โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561

พรรคประชาชาติ โดย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคฯ ชวนเรียนรู้พัฒนาการการเมืองไทย และประวัติศาสตร์การรัฐประหารเนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ ผ่านข้อเขียนของเขาข้างล่างนี้

พรรคประชาชาติ โดย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคฯ ชวนเรียนรู้พัฒนาการการเมืองไทย  และประวัติศาสตร์การรัฐประหารเนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ ผ่านข้อเขียนของเขาข้างล่างนี้


วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็น “วันรัฐธรรมนูญ” ซึ่งตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานและประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับฉบับที่ 2 (ต่อจากรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่หลังจากคณะราษฎร เปลี่ยนแปลงการปกครองและก็ทูลเกล้าถวายฯ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย เป็นฉบับการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 2475) ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีอายุใช้ยาวนานที่สุดในบรรดารัฐธรรมนูญทุกฉบับของไทย คือใช้งาน 13 ปี 4 เดือน 29 วัน

 รัฐธรรมนูญฉบับนี้มี 67 มาตรา หลักการคือ มีสภาเดี๋ยว แต่มีสมาชิก 2 ประเภท ประกอบด้วย ประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมโดยราษฎรเลือกผู้แทนตำบล แล้วผู้แทนตำบลก็เลือกสมาชิกสภาผู้แทนอีกทอดหนึ่งในสัดส่วนประชากร 200,000 คนต่อผู้แทนราษฏร 1 คน และสมาชิกประเภท2 นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายรายชื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง จำนวนเท่ากับสมาชิกประเภท 1 และสามารถแต่งตั้งจากราชการประจำได้

 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีการแก้ไข 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่1 แก้ไขชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น”ประเทศไทย” เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2482 เปลี่ยนเป็น “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475” ครั้งที่ 2.เมื่อ 1 ตุลาคม 2482 แก้ไขโดยยืดบทเฉพาะกาลการดำรงตำแหน่งของสมาชิกประเภท 2 จาก 10 ปี เป็น 20 ปี และ ครั้งที่ 3 เมื่อ 3 ธันวาคม 2485 แก้ไขขยายการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากปกติวาระ 4 ปี ขยายออกไปอีกคราวละไม่เกิน 2 ปี ถ้ามีเหตุการณ์พ้นวิสัย (เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2)

“วันรัฐธรรมนูญ” อย่างน้อยเป็นการสะท้อนพัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย ที่อาจมีหลายวิธีในการศึกษา แต่การศึกษาจากรัฐธรรมนูญนับเป็นวิธีที่เหมาะสมกับบริบท เพราะประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญบ่อยมากถึงฉบับปัจจุบัน อันเป็นฉบับที่ 20 แล้ว ที่อาจเรียกว่า “วงจรอุบาทว์” คือ ปฏิวัติรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง แล้วกลับไปปฏิวัติรัฐประหาร วนเวียนเป็นวงจรไม่จบสิ้น

ดังนั้นการศึกษารัฐธรรมนูญจึงจะทำให้เราเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงจุดเด่น จุดด้อยที่สำคัญในรัฐธรรมนูญทั้ง 20 ฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าของการต่อสู้และรักษาไว้ซึ่งการปกครองในวิถีทางประชาธิปไตยของเสรีชนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ข้อค้นพบอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือว่า การปฏิวัติรัฐประหารอาจจะมีคนบางกลุ่มพอใจบ้างในระยะเวลาสั้นๆ แต่ในระยะยาว การปฏิวัติรัฐประหาร ส่งผลเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างมาก ภาพลักษณ์ของประเทศกับความเป็นประชาธิปไตยในสายตาชาวโลกถดถอย ที่สำคัญการรัฐประหารนำมาสู่ความเหลื่อมล้ำทั้งด้านสิทธิเสรีภาพ  ด้านความเป็นธรรม และด้านเศรษฐกิจเป็ยอย่างยิ่ง ขณะที่ผู้ได้รับประโยชน์จากการปฏิวัติรัฐประหารมีเพียงกลุ่มทหาร กลุ่มข้าราชการ และกลุ่มผู้รับใช้เผด็จการเพียงกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น

ขอบคุณแวดาโอ๊ะ หะไร จ.ยราธิวาส

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น