โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

(มีคลิป) รายการคืนคุณให้แผ่นดิน ออกอากาศวันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๔๐ - ๑๔.๐๐ น"โครงการฟาร์มตัวอย่าง ต้านภัยโควิด -19 "


รายการคืนคุณให้แผ่นดิน ออกอากาศวันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๔๐ - ๑๔.๐๐ น"โครงการฟาร์มตัวอย่าง ต้านภัยโควิด -19 "(มีคลิป) 



รายการคืนคุณให้แผ่นดิน ออกอากาศวันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๔๐ - ๑๔.๐๐ น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

"โครงการฟาร์มตัวอย่าง ต้านภัยโควิด -19 "
รูปแบบการดำเนินโครงการฯ ใช้รูปแบบของเกษตรทฤษฎีใหม่
โคก หนอง นา โมเดล
โดยดำเนินโครงการในพื้นที่ของฟาร์มตัวย่างทั่วประเทศ
จำนวน ๓๑ ฟาร์ม

โดยในพื้นที่รับผิดชอบของ กองทัพภาคที่ ๑
ศุนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน
ภาค ๑ จำนวน ๓ ฟาร์ม
ใน ๓ จังหวัด ดังนี้



1. โครงการฟาร์มตัวอย่างตาม
พระราชดำริ
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
หนองลาด ตำบลท่าข้าม  อำเภอค่ายบางระจัน
จังหวัดสิงห์บุรี



2. โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
บ้านยางกลาง ตำบล
สีบัวทอง อำเภอแสวงหา  จังหวัดอ่างทอง



3. โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
บ้านบ่อหวี ตำบลตะนาวศรี  อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

   โคก หนอง นา โมเดล

     ท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีสาเหตุหลักมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตของมนุษย์ ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสมดุลระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม การเกิดปรากฎการ์ณต่างๆ ที่เป็นภัยคุกคามต่อแหล่งผลิตอาหาร เช่น ความแห้งแล้ง น้ำท่วม โรคระบาดศัตรูพืช และอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรอย่างมาก คือ การเกิดภัยแล้งที่นับวันจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในทุกปี
     ที่ผ่านมา ประเทศไทยรับมือกับปัญหาภัยแล้งในหลากหลายรูปแบบ เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำ การสร้างเขื่อน หรือการจัดทำระบบชลประทาน ซึ่งรูปแบบเหล่านี้สามารถใช้แก้ไขปัญหาได้ในบางพื้นที่ของประเทศไทยเท่านั้น สำหรับพื้นที่ห่างไกลนอกเขตชลประทานที่มีพื้นที่ถึง 121,200,000 ไร่ ยังคงต้องประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร


     รูปแบบ "โคก หนอง นา" โมเดล
"โคก หนอง นา โมเดล" จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ ที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้น้อมนำพระราชดำรัสใน
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้วยพระราชหฤทัยอันมุ่งมั่นในการ
สืบสาน รักษา และ  ต่อยอด ตามพระปณิธาน
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำ และพื้นที่
การเกษตร โดยมีการผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกัน โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 :
30 : 10 ดังนี้ 30% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อทำหนองและคลองไส้ไก่ 30% สำหรับทำนา ปลูกข้าว
30% สำหรับทำโคกหรือปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจ
เพื่อให้ได้ประโยชน์ คือมีกิน มีอยู่มีใช้มีความสมบูรณ์และความร่มเย็น และ 10% สำหรับที่อยู่อาศัย และ เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา วัว และควาย เป็นต้น

พร้อมสัมภาษณ์ในรายการคืนคุณให้แผ่นดิน

นายชำนาญ เตรัตน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี

พลตรี ธนสิน สุขโข
ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๓

พันโท นพพร อธินุวัฒน์
ผู้บังคับกองพันทหารช่างที่ ๒
กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์

  อย่าพลาดติดตามชม
เกี่ยวกับ โคก หนอง นา โมเดล ใน รายการคืนคุณให้แผ่นดิน ออกอากาศวันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2563 เวลา 13.40-14.00 น. สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
คุณสุรีย์พร ดวงทอง
คุณภูวฤทธิ์ พุ่มพวง
พิธีกรดำเนินรายการคืนคุณให้แผ่นดิน

CR..ศิริพร จงศิริ
ผู้อำนวยการใหญ่ผลิตรายการคืนคุณให้แผ่นดิน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น