สงขลานายอำเภอรัตภูมินำกำลังทหารและตำรวจเจ้าตรวจสอบกลุ่มบุคคลต้องสงสัยอ้างชื่ออ้างชื่อว่าเป็น คณะกรรมการ (ชุดพิเศษ)เพื่อร่วมส่งเสริมสนับสนุนขับเคลื่อนประเทศไทย(คพ.สปท.
นายอำเภอรัตภูมินำกำลังทหารและตำรวจเจ้าตรวจสอบกลุ่มบุคคลต้องสงสัยอ้างชื่ออ้างชื่อว่าเป็น
คณะกรรมการ (ชุดพิเศษ)เพื่อร่วมส่งเสริมสนับสนุนขับเคลื่อนประเทศไทย(คพ.สปท.)
ดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริระดมรับสมัครชาวบ้านเป็นสมาชิกอ้างให้เงินทำกินไร่ละ
2แสน5 หมื่นบาท
สอบแกนนำพบพิรุธหลายอย่างอ้างชื่อระดับดอกเตอร์เป็นเจ้าของโครงการโทรศัพท์ไปหาปัดแกนนำเข้าใจผิดไม่ได้จ่ายเงินแต่อย่างใด
แต่จะระดมทุนจากชาวบ้านตั้งเป็นสหกรณ์หมู่บ้าน
สั่งยุติทันทีรอการตรวจสอบข้อเท็จจริงหวั่นชาวบ้านถูกหลอก เผยเคยเกิดขึ้นมาแล้วที่อ.ระโนด
จ.สงขลา ชาวบ้านถูกหลอกให้สมัครเป็นสมาชิกแต่ไม่ได้เงินแม้แต่บาทเดียว
เมื่อเวลา11.00น.วันนี้(18ธ.ค.)กำลังเจ้าหน้าที่3ฝ่ายทั้งฝ่ายปกครองอำเภอรัตภูมิ
ทหาร ร.5พัน1 ค่ายเสนาณรงค์ และตำรวจ สภ.รัตภูมิ นำ นางพิมพ์ธาดา จันทร์สุริยะ
นายอำเภอรัตภูมิ
ได้ร่วมกันเข้าตรวจสอบบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีการระดมชาวบ้านมาประชุม
ณ ที่ทำการกองทุนหมู่บ้าน บ้านคลองยางแดง หมู่4 ต.ท่าชะมวง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
โดยอ้างชื่อว่าเป็น คณะกรรมการ
(ชุดพิเศษ)เพื่อร่วมส่งเสริมสนับสนุนขับเคลื่อนประเทศไทย(คพ.สปท.)
โดยการชักชวนให้ชาวบ้านเข้าร่วมโครงการ โดยอ้างว่า
เป็นโครงการในพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10
ได้นำมาสานต่อ
เนื่องจากได้รับการแจ้งเบาะแสและร้องเรียนของชาวบ้านว่ามีพฤติกรรมต้องสงสัยและให้กำนันทั้ง5
ตำบลของอ.รัตภูมิ ช่วยกันติดตามมา2 อาทิตย์กระทั่งทราบว่าวันนี้จะมีการระดมชาวบ้านมาสมัครเป็นสมาชิกและประชุมกันที่
ที่ทำการกองทุนหมู่บ้านบ้านคลองยางแดง
ซึ่งจากการเข้าตรวจสอบพบว่ามีแกนนำทั้งที่เป็นชาวอำเภอรัตภูมิและจากอำเภอใกล้เคียงนั่งหัวโต๊ะ
นำโดย นายประภาส ยอดสี และนายวรเมธ สุทธินิมิตร และมีชาวบ้านในพื้นที่ราว50 คนเข้าร่วมประชุม
พร้อมกับเตรียมหลักฐานและเอกสารต่างๆมาสมัครเป็นสมาชิก
ทางนายอำเภอรัตภูมิ
จึงขอให้ยุติการประชุมเอาไว้ก่อนพร้อมกับเรียกแกนนำมาสอบถามที่มาที่ไปของโครงการนี้ว่าเป็นโครงการอะไรมีจริงหรือไม่รวมทั้งขั้นตอนวิธีการต่างๆของการดำเนินโครงการ
ซึ่งทางแกนนำอ้างว่าเป็นโครงการช่วยเหลือเกษตรกร
โดยผู้สมัครเป็นสมาชิกจะได้รับเงินช่วยเหลือนำไปประกอบอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
คนละ 250,000 บาทต่อไร่ หรือคนไหนไม่มีที่ดินก็ให้นำเงินนี้ไปซื้อที่ดินทำกิน
โดยหลักฐานที่ใช้สมัครมีสำเนาบัตรประชาชนถ่ายภาพสี
รูปถ่ายใส่สูตร 2 นิ้ว และต้องลงลายมือชื่อพร้อมลายนิ้วมือ
รวมทั้งจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหมู่บ้านหมู่บ้านละ15 คน
เพื่อทำหน้าที่ระดมสมาชิกในหมู่บ้าน
และใบแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหมู่บ้านต้องติดอากรสแตมป์60บาท
และอ้างชื่อด็อกเตอร์อภิชาติ ชำนาญ ชาวจ.นครราชสีมา เป็นประธานโครงการนี้และเป็นผู้อนุมัติใบสมัคร
แต่หลังที่นายอำเภอรัตภูมิ
ได้ติดต่อโทรศัพท์ไปยังดอกเตอร์อภิชาติ ชำนาญ ที่ถูกอ้างชื่อ
แต่กลับได้รับการปฏิเสธว่าเป็นการเข้าใจผิดของสมาชิกเพราะไม่มีการจ่ายเงิน 2 แสน5
หมื่นบาทให้กับสมาชิก หรือให้ติดอากรแสตมป์60บาทในหนังสือแต่งตั้งคณะทำงานแต่อย่างใด
และอธิบายรายละเอียดว่าจะเรียกประชุมคณะทำงานทุกจังหวัดและทุกอำเภอเพื่อทำความเข้าใจอีกครั้งในเร็วๆนี้พร้อมกับจะแถลงข่าวรายละเอียดให้ทราบพร้อมกันทั่วประเทศ
และยังบอกถึงรายละเอียดโครงการว่าเมื่อรณรงค์ให้ประชาชนสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการแล้ว
จะมีการระดมทุนจากประชาชนผู้สมัครเพื่อนำเงินไปบริหารในรูปแบบของสหกรณ์หมู่บ้าน
เพื่อบริหารจัดการโครงการในระดับหมู่บ้านต่อไป
นางพิมพ์ธาดา จันทร์สุริยะ
นายอำเภอรัตภูมิ กล่าวว่า
เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ได้ให้แกนนำยุติการระดมชาวบ้านให้สมัครเป็นสมาชิกเอาไว้ก่อน
เพื่อที่จะสืบสวนข้อเท็จจริงของรายละเอียดเรื่องนี้อีกครั้งว่าจริงหรือไม่
เพราะมีข้อสงสัยหลายอย่างเกี่ยวกับเอกสาร
ที่อาจนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นกับผู้ครอบครองและอาจสร้างความเสียหายให้ประเจ้าของเอกสารได้ในภายหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าโครงการในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาแล้วที่อ.ระโนด
จ.สงขลา
มีรูปแบบเดียวกันซึ่งจะให้ชาวบ้านสมัครค่าสมาชิกตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพันแต่สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรคืนมาแม้แต่บาทเดียว
ขอบคุณภาพ/ข่าว มณีรัตน์ แก้ววิเชียร
ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสงขลา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น