(ชมคลิป)สาธารณสุขอำเภอรือเสาะ สร้างความเข้มแข็ง พชอ.
เน้นบูรณาการทุกภาคส่วน แก้ปัญหาตามบริบทพื้นที่
ประพันธ์ ฤทธิวงศ์
/บก.เวปปลายด้ายขวาน@ชายแดนใต้
เมื่อวันที่
8 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส นายวิชาญ ชัยเศรษฐสัมพันธ์
นายอำเภอรือเสาะ ประธาน พชอ.ประชุม คณะกรรมการการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอรือเสาะ
(พชอ.)ครั้งที่1 ประจำปี2562 เพือพิจารณากำหนดประเด็นปัญหาและการขับเคลื่อนการพัฒนา
โดยมีนายนิวัน นิโซะ สาธารณสุขอำเภอรือเสาะ เลขานุการ พชอ. พร้อมด้วยคณะกรรมการการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอรือเสาะ (พชอ.)และหน่วยงานราชการ องค์กรภาคประชาชนเข้าร่วมประชุม
โดยมีนายนิวัน นิโซะ สาธารณสุขอำเภอรือเสาะ เลขานุการ พชอ. พร้อมด้วยคณะกรรมการการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอรือเสาะ (พชอ.)และหน่วยงานราชการ องค์กรภาคประชาชนเข้าร่วมประชุม
เพื่อ สร้างความเข้มแข็ง พชอ.
เน้นบูรณาการทุกภาคส่วน แก้ปัญหาตามบริบทพื้นที่
ด้วยแนวคิด “อำเภอรือเสาะน่าอยู่
ประชาชนอาศัยสิ่งแวดล้อมที่สะอาด มั่นคง ปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี พัฒนาบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรม”
นายวิชาญ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ นายอำเภอรือเสาะ กล่าวว่า สำหรับในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งสร้างความเข้มแข็งการดำเนินงาน พชอ. โดยสนับสนุนงบประมาณ และกำหนดนโยบายให้ พชอ.เป็นแกนหลักขับเคลื่อนกระบวนการทำงาน ยกระดับคุณภาพ จัดประชุมอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง ร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหาตามบริบทของพื้นที่
โดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ภาคเอกชนและภาคประชาชน เน้นการให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ที่กระทบคุณภาพชีวิตตลอดจนสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีสุขภาวะทางกาย จิต
และสังคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืนสืบไป
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้
๑) นายวิชาญ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ นายอำเภอรือเสาะ ประธานการประชุม
๒) นายนิวัน นิโซะ สาธารณสุขอำเภอรือเสาะ เลขานุการการประชุม
๓) นพ.มาหะมะ
เมาะมูลา รพ.รือเสาะ
๔) นายมะกะตา
เจ๊ะแล อบต.สามัคคี
๕) นส.นูรีฮัน หะสาเมาะ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ
๖) นายฐิติภัทร เที่ยงถิ่น ปลัดอำเภอรือเสาะ
๗) ร.ต.อ.สุชาติ รัตนสุวรรณ สถานีตำรวจภูธรอำเภอรือเสาะ
๘) นายรอยาลี
มูซอ ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๑ ตำบลรือเสาะออก
๙) นางสาวนันทิยา เทศน้อย โรงเรียนรือเสาะชนูปถัมภ์
๑๐) นายการิมาน มะยิ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรือเสาะ
๑๑)นางอรวรรณ
จูมะ รพ.สต.บาโงกือเต๊ะ
๑๒) นายจุมพล
เด็งกะ รพ.สต.มือและห์
๑๓)นายฮัสบุลเลาะห์ แกต่อง รพ.สต.ลาโละ
๑๔) นายธีระ
อัครมาส ภาคเอกชน
๑๕)นายเจริญลาภ นราสัตยวงศ์
ภาคเอกชน
๑๖)นายประพันธ์ ฤทธิ์วงศ์ ภาคเอกชน
๑๗) นางสาวชนกณ์พรรณ ยัญญะจันทร์ ภาคเอกชน
(ธนาคารออมสิน)
๑๘) นางสาวศรีสุกาญจน์ ตรีนนทสกุล ภาคเอกชน
(ธนาคารออมสิน)
๑๙) นายทวี
ดำมินทร์ ภาคประชาชน
๒๐) นายกรีฑา แดงดี ภาคประชาชน
๒๑) นายฮานาปี แวมิง ภาคประชาชน
๒๒) นายอิรฝัน บินนิเลาะ ภาคประชาชน
๒๓) นางจิรัชยา เพ็ชรพิมล ภาคประชาชน
๒๔) นายอัสมิน
สาและ ภาคประชาชน
๒๕) นายบาสรี มะเซ็ง ภาคประชาชน
๒๖) นางสาวรูซียะ มาฮะ ภาคประชาชน
๒๗) นางนิซารีฟะห์ เจ๊ะมะ สสอ.รือเสาะ ผู้ช่วยเลขานุการ
สรุปผลการประชุมดังนี้
๑. อำเภอรือเสาะประกอบด้วย ๙ ตำบล ๗๒
หมู่บ้าน จำนวน ๑๔,๑๙๙ หลังคาเรือน
๑๗,๐๔๕ ครอบครัวมีประชากร ๗๐,๒๖๐ คน สัดส่วนประชากร แยกตามกลุ่มวัย ดังนี้ ๑)
วัยเด็ก อายุ แรกเกิด – ๑๔ ปี ๑๗,๐๕๐คน
คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๓ วันรุ่น อายุ ๑๕- ๒๔ ปี จำนวน ๑๓,๓๐๑
คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙ วัยทำงานอายุ ๒๕ – ๕๙ ปี จำนวน ๓๓,๐๓๑
คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘ วัยสูงอายุ อายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป จำนวน ๖,๘๗๘
คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๙ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจะพบว่า ประชากรอำเภอรือเสาะ
ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะพึ่งพิงได้แก่ วัยเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุ มีจำนวนทั้งสิ้น
๓๗,๒๒๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๑
ซึ่งมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยทำงาน ๔,๑๙๘ คน มีเด็กกำพร้าที่อยู่ในช่วงอายุ
ต่ากว่า ๑๕ ปี ประมาณ ๕๕๐ คน และ ร้อยละ ๑๐ ของเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี
ไม่ได้รับการศึกษาตามเกณฑ์บังคับ
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๙๔ และศาสนาพุทธ ร้อยละ ๖
รายได้ของประชากรมาจากภาคการเกษตร ทำสวนยางพาราเป็นหลัก ค้าขาย และรับจ้าง
๒. ระบบภูมิต้านทานของบุคคล ทั้งความรู้
ความเชื่อ การศึกษา ทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสังคมและครอบครัว ชุมชน
การเมือง เหตุการณ์ความไม่สงบ ทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
๓.
ที่ประชุมได้นำเสนอประเด็นต่างๆเพื่อการขับเคลื่อนสุขภาวะของประชาชน ดังนี้
๓.๑ โดยในวัยทำงานของอำเภอรือเสาะ
พบว่ามีอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ประมาณ ๘,๐๐๐ คน มีผู้ป่วยภาวะไตวายจำนวนประมาณ
๔๐๐ คน จากพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน
เค็ม มัน เป็นต้น ทั้งนี้ควรส่งเสริมการขี่จักรยาน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม
โดยพบว่าการขี่จักรยานให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้มิตรภาพ
ประหยัดและสนับสนุนการท่องเที่ยววิถีชุมชน
๓.๒
สนับสนุนการใช้พื้นที่ สถานที่ที่เป็นสถานที่สาธารณะอย่างแท้จริง
ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอุปกรณ์กีฬา เช่น
เครื่องฟิตเนสที่ตั้งประจำอยู่ในหน่วยงานราชการ
ซึ่งประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการใช้บริการมากนัก
๓.๓
อำเภอรือเสาะที่มีชื่อเสียงเป็นอำเภอที่มีการจัดการกีฬาดีเด่น เช่น ชมรมกีฬาฮอกกี้
วอลย์บอล เป็นต้น แต่ควรมีระบบการกระจายความนิยม
สนับสนุนให้ทุกพื้นที่สนับสนุนการจัดการกีฬาโดยชุมชนเอง โดยมีพี่เลี้ยง เช่น
โรงเรียน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๓.๔
สนับสนุน ส่งเสริมการดูแลคุณภาพของวัยรุ่น ที่มีความเสี่ยงเรื่องอนามัยเจริญพันธ์
การให้ความรู้เรื่องยาเสพติด และเพิ่มทักษะชีวิต
๕ สนับสนุน ผลักดันเรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อม
การจัดการขยะ แยกขยะ โดยประสานขอความร่วมมือจากชุมชน โรงเรียน
รวมทั้งการส่งเสริมให้ร้านอาหาร ร้านชำ ร้านชำแหละอาหารสด (ไก่) ในอำเภอรือเสาะ
เป็นร้านที่สะอาด ปลอดภัย โดยคำนึงประโยชน์ของประชาชนและสร้างภาพลักษณ์ของอำเภอรือเสาะเมืองสะอาดด้วย
ซึ่งต้องฝากให้ สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งร่วมขับเคลื่อน
๓.๖
สนับสนุนการดำเนินการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มากขึ้น
ซึ่งควรกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน การวางแผน
และการเชิญชวนให้ประชาชนให้ความร่วมมือมากขึ้น
๓.๗ สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานตามโครงการราดำริ
ซึ่งอำเภอรือเสาะ มีโครงการราชดำริทั้งสิ้น ๖ แห่ง
รวมทั้งมีฟาร์มตัวอย่างซึ่งเป็นแห่งอาหารที่ปลอดภัย
และเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ประชาชน
๓.๘
ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ของอำเภอรือเสาะอย่างกว้างขวาง
ซึ่งไม่เฉพาะแต่พื้นที่ของเทศบาล เพราะข้อมูลปัจจุบันเผยแพร่ได้ง่ายและเร็ว
เชื่อมโยงกันได้
๓.๙
สนับสนุนให้กลุ่มจิตอาสาต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมคุณภาพชีวิตอำเภอ
๓.๑๐ ควรสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและภาคเอกชน
เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในลักษณะวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือกิจการเพื่อสังคม
๓.๑๑ ประธานการประชุมสรุป
โดยฝ่ายเลขาจะต้องไปกำหนดและสรุปประเด็นการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
รวมทั้งการตั้งคณะทำงานในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็น
ซึ่งจะมีการจัดประชุมหารือในโอกาสต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น