โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ด่วน.! โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” เป็นองคมนตรี (มีคลิป)

   ด่วน.!  โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” เป็นองคมนตรี (มีคลิป)



ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น องคมนตรี ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป


เมื่อวันที่29 พฤศจิกายน 2566  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งองคมนตรี มีใจความว่า


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า

ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งองคมนตรีตามประกาศ ลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2565 แล้วนั้น

บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 11 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น องคมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2566 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน

 

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรี ทั้งหมด 30 คน แต่มีอดีตนายกฯ เพียง 5 คนเท่านั้น ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี คือ



1. นายสัญญา ธรรมศักดิ์

2. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

3. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

4. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

5. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

สำหรับประวัติ “องคมนตรี”

 คำว่า “องคมนตรี” เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งสภาขึ้น 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of state) จำนวน 12 คน เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2417 ต่อมาปี 2437 ได้ยกเลิกไป และจัดตั้ง รัฐมนตรีสภา ขึ้นแทน และปรีวีเคาน์ซิล (Privy council) หรือ ที่ปรึกษาในพระองค์ จำนวน 49 คน เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2417 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น องคมนตรีสภา องคมนตรี เป็นข้าราชการในพระองค์ และพระมหากษัตริย์ทรงเลือก ตามพระราชกฤษฎีกา จัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ ปี 2560 และต้องไม่เป็น สส., สว. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการในพระองค์ตำแหน่งอื่น นอกจากองคมนตรี พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ

ก่อนเข้ารับหน้าที่ “องคมนตรี” ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง

หน้าที่ของ “องคมนตรี”

 องคมนตรี เป็นคณะที่ปรึกษาที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น เพื่อถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ไทย รวมทั้งปฏิบัติภารกิจ ตามที่พระมหากษัตริย์ทรงกำหนด หรือทรงมอบหมาย จะต้องมีสมาชิกจำนวนไม่เกิน 18 คน โดยพระมหากษัตริย์มีพระราชวินิจฉัยในการแต่งตั้งสมาชิกองคมนตรีทั้งหมด โดยคณะองคมนตรี จะทำการประชุมทุกสัปดาห์ ณ ทำเนียบองคมนตรี บริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ ใกล้พระบรมมหาราชวัง

คณะองคมนตรี 19 คน



 1.พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี

 2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย

 3.นายพลากร สุวรรณรัฐ

 4.ศาสตราจารย์พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ

5.นายศุภชัย ภู่งาม

6.พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข

7.พล,อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา

8.พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ

9.นายจรัลธาดา กรรณสูต

10.พล.อ.กัมปนาท รุดดิษฐ์

11.พล.ร.อ.พงษ์เทพ หนูเทพ

12.รองศาสตราจารย์ ดร. จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา

13.นายอำพน กิตติอำพน

14.พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท

15.พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง

16.นายนุรักษ์ มาประณีต

17.ศาสตราจารย์ ดร.เกษม จันทร์แก้ว

18.พล.อ. บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์

19.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

    ทั้งนี้ ประธานองคมนตรีคนปัจจุบัน คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตผู้บัญชาการทหารบก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2562 ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ โดยพระมหากษัตริย์มีพระราชวินิจฉัย ในการแต่งตั้งสมาชิกองคมนตรีทั้งหมด และ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2566 ครบทั้ง 18 คน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้ว

 อัตราเงินเดือน ประธานองคมนตรี-คณะองคมนตรี

 ตามพระราชกฤษฎีกา เงินประจำตำแหน่งขององคมนตรีและรัฐบุรุษ พ.ศ.2551 มาตรา 4 ระบุว่า ให้ประธานองคมนตรีได้รับเงินประจำตำแหน่งเป็นรายเดือน เดือนละ 121,990 บาท ให้องคมนตรีอื่น ได้รับเงินประจำตำแหน่งเป็นรายเดือน เดือนละ 112,250 บาท

นอกจากนี้ มาตราที่ 5 ระบุว่า ให้ผู้ซึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องไว้ในฐานะรัฐบุรุษ ได้รับเงินประจำตำแหน่งเป็นรายเดือน เดือนละ 121,990 บาท

 ประพันธ์  ฤทธิวงศ์ บรรณาธิการเดลิมิเร่อร์ปลายด้ามขวานชายแดนใต้ สื่อยุคใหม่ ส่องทุกมุมมอง สู่..โลกโซเซียล/รายงาน

 

 

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น