โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เล่าเรื่อง "มองต่างมุม" ฝากถึงใครสักคนในอนาคต "คุณต้องบริหารไทยอย่างไทย สู่สากล ไม่ใช่ให้ไทย เหมือนใคร เพื่อใคร ในสากล"

 


เล่าเรื่อง "มองต่างมุม" ฝากถึงใครสักคนในอนาคต "คุณต้องบริหารไทยอย่างไทย สู่สากล ไม่ใช่ให้ไทย เหมือนใคร เพื่อใคร ในสากล"


สังคม หมายถึง คนส่วนรวม ต่างความคิด

ต่างนิสัย ต่างที่มา ต่างฐานะ ต่างความต้องการ

ต่างความรู้สึก ต่างขนบธรรมเนียมประเพณีฯลฯ

  เป็นไปไม่ได้เลยที่จะให้ทุกคนเดินไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ การปกครองสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกฎระเบียบและข้อบังคับ

รวมถึงบทลงโทษต่างๆ เพื่อกำหนดให้การกระทำของทุกคนในสังคมอยู่ภายใต้กรอบและขอบ

เขตของศีลธรรม ซึ่งเราเรียกว่า "กฎหมาย"

  กฎหมาย เป็นมาตรการในการปกครองสังคมที่เป็นที่ยอมรับและมีการบังคับใช้ต่างกันไปในแต่ละประเทศทั่วโลก

  แต่ในขณะเดียวกัน การเรียกร้องความเสมอภาคและความเท่าเทียม ในการบังคับใช้กฎหมาย

ก็ดูเหมือนจะเป็นเงาตามตัว ของกฎหมาย

ที่มีการบังคับใช้ในแต่ละประเทศมาอย่างยาวนาน

  เนื่องจากการออกกฎหมายจะต้องผ่านผู้นำหรือตัวแทนในแต่ละพื้นที่ ที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็น 10 ปีที่แล้ว ดังที่กล่าวมานี้ เราก็สามารถเข้าใจได้ และยอมรับได้

     แต่!! น่าสังเกตุ ที่การออกกฎหมายในปัจจุบันยังคงทำกันเฉพาะคนกลุ่มหนึ่ง โดยการอ้างสิทธิ์ผู้นำหรืออ้างสิทธิ์ตัวแทนของคนหมู่มาก ทั้งที่กฎหมายเหล่านั้นมีผลต่อสิทธิเสรีภาพของทุกคนในสังคม ซึ่งอันที่จริงในยุคปัจจุบันก็เต็มไปด้วยเทคโนโลยี สื่อออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงทุกคนได้ โดยทั่วกัน ผิดกับสมัยก่อนที่ประชาชนยังต้องพึ่งพาตัวแทน เพื่อเป็นกระบอกเสียง เพื่อแสดงความความคิดเห็นและความต้องการของประชาชน


จะดีกว่าหรือไม่ สำหรับยุคปัจจุบัน?

หากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน

เรียกร้องเสนอให้มีการร่างกฎหมายผ่าน application ผ่านการแสดงความคิดเห็น

ผ่านความเห็นชอบ และไม่เห็นชอบ จากทุกๆคน

ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งภายในประเทศ ในรูปแบบ

"Section by Section" ทีละมาตรา

เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในสิทธิของตนเอง แทนที่ ระบบเดิมในรูปแบบ

"ฝากผู้แทน ไปคิดแทน" ซึ่งหลายต่อหลายครั้งที่ผู้แทนทำเพื่อตัวเองแทนที่จะทำเพื่อเรา


  แน่นอน ว่านี่เป็นเพียงแค่แนวคิด ในแง่มุมหนึ่งย่อมต้องมีข้อเสีย และไม่สมบูรณ์

  

ว่ากันถึงข้อเสียของการร่างกฏหมายในรูปแบบนี้

- จะต้องมีการถกเถียง ปรึกษาหารือ ดีเบต

กันระหว่างคนหลายฝ่าย หลายกลุ่ม จนกว่าจะได้สิ่งที่เป็นกลางที่สุด ที่จะนำไปบังคับใช้


- อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าในการออกกฎหมายในรูปแบบปกติ เพราะต้องผ่านความเห็นชอบและไม่เห็นชอบจากประชาชนทุกคน แต่ก็สามารถแก้ไขกำหนดระยะเวลาการมีส่วนร่วม โดยการใช้กฎข้อบังคับได้


- หากคนส่วนใหญ่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ก็จะเกิดผลเสียต่อสิทธิเสรีภาพโดยตรง ต่อคนในประเทศทุกคน 

ทั้งที่ลงเห็นชอบและไม่เห็นชอบให้ผ่านร่างกฎหมายในแต่ละมาตรานั้น


- จำนวนของมาตราตามกฎหมายจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนทั้งประเทศ ที่มีผลผูกพันโดยตรง 

  ในทุกกลุ่ม โดยอาจะมีกฎหมายนักศึกษา กฎหมายการพนันพื้นบ้าน ฯลฯ

  ในทุกอาชีพ โดยอาจจะมีกฎหมายสวนยางกฎหมายสวนปาล์ม กฎหมายประมงพื้นบ้าน 

กฎหมายวินมอเตอร์ไซค์ กฎหมายร้านข้าวแกงกฎหมายร้านส้มตำ กฏหมายร้านตัดผม ฯลฯ

   ในทุกพื้นที่ โดยอาจจะมีกฎหมาย เฉพาะหมู่บ้าน กฎหมายเฉพาะตำบล กฎหมายเฉพาะอำเภอ

 ฯลฯ เป็นต้น


  ถึงแม้จะมีข้อเสีย แต่ทั้งนี้ การให้ทุกคน เข้าถึงและใช้สิทธิของตนในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อประเทศ ต่อแผ่นดินเกิด แผ่นดินอยู่ แผ่นดินตาย 

ของตนเอง เสียงส่วนใหญ่ คงไม่มีใครคิดเห็นที่จะสนับสนุนเพื่อทำลาย ประเทศของตน


   ว่ากันด้วยเรื่องกฎหมาย จะไม่กล่าวถึงคงไม่ได้

ในส่วนของกฎหมายที่กำหนดลักษณะของการ

กระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดไว้ ทั้ง 5 ข้อ ได้แก่ริบทรัพย์สิน ปรับ กักขัง จำคุก ประหารชีวิต


แน่นอนว่าบทลงโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำความผิดนั่นเป็นการริดรอนสิทธิ์ ให้ผู้กระทำความผิดเสียประโยชน์ ตามสมควรแก่เหตุ 

ซึ่งดูเหมือนจะมีความเสมอภาค แต่ ไม่ใช่ทั้งหมด

    เพราะในบทลงโทษที่เป็นโทษ ปรับ ได้กำหนดบทลงโทษไว้ อย่างน่าสังเกตุ โดยกำหนดโทษเจาะจงและไม่คำนึงถึงสถานะและฐานะความเป็นอยู่ทางสังคมของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม โทษในการปรับนี้ แสดงถึงความไม่เสมอภาคและความไม่เท่าเทียมอย่างมาก ซึ่งเราก็มักจะได้ยินประโยคหรือคำจำกัดความที่ว่า"ใครจนเสียค่าปรับไม่ได้ก็ติดคุก

ใครรวยมีจ่ายก็รอดไป"


จะดีกว่าหรือไม่ สำหรับยุคปัจจุบัน?

หากสามารถกำหนดโทษปรับ โดยคิดเป็น

เปอร์เซน ตามสัดส่วนของรายได้ หรือ ตามราคาประเมินทรัพย์สินที่นำสู่การกระทำความผิดนั้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น

  ผู้ใดกระทำความผิดหรือนำทรัพย์สินสู่การกระทำความผิดที่เป็นความผิดลหุโทษ ในลักษณะโทษที่มีการเรียกปรับ เช่น การฝ่าสัญญาณไฟจราจรสีแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่า "หยุด" เมื่อเป็นความผิด และนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ให้เปรียบเทียบปรับในอัตราส่วน 0.05% จากราคาประเมินกลางตามมูลค่าทรัพย์สินที่นำสู่การกระทำความผิดนั้น ตามราคาประเมินกลาง ณ ปัจจุบัน หรือให้เปรียบเทียบปรับในอัตราส่วน 0.05% จากฐานรายได้เฉลี่ยสุทธิย้อนหลัง 6 เดือน หากผู้กระทำความผิดยินยอมที่จะแสดงฐานรายได้ย้อนหลัง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้การเปรียบเทียบปรับจะต้องไม่ต่ำกว่า 500 บาทหรือไม่เกินกว่า 10,000 บาท จากราคาประเมินทรัพย์สินที่นำสู่การกระทำความผิดหรือจากฐานรายได้สุทธิย้อนหลัง 6 เดือนก็ตาม

เป็นต้น


ตัวอย่างที่1.

  นาย ก. ขับรถซุปเปอร์คาร์ยี่ห้อนึง ฝ่าไฟแดง

เมื่อเป็นความผิดและเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายแล้ว 

  เจ้าพนักงาน ประเมินราคาสินทรัพย์ ณ ปัจจุบัน

มีมูลค่า สามสิบล้านบาท คิดเป็น 0.05% จากโทษปรับ นาย ก ต้องชำระค่าปรับ 15,000 บาท

หรือชำระไม่เกินกว่า 10,000 บาท ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นต้น


ตัวอย่างที่2.

นาย ข. ขับรถกระบะยี่ห้อนึง ฝ่าไฟแดง

เมื่อเป็นความผิดและเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายแล้ว 

  เจ้าพนักงาน ประเมินราคาสินทรัพย์ ณ ปัจจุบัน

มีมูลค่า หนึ่งล้านบาท คิดเป็น 0.05% จากโทษปรับ นาย ข. ต้องชำระค่าปรับ 500 บาทเป็นต้น

หรือชำระไม่ต่ำกว่า ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

เป็นต้น


    เท่านี้คนมีก็เสียประโยชน์เท่ากับคนไม่มี

คนไม่มีก็เสียประโยชน์เท่ากับคนมี ทั้งคนมีและคนไม่มีย่อมถูกริดรอนสิทธิโดยเท่ากัน 


ปัญหาเกิดจากคน ที่ไหนมีคนที่นั่นมีปัญหา

กฎหมายไม่ทำลายคน หากคนไม่ทำผิดกฎหมาย

และความเสมอภาคทางสังคมจะเกิดขึ้นกับทุกคน เมื่อทุกคนให้ความสำคัญในกฎเกณฑ์ของสังคม




*** หมายเหตุ***

แนวคิดดังกล่าวนี้เป็นเพียงแง่มุมหนึ่ง

จากซอกเสียงของคนในสังคมไทยที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันและสนับสนุนให้เกิดความเสมอภาคทางสังคม

    นามปากกา S.s 612


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น