45 ชม.ฝ่ายค้านลาก 11 รัฐขึ้นเขียง “นิพนธ์”
ซ้อมบทกับกรมที่ดิน ทำการบ้านบุกรุกที่ดิน ร.ฟ.ท.เขากระโดง
หลังจากรัฐบาลตอบรับความพร้อมในการรับมือกับญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 11
รัฐมนตรี และชวน หลีกภัยประธานสภาผู้แทนราษฏร กำหนดวันอภิปรายระหว่าง 19-22
กรกฎาคม 4 วันเต็ม ในขณะที่ฝ่ายค้านต้องการเวลา 5 วัน
นายสุชาติ ตันเจริญ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
ได้เรียกประชุมวิป 3 ฝ่าย ประกอบด้วย วิปฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี
(ครม.) โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที ตกลงร่วมกันอภิปราย 4 วัน
จากนั้นนายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม
พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน
ให้รายละเอียดว่าสำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลจะมีทั้งหมด 4 วัน
โดยฝ่ายค้านได้เวลาทั้งหมด 45 ชั่วโมง ส่วนอีก 18 ชั่วโมงเป็นของครม. ส.ส.รัฐบาล
และประธานที่ประชุม โดยการประชุมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค. ถึงวันที่ 22 ก.ค.
เริ่มตั้งแต่เวลา 08.30-00.30 น.ของทุกวัน
ยกเว้นวันอภิปรายสรุปซึ่งจะให้จบประมาณเวลา 23.30 น. หรือไม่เกิน 00.00 น.
และจะลงมติในวันที่ 23 ก.ค. เวลา 10.00 น.
“เราพอใจแม้จะไม่ได้วันอภิปราย 5 วัน
แต่เราก็ได้ชั่วโมงตามที่เราต้องการคือ 45 ชั่วโมง”
“นิพนธ์” เป็น 1 ใน 11 รัฐมนตรีที่ถูกลากขึ้นเขียง
แต่เจ้าตัวมั่นใจในการชี้แจง เพราะไม่ได้ทำผิดกฎหมายอะไร
ไม่มีประเด็นการทุจริตคอรัปชั่น แต่ก็ไม่ประมาท ได้ตั้งธงไว้ 4
ประเด็นที่ฝ่ายค้านจะหยิบยกขึ้นมาอภิปราย
-เรื่องฮั้วประมูลงาน อบจ.สงขลา
สมัยเป็นนายกฯอบจ.สงขลา ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพราะเคยอภิปราย
และชี้แจงมาครั้งหนึ่งแล้ว ยิ่งมาถึงวันนี้ยิ่งง่ายขึ้น เพราะบุคคล
และนิติบุคคลที่ร่วมฮั้วประมูลถูกดำเนินคดีหมดแล้ว ถูกออกหมายจับทุกคน คดีอาญาใน
ปปช.ก็ไม่น่ากลัว เพราะ
ปปช.เองก็ยังส่งเจ้าหน้าที่ไปแจ้งความดำเนินคดีกับบุคคลและนิติบุคคลที่ร่วมฮั้วประมูลเช่นกัน
แม้ ปปช.จะบอกว่าเป็นคนละเรื่องกัน แต่เป็นเพียงความเห็นของ ปปช.ต้องรอศาลตัดสิน
-เรื่องนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าจะนะ
ก็เป็นประเด็นที่เคยอภิปราย และชี้แจงไปหมดแล้ว ยิ่งอภิปรายซ้ำยิ่งดี
จะได้อธิบายให้ประชาชน สังคมเข้าใจว่า มหาดไทยไม่เกี่ยวกับโครงการนี้
เจ้าของโครงการคือ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
ซึ่งนิพนธ์ก็ไม่ได้กำกับดูแล ศอ.บต.ด้วย ส่วนการลงทุนก็เป็นเรื่องของเอกชน
ส่วข้อครหาเรื่องการกว้านซื้อที่ดิน
ก็เป็นเรื่องของบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นสิทธิ์ที่เขาจะกว้านซื้อ
เมื่อเห็นช่องทางของการทำกำไร
เพียงแต่บริษัทที่ไปกว้านซื้อที่ดินมีความใกล้ชิดกับนิพนธ์เท่านั้น
แต่ไม่มีความเกี่ยวพันอะไรกันถามว่านิพนธ์เห็นด้วยไหมกับนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าจะนะ
เท่าที่ประมวลดู นิพนธ์เห็นด้วย เพราะจะเกิดการลงทุนในพื้นที่นับแสนล้าน เกิดการหมุนเวียนของเงิน
เกิดการจ้างงานนับแสนตำแหน่ง จะสร้างความเป็นอยู่ ความอยู่ดีกินดีให้เกิดขึ้น
ส่วนข้อกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องผลกระทบอาชีพประมง กระทบต่อวิถีชุมชน
เป็นเรื่องของส่วนราชที่เกี่ยวข้องจะต้องไปคุยกับบริษัทที่ลงทุน
-เรื่องการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินของตระกูล
“จึงรุ่งเรืองกิจ” 2000 กว่าไร่ ก็เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนปกติของกรมที่ดิน
เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมที่ดิน ไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง เลือกปฏิบัติ
เป็นการใช้อำนาจตามคำพิพากษาของศาล ไม่ทำก็จะโดนข้อหาละเว้นตาม ม.157
-เรื่องที่อาจจะต้องใช้เวลาในการอธิบาย
ถ้าฝ่ายค้านอภิปรายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีคมนาคม
และโยงมาถึงกรมที่ดินในการดำเนินการ ทั้งการรถไฟแห่งประเทศ เจ้าของที่ดิน
กับกรมที่ดินในการดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์
เพราะศาลฎีกาตัดสินเป็นที่สุดแล้วว่า เอกสารสิทธิ์ได้มาโดยมิชอบ แต่ยังมีความล่าช้าในการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์
นิพนธ์ เตรียมพร้อมชี้แจงเรื่องนี้ เชิญเจ้าหน้าที่กรมที่ดินมาชี้แจง
มาอธิบายแล้วว่า ขั้นตอนดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ติดขัดปัญหาตรงไหน
เท่าที่ทราบยังมีปัญหาเรื่องยังไม่มีใครจากการรถไฟแห่งประเทศไทย มาชี้แนวเขต เพื่อยืนยันพื้นที่
และบางประเด็นยังอยู่ในชั้นศาลปกครอง
เรื่องการบุกรุกที่ดินการรถไฟฯ
เขากระโดงน่าจะเป็นประเด็นหลักในการอภิปรายต่อศักดิ์สยาม และนิพนธ์
ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั้งสองรัฐมนตรีที่จะต้องช่วยกันอธิบาย แต่ถึงที่สุดแล้ว
เชื่อว่าอธิบายได้ เพราะได้อธิบายกันมาหลายครั้งแล้ว และจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
นิพนธ์เองก็ต้องไม่ประมาท ลองพิจารณาดูว่า มีแผลอื่นอีกไหม
คนอื่นอาจจะไม่เห็น แต่ฝ่ายค้านอาจจะเห็น และนิพนธ์เองก็ต้องเห็น
แม้ไม่มีประเด็นทุจริต แต่เอื้อประโยชน์ให้คนอื่น พวกพ้อง มีหรือไม่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น