โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566

“อำนวย นวลทอง” ลงสมัคร ส.ส.เพื่อเปลี่ยนแปลง-ชนะ ยัน สู้ไม่มีถอย

 “อำนวย นวลทอง” ลงสมัคร ส.ส.เพื่อเปลี่ยนแปลง-ชนะ ยัน สู้ไม่มีถอย

“อำนวย นวลทอง”กล่าวอย่างหนักแน่นว่า ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจังหวัดตรัง และสู้ไม่มีถอย ลงสมัครเพื่อชนะ ไม่ใช่เพื่อแพ้

“30-40 ปีของการเมืองในจังหวัดตรังพี่น้องประชาชนให้โอกาสกับบางพรรคการเมืองมายาวนาน แต่เมืองตรังกลับย่ำอยู่กับที่ หรือถดถอยด้วยซ้ำ ประชาชนจนลง บ้านเมืองไม่ได้รับการพัฒนา จึงตัดสินใจนำความรู้ ประสบการณ์ที่มีอยู่ขันอาสามารับใช้บ้านเกิด บ้านเมืองจะได้เกิดการเปลี่ยนแปลง” อำนวยกล่าว

 

อำนวย กล่าวอีกว่า ปัญหาใหญ่ของจังหวัดตรังคือปัญหาที่ดินทำกิน อันเกิดจากการที่ภาครัฐไปประกาศเขตอุทยานบ้าง เขตทุ่งเลี้ยงสัตว์บ้าง ทับที่ดินทำกินของชาวบ้าน จึงไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ใดๆได้ ทั้งๆที่ชาวบ้านทำกินบนที่ดินแปลงนั้นมาก่อน และสภาพที่ดินก็ควรให้ชาวบ้านได้สิทธิ์ทำกิน แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่รัฐโค่นทำลาย

 


อำนวย กล่าวต่อว่า อีกปัญหาของเมืองตรัง คือการบริหารจัดการน้ำ ถึงหน้าฝนก็เจอน้ำท่วม พอหน้าแล้งก็ขาดน้ำ ไม่มีใครคิดเรื่องการบริหารจัดการน้ำ การทำแหล่งกักเก็บน้ำ ซึ่งถ้ามีโอกาสก็จะเข้าไปดูแก้ไขปัญหาเหล่านี้

 

กล่าวถึง “อำนวย นวลทอง” พี่น้องชาวละมอ อ.นาโยง จ.ตรังคงรู้จักกันดี เพราะเขาถือกำเนิดบนผืนแผ่นดินแห่งนี้ โตที่นี้ และเรียนจบการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนวิเชียรมาตุ

 

 การศึกษาระบบ “แพ้คัดออก” อำนวยสอบเข้ามหาวิทยาลัยเปิดไม่ได้ เขาจึงบ่ายหน้าเข้าเมืองหลวง เข้าสู่ระบบการศึกษา “ตลาดวิชา” เป็นลูกพ่อขุนในรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง

“รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ คือคำขวัญของมหาวิทยาลัย ที่ติดตาตรึงใจอำนวยตั้งแต่ก้าวแรกที่ย่างเข้าสู่รั้วรามคำแหง เมื่อเดินทางเข้ากรุงก็มุ่งมั่น ตั้งใจศึกษา มีพ่อขุนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

 

หลังจากจัดแจงเรื่องเอกสาร และมติพรรครวมไทยสร้างชาติ ให้ “อำนวย นวลทอง” ลงสมัคร ส.ส.เขต 3 จังหวัดตรัง อำนวยจึงหอบกระเป๋าเอกสารเดินเข้าสู่รั้วรามคำแหง แจ้งต่อพ่อขุนฯถึงเจตนารมณ์ และไหว้ขอพร

กล่าวคำปณิธานให้พ่อขุนฯได้รับทราบ

 

เมื่อครั้งเข้ามาเมืองหลวงใหม่ๆ “ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความ” หอบความเขลาจากบ้านนอก เข้ามาหาความหมายในเมืองหลวง อำนวยพบว่า ยังมีปัญหาอีกมากมายที่สั่งสมบ่มเพาะอยู่ในสังคมไทย สังคมแห่งความเหลื่อมล้ำ สังคมแห่งการเอารัดเอาเปรียบ แม้แต่การศึกษาก็ยังไม่เท่าเทียมกัน

 

ระหว่างศึกษาอำนวยกระโดดเข้าสู่เวทีกิจกรรมนักศึกษา ทำกิจกรรมแนวบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และการเมือง ออกค่ายอาสา ร่วมเวทีเรียกร้องความเป็นธรรมในนามองค์กรนักศึกษา ชื่อเสียงของอำนวยเป็นที่รู้จักกันของระดับนำของนักศึกษากลุ่มหัวก้าวหน้าในรั้วรามคำแหง

 

อำนวยเป็นนักศึกษากิจกรรมรุ่นเดียวกับ “นิพนธ์ บุญญามณี” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รุ่นเดียวกับ “วิสูตร สุจิรกุล” อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง สมชาย โล่สภาพิพิธ อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์

 

 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อำนวยเข้าสู่ระบบราชการในกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมการจัดจำหน่ายน้ำตาลทราย จากนั้นได้ลาออกมาทำงานภาคเอกชนและทำธุรกิจส่วนตัว โดยเข้าไปทำงานในบริษัท หมากหอมเยาวราช ของนายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จึงได้มีโอกาสได้รู้จักกับ ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าฯกทม. “อำนวย” ยังเป็นหนึ่งในคณะทำงานรณรงค์หาเสียงให้กับเดโช สวนานนท์ ร.ท.เชาวลิต เตชะไพบูลย์ และ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร

 

“อำนวย”กระโดดเข้าสู่เวทีการเมืองในยุคที่สังคมกำลังเปิดทางให้กับคนรุ่นใหม่ อำนวยได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ในช่วงวัยหนุ่ม ด้วยหวังว่า ตำแหน่งทางการเมืองจะช่วยแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้ “อำนวย” ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานสภาเขตพญาไทถึงสองสมัย และเป็นคณะทำงานของกลุ่มยุวประชาธิปัตย์ เป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ สาขาพญาไท

     

อำนวยยังวาดฝันว่า วันหนึ่งจะก้าวสู่การเมืองระดับชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการเมืองได้มากกว่าการเมืองท้องถิ่น แต่เมื่อเหลียวซ้ายมองขวา บ้านเกิดของตัวเองก็ยังมีปัญหาอีกมากที่ควรได้รับการแก้ไข รวมถึงการปูทางไปสู่ความเป็นเมืองท่องเที่ยว สร้างสังคมอุดมธรรม สังคมสร้างสุข

 

อำนวยตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้ง ทิ้งสิ่งที่สร้างและมีอยู่ในเมืองหลวง บอกภรรยาเก็บกระเป๋ากลับละมอบ้านเกิด และเริ่มต้นทำในสิ่งที่ฝัน เดินตามพ่อ “เศรษฐกิจพอเพียง” กับที่ดินแปลงมรดก พร้อมขยายแนวคิดไปยังชาวบ้าน เดินหน้าสร้างความอยู่รอด และอยู่เย็นเป็นสุขในชุมชน

 

“อำนวย”ฝันไกลไปกว่านั้น ฝันเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจังหวัดตรัง เพื่อการพัฒนาในเชิงรุกกับการลงชิง ส.ส.ตรัง เขต 3 แม้จะต้องสู้กับลูกสาวของเพื่อนรัก “สมชาย โล่สถาพรพิพิธ” ก็ตาม ตามหลักคิด “การเมืองเป็นเรื่องของประชาชน และต้องมีการแข่งขัน”

     

วันนี้ชายนักสู้ ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตย ล้นไปด้วยประสบการณ์ ผ่านการศึกษา เรียนรู้ ทั้งในระบบและนอกระบบ มาอย่างท่วมท้น พร้อมจะลงสู้ศึกชิงเก้าอี้ ส.ส.เขต 3 จ.ตรัง ศึกคนกันเองกำลังจะระเบิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งของคนประชาธิปัตย์ในจังหวัดตรัง

 

“ผมพร้อม ทีมงานพร้อม” อำนวยกล่าวอย่างมั่นใจในการเปิดศึกกับคนกันเอง แพ้-ชนะไปว่ากันในสนามเลือกตั้ง ประชาชนจะเป็นคนชี้ขาด แต่งานนี้ “อำนวย” สู้ไม่มีถอย

 #นายหัวไทร #การเมืองตรัง #อำนวยนวลทอง

…….

 

ประวัติกิจกรรมนักศึกษา

- เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มเยาวชนก้าวหน้าโรงเรียนวิเชียรมาตุ

- เป็นคณะกรรมการบริหารชมรมการศึกษาพัฒนาชาวไทยภูเขา มหาวิทยาลยั รามคาแหง

- เป็นประธานประสานงานค่ายชมรมค่ายอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยรามคพแหง -เป็นคณะกรรมการประสานงานกลุ่มนักศึกษาสามัคคี24 กลุ่มมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติกิจกรรมการเมือง

- เป็นคณะกรรมการบริหารกลุ่มยุวประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปัตย์

- เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ สาขาพญาไท กรุงเทพมหานคร

- ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภาเขตพญาไท 2 สมัย

-เป็นเลขานุการคณะกรรมมาธิการตรวจรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

- เป็นอนุกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร

-เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี(นายพิชัย รัตตกุล)

 

ประวัติการทํางาน

- เป็นพนักงานควบคุมการจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวสพนักงานกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทราย กระทรวงอุสาหกรรม

- เป็นผู้จัดการฝ่ายบริหารงานบุคคลและธุรการ บริษัท ลีเทค อุตสาหกรรม จำกัด

- เป็นผผู้การฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์บริษัทออนไลน์ จำกัด (สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น)

    

-เป็นผูอ้านวยการฝ่ายธุรการบริษัทอินเตอร์เอ็นจิเนียริ่งจำกัด (มหาชน)บริษัทในตลาดหลกัทรัพย์

-เป็นกรรมการผู้อำนวยการสำนักกฎหมายการบัญชีและธุรกิจชมวิวัฒน์กรุงเทพมหานคร

-ได้รับพระมหากรุณาธิคฯโปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามลำดับ ดังนี้

1. จตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม) 2. เบญจมาภรณ์ ช้างเผือก (บ.ช) 3. เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (มน.)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น