โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565

คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย พลเอก วัลลภ รักเสนาะ กับคณะผู้แทน BRN นำโดยอุซตาส อานัส อับดุลเราะห์มาน ได้มีการพบปะหารือและพูดคุยแบบเต็มคณะ ครั้งที่ ๔ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย

  คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้  นำโดย พลเอก วัลลภ รักเสนาะ กับคณะผู้แทน BRN นำโดยอุซตาส อานัส อับดุลเราะห์มาน ได้มีการพบปะหารือและพูดคุยแบบเต็มคณะ ครั้งที่ ๔ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย 



เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม และ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้  นำโดย พลเอก วัลลภ รักเสนาะ กับคณะผู้แทน BRN นำโดยอุซตาส อานัส อับดุลเราะห์มาน ได้มีการพบปะหารือและพูดคุยแบบเต็มคณะ ครั้งที่ ๔ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย โดยมี ตันซรี อับดุล ราฮิม บิน โมฮัมหมัด นอร์ เป็นผู้อำนวยความสะดวก และมีผู้เชี่ยวชาญ ร่วมสังเกตการณ์ด้วย ทั้งนี้ ผลการพูดคุยฯ มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นหมุดหมายที่จะนำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้งและสร้างสันติสุขอย่างถาวรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

 ๑) เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ คณะพูดคุยฯ และ BRN ได้รับรองเอกสาร หลักการทั่วไปว่าด้วยกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขซึ่งเป็นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายตกลงจะพูดคุยกันในรายละเอียด โดยกำหนดให้มีกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีเกียรติและเปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เพื่อบรรลุทางออกทางการเมือง ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ตามแนวคิดชุมชนปาตานีภายใต้ความเป็นรัฐเดี่ยวของราชอาณาจักรไทยตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

  ๒) ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นพ้องร่วมกันใน ความริเริ่มรอมฎอนสันติสุขด้วยการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อสันติสุขในห้วงเดือนรอมฎอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่และสร้างความไว้วางใจต่อกระบวนการพูดคุย ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว จะมีลักษณะเป็นการปฏิบัติที่ต่างฝ่ายต่างปฏิบัติอย่างเกื้อกูลกัน เพื่อลดความรุนแรง             ในพื้นที่ให้เป็นไปตามหลักการทั่วไปว่าด้วยกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

  ๓) นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้พูดคุยเรื่องบทบาทและขอบเขตหน้าที่การทำงานของคณะทำงานร่วมเพื่อขับเคลื่อนการพูดคุยในประเด็นสารัตถะ ๓ คณะ ประกอบไปด้วย ๑) คณะทำงานร่วมเรื่องการลดความรุนแรง ๒) คณะทำงานร่วมเรื่องการปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ และ ๓) คณะศึกษาร่วมเรื่องการแสวงหาทางออกทางการเมือง โดยมีการมอบหมายบุคคลผู้ประสานงานเพื่อประสานการปฏิบัติของคณะดังกล่าว

  คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอความร่วมมือให้ประชาชนและทุกภาคส่วน           ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ติดตามสถานการณ์ในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสันติสุขในห้วงเดือนรอมฎอน โดยทั้งสองฝ่ายหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญในการเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป



ผลการประชุม 1.เกิดเอกสารว่าด้วยข้อตกลงทั่วไปในการพูดคุยสันติสุขลงนามโดยผู้สังเกตุการณ์เน้นการปฏิบัติภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญของไทย 2.ทั้งสองฝ่ายเห็นสอดคล้องและร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมรอมฏอนสันติ ยุติความรุนแรง” >นักรบจะพบรัก กลับมาบ้านชั่วคราว เข้ามัสยิด คิดไตร่ตรอง/ท่องอัลกุรอ่าน สานใจสู่สันติ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น