสานสัมพันธ์คณะทูตกลุ่มประเทศมุสลิม ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 11-13 มิถุนายน 2567 ณ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)  โดยว่าที่ร้อยตรี ตระกูล  โทธรรม  ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส  มอบหมายให้นายวีรพัฒน์ บุณฑริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ให้การต้อนรับฯ มีหัวหน้าส่วนราชการ  เยาวชนนักเรียนและประชาชนใน ร่วมต้อนรับ  โดยมีคณะกลองบานอ จากอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส  แสดงต้อนรับฯ  ที่แสดงให้เห็นถึงความสวยงามของศิลปะประจำถิ่นคู่ชายแดนใต้

ในการนี้ คณะทูตได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน ได้เดินชมบูทนิทรรศการผลิตภัณฑ์และสินค้า OTOP นราธิวาส และรับชมวิดิทัศน์และรับฟังบรรยายสรุปความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ฯและการอำนวยความสะดวกแก่คณะชาวมุสลิมที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์ และการขยายท่าอากาศยานนราธิวาส เพื่อรองรับผู้โดยสาร และรับชมอัลกุรอานโบราณ ซึ่งบรรดาคณะทูตต่างให้ความสนใจชมคัมภีร์อัลกุรอานโบราณ ที่เขียนบนหนังแพะ ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 มีอายุประมาณ 1,000 ปี  ที่จัดแสดงภายในห้องพิพิธภัณฑ์ฯ

สำหรับพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน ตั้งอยู่ที่โรงเรียนสมานมิตรวิทยา ชุมชนบ้านศาลาลูกไก่ ม.6 ต.ละหาร อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 โดยมีการรวบรวมประเภทคัมภีร์อัลกุรอานโบราณที่คัดด้วยลายมือที่เป็นมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมอิสลามที่ตกทอดมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยพิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมคัมภีร์อัลกุรอาน จำนวน 79 เล่ม คัมภีร์ดังกล่าวส่วนมากได้มาจากคาบสมุทร แหลมมลายูนูซันตาราและบางประเทศในโลกมุสลิมที่เคยมาติดต่อกับประเทศไทยในอดีต ซึ่งเริ่มชำรุดจากสภาพอากาศที่มีความชื้นและไม่ได้ดูแลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงจำเป็นที่จะต้องส่งไปดำเนินการซ่อมแซมที่หอสมุด สุไลมานียะห์ นครอิสตันบูล ประเทศตูรกีร์




 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ของประเทศไทยในการช่วยดำเนินการซ่อมแซมโดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์เชิงอนุรักษ์ นอกจากประเภทคัมภีร์อัลกุรอานแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมประเภทเอกสารและอุปกรณ์โบราณ ภาพเขียนโบราณ เรือกอและจำลอง และภาพการแสดงการทำเรือกอและ ภาพบุคคลสำคัญในศาสนาอิสลาม รวมถึงหุ่นจำลองของมัสยิด 300 ปี อย่างไรก็ตามทางกรมศิลปากรได้ทำการต่อยอด เข้ามาขึ้นทะเบียนคัมภีร์และเอกสารโบราณเหล่านี้ พร้อมๆกับเข้ามาช่วยทางโรงเรียนในการเก็บรักษา บูรณะ ซ่อมแซม  ตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง นอกจากนี้ทางภาครัฐยังอนุมัติงบประมาณให้กรมศิลป์ ดำเนินการจัดสร้าง "พิพิธภัณฑ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน" ขึ้นใหม่ ณ บริเวณด้านหน้าโรงเรียนสมานมิตรวิทยา งบประมาณทั้งสิ้น 220 ล้านบาท ปัจจุบันตัวอาคารสร้างเสร็จแล้ว เหลือแค่การปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยกำหนดเปิดต้นปี 2567


อย่างไรก็ตาม "พิพิธภัณฑ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน" แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอาน และมรดกวัฒนธรรมอิสลาม และเสริมสร้างจิตสำนึกให้คนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นคุณค่าความสำคัญ เกิดความรู้สึกหวงแหน ภาคภูมิใจในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอิสลามที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน รวมทั้งทำให้เกิดผลดีทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยนักท่องเที่ยวจากทั้งในและทั่วโลก สอดคล้องกับนโยบายชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ สร้างเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนต่อไป


ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ ได้จับมือกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความต้องการ ที่จะให้คณะ oic ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลไทย ในการแก้ปัญหา และ พัฒนา พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินกิจกรรม ของทุกศาสนิก ในพื้นที่ ซึ่งการเดินทางเยือนพื้นที่ชายแดนใต้ ของ คณะ oic อยู่ภายใต้กิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจและสานสัมพันธ์คณะทูตกลุ่มประเทศมุสลิมประจำปี 2567  ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะสะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก  


สำหรับการก่อสร้าง อาคารพิพิธภัณฑ์ มรดกทางวัฒนธรรม ศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน นั้น มูลนิธิพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและมีคัมภีร์อัลกุรอาน ได้ยินยอมให้กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมใช้ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองของมูลนิธิ เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ เนื่องจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เนื่องจากมีคัมภีร์อัลกุรอานโบราณที่คัดด้วยลายมือเก็บรวบรวมและดูแลรักษาไว้ ประมาณ 70  เล่ม


 มาจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ตุรกี สเปน และเยเมน เป็นต้น ซึ่งมีอายุประมาณ 100 - 1,100 ปี  โดยลักษณะการเขียนจะใช้น้ำหมึกสีดำเป็นภาษาอาหรับโบราณ ปกส่วนใหญ่หุ้มด้วยหนังสัตว์ บางหน้าตกแต่งลวดลายโดยใช้สีประดับกรอบด้วยทองคำเปลวเขียนด้วยศิลปะลาย มลายูนูซันตารา จีน และอาหรับ มาผสมผสานกัน จึงได้เล็งเห็นคุณค่าความสำคัญของคัมภีร์เหล่านี้ ซึ่งถือเป็นมรดกอันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมอิสลาม จึงเกิดแนวคิดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานขึ้นมา 

 และเป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่สมควรแก่การส่งเสริม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงอัตลักษณ์วัฒนธรรม และวิธีชีวิต ของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป 

 

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอานรัฐบาลไทยได้มีการสนับสนุนงบประมาณตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมีพื้นที่  7 ไร่ 25 ตารางวา ตั้งอยู่บ้านศาลาลูกไก่ หมู่ 6 ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

        ภาพข่าว กรียา  เต๊ะตานี ผู้สื่อข่าว นราธิวาส รายงาน เว็ปไซต์สื่อออนไลน์ ปลายด้ามขวาน@ชายแดนใต้ สื่อยุคใหม่ ส่องทุกมุมมอง  สู่โลกโซเซียล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น