โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2567

"วันนอร์" ลั่น! ลงพื้นที่ปูทางแก้ปัญหา 2 ประเด็นสำคัญที่ชาวบ้านเดือดร้อน ย้ำกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านต้องเร่งแก้ไข ส่วนการบริหารประเทศ ต้องให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นหลัก ค่า GDP ตกต่ำเพราะคนขาดรายได้ (มีคลิป)

 "วันนอร์" ลั่น! ลงพื้นที่ปูทางแก้ปัญหา 2 ประเด็นสำคัญที่ชาวบ้านเดือดร้อน ย้ำกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านต้องเร่งแก้ไข ส่วนการบริหารประเทศ ต้องให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นหลัก ค่า GDP ตกต่ำเพราะคนขาดรายได้ (มีคลิป)

                                          

 เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 15 มิถุนายน 2567 ที่ห้องประชุมนราทัศน์ โรงแรมอิมพีเรียล อำเภอเมืองนราธิวาส นาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเดินทางลงพื้นที่ จ.นราธิวาส ตั้งแต่เมื่อวานนี้ ( 14 มิถุนายน 2567 ) พร้อมด้วย ส.ส.พรรคประชาชาติ, คณะทำงานประธานสภาผู้แทนราษฎร, คณะผู้บริหารและข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, คณะผู้บริหารจังหวัดนราธิวาส 










โดยวันนี้ได้หยิบยกปัญหาที่ดินทำกินในการกำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งจะมีชาวบ้านซึ่งใช้ที่ดินทำการเกษตรมาเป็นเวลานานได้รับความเดือดร้อน จำนวน 8 ตำบล ใน 4 อำเภอ ประกอบด้วย ต.ซากอ, เชิงคีรี และศรีบรรพต อ.ศรีสาคร, ต.เฉลิม, กาลิซาและมะรือโบตก อ.ระแงะ, ต.ลาโละ อ.รือเสาะ และ ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ ซึ่งปัญหามี 2 กรณีคือ 


1.ปัญหาการไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน ทั้งที่ชุมชนมีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมายาวนาน แต่ไม่เคยเข้าถึงการขอออกเอกสารสิทธิ ปัจจุบันถูกเจ้าหน้าที่ห้ามเข้าทำประโยชน์ ด้วยเหตุผลเป็นพื้นที่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484

2.ปัญหาจากการเตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป ที่ครอบคลุมที่ดินทำกินชาวบ้านจำนวนหนึ่ง โดยชาวบ้านไม่ได้รับทราบหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวเขตฯ ขณะที่กรมอุทยานฯ ระบุว่า ได้จัดรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ตามขั้นตอนกฎหมายแล้วเมื่อเมื่อปี 65 ที่ผ่านมา ก่อนเกิดปัญหาว่าต้นทุเรียนของชาวบ้าน อายุ 1-3 ปี จำนวน 500 ต้น บน พื้นที่ 29 ไร่ ถูกโค่นทิ้ง

     ส่วนอีกประเด็นที่เป็นปัญหา ซึ่งทาง ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ลงพื้นที่ช่วงเย็นวานนี้คือ ปัญหาอัตราค่าไฟฟ้าราคาแพงในพื้นที่ชุมชนชายทะเลหาดนราทัศน์ เนื่องจากได้รับเรื่องร้องเรียนเรื่องราคาค่าไฟฟ้าแพง ซึ่งชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ของกรมเจ้าท่า ชาวบ้านอาศัยอยู่มานานแล้วแต่ไม่สามารถขอทะเบียนบ้านได้ ทำให้ไม่สามารถขอมิเตอร์ไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องไปขอเชื่อมต่อจากชาวบ้านที่มีมิเตอร์ไฟฟ้า ทำให้ต้องเสียค่าไฟราคาแพง เมื่อทราบปัญหาดังกล่าว นาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมผู้เกี่ยวข้อง ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชน โดยได้ข้อสรุปการแก้ไขปัญหาอัตราค่าไฟฟ้าราคาแพง ดังนี้ 

1) กรมเจ้าท่ายินยอมให้ชาวบ้านอยู่อาศัยต่อไปได้ 

2) เทศบาลจะจัดทำทะเบียนบ้านชั่วคราวให้ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถขอมิเตอร์ไฟฟ้าได้

3) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อให้ชาวบ้านจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตราปกติ ซึ่งเบื้องต้นสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้แล้ว 333 ครอบครัว ยังเหลืออีก 207 ครอบครัว ที่ส่งต่อกระทรวงคมนาคมให้ดำเนินการต่อไป

โดย นาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าเราแก้ปัญหาจุดนี้ได้ ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศจะได้รับประโยชน์เช่นกัน ผมคิดว่าการแก้ปัญหาทั้ง 2 ปัญหาผ่านแล้ว 70% เพราะทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว รวมทั้งประชาชน  เพราะการบริหารประเทศนั้น เราต้องแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก


 กฎหมายมีไว้เพื่อสร้างความสะดวกเรียบร้อย กฎหมายอันไหนที่เป็นประโยชน์กับประชาชนต้องรีบแก้ไข เช่น กฎหมายป่าไม้ต้องเร่งแก้ไข โดยขอให้รัฐบาลพิจารณาว่าพื้นที่ใดของถาครัฐที่มีไว้แล้วใช้ไม่หมด ไม่ว่าจะเป็นป่าสงวน ที่ทหารหรือที่สาธารณประโยชน์ให้ขีดวงเฉพาะที่จะใช้ประโยชน์จริงๆ ที่เหลือขอให้จัดสรรให้ประชาชนได้ไปทำมาหากิน เค้าจะได้สร้างเศรษฐกิจ นี่เราบอกว่าเศรษฐกิจเรา GDP ตกต่ำเพราะมีที่ว่างแล้วไม่เกิดรายได้ จะทำอย่างไรให้ที่ว่างเกิดรายได้ ประชาชนต้องมีที่ทำกิน


ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน





ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น