ย้อนรอยอดีต เรื่อง รูปเหมือน..หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ที่สุด ประเทศไทย พุทธมณฑล จ.สงขลา คงจะได้ปิด.. ตำนาน โครงการสร้างมากว่า 10 ปี ใช้เงินไปกว่า 100 ล้าน.แต่ยังสร้างไม่เสร็จ
ชมคลิป เปลวสีเงิน
ย้อนรอยอดีต เรื่อง - รูปเหมือน..หลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทยและในโลก - พุทธมณฑล จ.สงขลา
. คงจะได้ปิด.. ตำนาน โครงการสร้างมากว่า 10 ปี ใช้เงินไปกว่า 100 ลบ.แต่ยังสร้างไม่เสร็จ..
ขอ.. นมัสการ และขอแสดงความนับถือ ขอชื่นชมและขอขอบคุณ ทุกท่าน ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องในการจัดการให้
- การก่อสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวด องค์ใหญ่ ที่สร้างเสร็จไว้ท่อนเดียว แล้วเสมือนทิ้งร้างไว้ที่ข้างๆพุทธมณฑล จ.สงขลา ราว 10 ปี
ตอนนี้ย้ายไปอยู่ที่ วัดทรายขาว อ.เมืองสงขลา ซึ่ง.. กำลังจะแล้วเสร็จ
- การก่อสร้างพุทธมณฑล จ.สงขลา ที่เสมือนถูกทิ้งร้างไว้นับ 10 ปี.. ให้เดินหน้าก่อสร้างต่อไปได้
ขออนุญาตกล่าว ขอบคุณ ย้อนหลังรำลึกถึง คณะทำงานเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน จ.สงขลา
เมื่อปี 2563 องค์กรภาคประชาชนได้รวมตัวกัน ติดตาม ผลักดัน ให้มีการทบทวน รื้อฟื้น การก่อสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพุทธมณฑล จ.สงขลา ให้แล้วเสร็จ
จากรูปที่ส่งมาพร้อมข้อความนี้ ในขณะนั้น นับเป็นความไม่สบายใจของคนสงขลาเป็นอย่างมาก
เพราะรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพุทธมณฑล จ.สงขลา ถูกทิ้งเสมือน.. ร้าง สร้างไม่เสร็จ.. ทั้งๆที่มีการระดมทุน ร่วมทำบุญและมีงบประมาณรวมกันแล้วมากกว่า 100 ลบ.เริ่มสร้างมานานกว่า 10 ปี แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
ในการเริ่มต้นนั้น ท่านพระอาจารย์ผัน อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว อ.เมืองสงขลา ท่านเป็นพระผู้ใหญ่ของคณะสงค์ จ.สงขลา ท่านได้ดำริและดำเนินการสร้างพุทธมณฑล จ.สงขลา และรูปเหมือนหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ ให้เป็นส่วนหนึ่งของพุทธมณฑล จ.สงขลา
แต่ปรากฏว่า คณะทำงานของท่านพระอาจารย์ผันบางส่วน หายตัวไปพร้อมกับเงินหลายสิบล้านบาท
คงให้เป็นหน้าที่ของทางราชการที่จะต้องติดตามเอาความผิดและลงโทษกับผู้เกี่ยวข้องด้วย
ท่านพระอาจารย์ผันได้พยายามแก้ไขปัญหาอย่างเต็มความสามารถ แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้สำเร็จได้ จนท่านพระอาจารย์ผันมรณะภาพ โครงการทั้ง 2 จึงเสมือนถูกทอดทิ้ง เสมือนร้าง มากกว่า 10 ปี
จนกระทั่ง ปี 2563 ผมได้ประสานงานกับคณะทำงานเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ซึ่งประกอบด้วย
- นายพยม พรหมเพชร อดีต ส.ส.เขต 2 จังหวัดสงขลา
- นายสุรเชษฐ์ ประยืนยง ประธานสภาวัฒนธรรม อ.เมืองสงขลา
- นางภัสราภรณ์ พลฑา ประธานสภาองค์กรชุมชน อ.เมืองสงขลา
- นายบันเทิง สุวรรณมณี ตัวแทนพิธีกรสงฆ์ อ.เมืองสงขลา ปัจจุบันเป็น สท.นครสงขลา
- นายศิริ ทองพูล ตัวแทนกลุ่มบินหลาหาข่าว จ.สงขลา
- สื่อมวลชน โทรทัศน์ วิทยุ กลุ่มโซเชี่ยล มากกว่า 10 ช่อง และ
- (ตัวผม) นายสัญญา วัชรพันธุ์ ประธานศูนย์สวัสดิการประชาชน จ.สงขลา
ได้ร่วมกันไปขอพบและยื่นหนังสือให้มีการทบทวน ติดตาม ผลักดันโครงการดัวกล่าวให้แล้วเสร็จต่อ ผวจ.สงขลา โดยมี นาย อำพล พงศ์สุวรรณ รอง ผวจ.ในขณะนั้นเป็นตัวแทน
หลังจากนั้นก็ได้มีการประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัดอย่างต่อเนื่อง สรุปผลได้คือ
1.ให้จังหวัดสงขลา รับเป็นเจ้าภาพในการสานต่อและพัฒนาโครงการพุทธมณฑล
2.รูปเหมือนหลวงปู่ทวด (ที่สร้างเสร็จไว้ท่อนเดียว) มีมติให้มอบแก่วัดทรายขาว อ.เมืองสงขลา ซึ่งเป็นวัดที่พระอาจารย์ผันเคยเป็นเจ้าอาวาส
ในตอนนั้นแม้จะมีเสียงคัดค้านบ้าง เพราะจุดมุ่งหมายเดิมชาวบ้านตั้งใจจะสร้างไว้ให้อยู่คู่กับพุทธมณฑล แต่เจ้าอาวาสและชาวบ้านวัดทรายขาว มีความพร้อมและตั้งใจจะเอาไปไว้ที่วัดทรายขาว
ราวกับว่า มีสายโทร.กระซิบถึงเจ้าอาวาสว่า ".. ท่านไปเอามาเถอะ เอากลับไปไว้วัดบ้านเรา.." จึงได้เริ่มดำเนินการเคลื่อนย้ายทันที และทุกฝ่ายก็ยินยอม.. เงียบ.. ไม่มีการคัดค้านใดๆ
3.ให้มีการติดตามเรื่องขออนุญาตการขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งเสม็ดงาม ซึ่งเป็นที่ตั้งของพุทธมณฑล (ยื่นขอใช้มาราว 10 ปี แล้วเช่นกัน) จนปัจจุบันได้รับอนุญาตแล้วกว่า 100 ไร่
สรุปได้ว่า จากแรงผลักดันของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในครั้งนั้น เป็นผลให้เกิดความสำเร็จ กล่าวคือ
1.รูปเหมือนหลวงปู่ทวด กำลังจะแล้วเสร็จโดย คณะผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ได้บริจาคเงินผ่านในนามของ คุณเปลว สีเงิน นักเขียนชื่อดังคนสำคัญระดับประเทศ รวมเป็นเงินมากกว่า 17 ลบ.
เพื่อให้สร้างรูปเหมือนหลวงปู่ทวดในส่วนที่ขาด ให้แล้วเสร็จ และทุกฝ่ายก็มั่นใจว่า ครั้งนี้แล้วเสร็จแน่
ซึ่งจะทำพิธีเททองหล่อเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด (ท่อนส่วนอกถึงขา) ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ที่วัดทรายขาว
2.โครงการสร้างพุทธมณฑล ทราบว่า จังหวัดสงขลา ได้ตั้งงบประมาณสนับสนุนหลายสิบล้าน เพื่อสานต่อและเพิ่มเติมโครงการให้แล้วเสร็จ โดยมีมูลนิธิพุทธมณฑล จ.สงขลา เป็นองค์กรขับเคลื่อนสนับสนุน
3.การใช้ประโยชน์ในที่ดินก็ได้รับการอนุญาตจากทางราชการเรียบร้อยแล้ว
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เป็นแรงบันดาลใจและภาคภูมิใจของทุกคน ที่จะได้เห็นความสำเร็จของโครงการสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงปู่ทวดและเป็นเมืองที่เคยมีประวัติศาสตร์สำคัญของแผ่นดินสยาม
เมื่อวันนั้น ถ้าเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนและสื่อมวลชนไม่เคลื่อนไหวขึ้นมา ไม่กล้าเสี่ยงต่อคำว่า
" ทำไปทำไม เสี่ยง.. นะ."
ป่านนี้ยังคิดไม่ออกนะว่า สภาพของรูปเหมือนหลวงปู่ทวดและพุทธมณฑล จ.สงขลา จะเป็นอย่างไร
นี่คือ พลังของภาคประชาชนและสื่อมวลชนที่รักความถูกต้อง สร้างสรรค์ คอยผลักดันความเป็นธรรมและดีงามใหัสังคม
ขอขอบคุณ ขอชื่นชม ขอให้กำลังใจแก่ทุกท่านและทุกภาคส่วนอีกครั้งหนึ่ง ที่ช่วยกันทำให้ทุกอย่างเกิดความสำเร็จ
ขออภัยที่ต้องกล่าวย้อนถึงเรื่องตามข้างต้นนี้ ทั้งนี้ประสงค์จะให้เป็นข้อคิดแก่สังคมและเป็นการให้เกียรติ รำลึกถึง ทุกภาคส่วนที่ได้อยู่ในกระบวนการ เส้นทาง แห่งความสำเร็จดังกล่าวนี้ และเพื่อให้เป็นการรับรู้ เป็นความทรงจำแก่สังคมต่อไป
. ขอบคุณครับ
สัญญา วัชรพันธุ์
- ผู้แทนเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน
- ผู้แทนองค์กร "นักไทยคดี ภาคใต้ "
6 กุมภาพันธุ์ 2567
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น