โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2566

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ดูแลแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตร จะลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ดูแลแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตร จะลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 

 ทราบว่าวันจันทร์ที่ 4 กันยายน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ดูแลแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตร จะลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อแก้ปัญหาปัญหาราคามังคุดตกต่ำ

เกษตรกรชาวสวนมังคุดอำเภอพรหมคีรี ขนมังคุดไปเททิ้งหน้าที่ว่าการอำเภอพรหมคีรี จากเหตุราคาตกต่ำอย่างหนัก โดยมีการซื้อขายกันแค่ กก.ละ 8 บาท บางจุด 5 บาทเท่านั้นเอง




“เป็นชาวสวนที่ไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องใดๆต่อหน่วยงานของรัฐ” เป็นคำพูดของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช และยังตอกย้ำด้วยว่า เป็นมังคุดด้อยคุณภาพ ขายไม่ได้ เป็นมังคุดนอกพื้นที่ (จันทบุรี) เข้ามาตีราคา


น่าสนใจว่า เกษตรกรจะอยู่ได้อย่างไรกับราคา 8 บาท 5 บาท เฉพาะต้นทุนในการเก็บก็ตกกิโลกรัมละ 8 บาทแล้ว ยังไม่รวมต้นทุนอื่นๆ ค่าปุ๋ย ค่าแรง ค่ากล่องกระดาษใส่มังคุด เป็นต้น


ถามว่ามังคุดผลผลิตออกมามากจนล้นตลาดหรือไม่ ไม่ใช่เลย ชาวสวนจำนวนไม่น้อยสุดจะทนกับปัญหาราคามังคุดตกต่ำทุกปี ไม่มีทางแก้ ด้วยการโค่นมังคุดทิ้ง หันไปปลูกปาล์ม (น้ำมันบนดิน) ปลูกทุเรียน (ราชาผลไม้ของไทย)

ข้อมูลพื้นที่สวนมังคุดในนครศรีธรรมราช มีพื้นที่เพาะปลูกมังคุด รวมทั้งสิ้น 90,665 ไร่ กระจายอยู่ใน19 อำเภอ ของจังหวัด ยกเว้น อำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอปากพนัง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้ว จำนวน 72,441 ไร่ ยังไม่ให้ผลผลิต จำนวน 18,224 ไร่ ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราชพบว่า ในปี 2553 มีจำนวนผลผลิตมังคุดออกสู่ตลาดทั้งสิ้น 40,785,585 กิโลกรัม โดยมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 12.05 บาทต่อกิโลกรัม

ถามว่าเมื่อผลผลิตไม่ได้ล้นตลาด ทำไมราคาตก คำตอบน่าจะพอเดาได้ว่า…

-พ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อจับมือกันกดราคา

-ล้งมังคุด น่าจะเป็นตัวการสำคัญร่วมหัวกันกดราคา และกดดันด้วยการ “ไม่รับซื้อ” เกษตรกรเก็บเกี่ยวแล้ว อย่างงัยก็ต้องขาย แม้จะไม่ได้ราคาก็ตาม


มังคุดคุณภาพสูง อย่างมังคุดคีรีวง ซึ่งเป็นมังคุดเกรดพรีเมียมยังขายได้ราคาอยู่ 


ในนาม #นายหัวไทร ขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาราคามังคุดตกต่ำ

-ระยะสั้น รัฐอาจจะต้องใช้งบ คชก.เข้าไปรับซื้อไว้ก่อน แล้วหาทางระบายออก

       ประสานจังหวัดอื่นๆที่ไม่มีการปลูกมังคุด เช่น ภาคเหนือ ภาคอิสาน ภาคกลาง ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายกฯอบจ.นำมังคุดไปขายในราคาไม่แพงนัก แต่คุ้มทุน

       ประสานความร่วมมือห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ นำมังคุดไปว่างจำหน่ายในตลาดกรุงเทพมหานคร กับจำนวนประชากร 10 ล้านคน น่าจะช่วยได้มาก


มาตรการระยะยาว

-เกษตรกรต้องพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ตรงกับตลาดต้องการ

-หาวิธีแปรรูปผลผลิตที่หลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ เช่น มังคุดกวน เป็นต้น

-หาช่องทางตลาดใหม่ๆ เพื่อส่งออกผลผลิตมังคุด

-นำส่วนเหลือของมังคุดมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น สบู่เปลือกมังคุด ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม

-จัดระเบียบล้ง ทุกปีเราพบว่าล้งคือตัวปัญหา ส่วนใหญ่เป็นล้งจีน เข้ามาทำมาหากินในช่วงหน้าผลไม้ 3-4 เดือน แสวงหาผลประโยชน์เสร็จเรียบร้อย เก็บข้าวของกลับบ้านพร้อมกำไรมหาศาล โดยไทยเราไม่ได้อะไรเลย ควรนำล้งเข้าสู่ระบบภาษี จดทะเบียนบริษัทในไทยถึงจะอนุญาตให้เปิดกิจการล้งได้

-เจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่ควรโยนความผิด เช่น บอกว่ามังคุดนอกจังหวัด (จันทน์)เข้ามาตีราคา ซึ่งไม่น่าจะมีใครขนมังคุดจากจันทน์มานครศรีธรรมราช ให้เสียค่าขนส่ง แล้วยังซ้ำเติมว่าเป็นผลผลิตด้อยคุณภาพ กินไม่ได้ 

-อยากรู้ว่านักแก้ปัญหาในพื้นที่ได้กรีดกายออกจากห้องแอร์ลงพื้นที่ไปดูข้อเท็จจริงบ้างแล้วหรือยัง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น