โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บรรยายพิเศษ 'การบริหารงานยุติธรรมระดับสูง' รุ่นที่ 10 (ยธส.10)

บรรยายพิเศษ 'การบริหารงานยุติธรรมระดับสูง' รุ่นที่ 10 (ยธส.10)

เมื่อเช้าวันที่ 20 ธ.ค.61 เวลา 09.00 น.ที่ผ่านมา  สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม เชิญ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม

 บรรยายพิเศษเรื่อง 'การบริหารความแตกต่างด้วยหลักคุณธรรมจริยธรรม' ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร 'การบริหารงานยุติธรรมระดับสูง' รุ่นที่ 10 (ยธส.10) ณ ห้องสัมมนา 1 วิทยาลัยกิจการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่

ม.ล.ปนัดดา กล่าวตอนหนึ่งกับข้าราชการหลักสูตรผู้บริหารงานยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 10 ความว่า :

"จริยธรรม หรือ 'จริยศาสตร์' เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญาที่ผู้คนให้ความสนใจมากในวันนี้ ในบริบทของการสร้างธรรมาภิบาลประเทศ ชาติไหนๆ สังคมใดๆ แม้ไม่มีปัญหา และเป็นสังคมอารยะแล้วก็ตาม นักศึกษาก็ยิ่งอยากเรียนกันมากเพื่อทวีคูณเพิ่มพูนเกราะป้องกันตัวได้อย่างยั่งยืน เหมือนกับเป็นศาสตร์ที่ใครๆ อยากไขว่คว้า เรียนรู้ และเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง

 เพื่อการพัฒนาสังคม พัฒนาประเทศ และระบบการทำงานที่ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธา ความโปร่งใส ระบบการศึกษาของไทยเองก็ต้องเน้นศาสตร์ดังกล่าวนี้ควบคู่ไปกับศาสตร์อื่นๆ ที่จะทำให้การเรียน ระบบทางความคิด และการกระทำ เป็นบุคลากรผู้กอปรด้วยธรรมาภิบาล ยึดหลักสุจริตธรรม อย่างเบ็ดเสร็จ อย่างเช่นอะไรที่เป็นความขาดตกบกพร่องทางการกระทำอันมีที่มาจากความคิดหรือความเชื่อที่ผิดแต่แรก จะได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที

การศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายโดยย่อ 'จริยธรรม' หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว อันมีที่มาจากคำ 2 คำคือ 1) จริยะ กับ 2) ธรรม

'จริยะ' แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ควรดำรง ส่วนคำว่า 'ธรรม' แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม

ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน จึงนิยามได้อย่างถ่องแท้ มีความชัดเจนว่า 'จริยธรรม' คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี อาจเรียกว่า 'moral philosophy' หรือ 'หลักจริยธรรม' คือ แนวทางความคิดและการกระทำอันมีความสอดคล้องกับหลักศีลธรรมจรรยา กฎทางศีลธรรม อันเป็นความดีที่เหมือนกันทั่วโลก ไม่ต่างกัน

อยากให้ผู้บริหารได้เรียนรู้ ค้นคว้า ศึกษา และนำสู่การปฏิบัติว่าด้วยหลักทางจริยศาสตร์ ซึ่งวิชาปรัชญาว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตคน กำหนดกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานในการตัดสินความประพฤติ

และการครองชีวิตว่า ถูก ผิด ดี ชั่ว ควรไม่ควรอย่างไร อะไรควรกระทำเป็นลำดับแรกหรือหลัง สิ่งใดควรประหยัดไม่ให้สิ้นเปลืองต่องบประมาณแผ่นดิน ศึกษาให้ได้รับคำตอบกระจ่างชัดแก่ตนเอง อันจะเป็นการกำหนดพฤติกรรมทางความคิดและการกระทำ ให้ตรงกับปรัชญาแผ่นดิน คือ ความพอเพียง ความไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย

จริยศาสตร์ จริยธรรม หรือ 'ethics' จึงเป็นศาสตร์ว่าด้วยความประพฤติ หรือการกระทำของมนุษย์ (ethics : science of moral; rules of conduct) ที่ผู้บริหารพึงต้องมีให้ครบถ้วนหรือมากเข้าไว้ในการบริหารราชการด้วยความสุขใจ ภาคภูมิใจ หาใช่ดำรงชีวิตอยู่บนความทุกข์ตรมหรือฝันร้ายตลอดเวลา"

#สำนักงานกิจการยุติธรรมกระทรวงยุติธรรม#
#ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต2จังหวัดราชบุรี#

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น