โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

(ชมคลิป) อีกตำนานอำเภอรือเสาะ ประวัติศาสตร์ต้องจารึก เกิดอัศจรรย์ เทวดาฟ้าดินรับรู้พระอาทิตย์ทรงกรด พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งหลวงพ่อโต ซำปอกง รุ่น 1


  (ชมคลิป) อีกตำนานอำเภอรือเสาะ ประวัติศาสตร์ต้องจารึก    เกิดอัศจรรย์ เทวดาฟ้าดินรับรู้พระอาทิตย์ทรงกรด      พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งหลวงพ่อโต ซำปอกง รุ่น 1

 ประพันธ์  ฤทธิวงศ์ / บก.เวปปลายด้ามขวาน@ชายแดนใต้/ ภาพข่าว



  

       เนื่องด้วยวัดราษฏร์สโมสร  ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส  ได้จัดสร้างอุโบสถและพระประธานองค์ใหญ่ขนาดหน้าตัก 12.345 เมตร  ซึ่งต้องใช้ปัจจัยจำนวนมาก เพื่อการนี้ ทางวัดจึงได้จัดพิธีเททองหล่อพระองค์ต้นแบบชนาดหน้าตัก 50 นี้ว เมื่อวันที่ 20  ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ



     เพื่อระดมทุนในการจัดสร้างอุโบสถ และพระประธานองค์ใหญ่หลังใหม่ ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ให้สำเร็จลุล่วงไป ทางวัดจึงได้จัดสร้างพระกริ่งหลวงพ่อโต ซำปอกง รุ่น 1 มีจำนวน 4 เนื้อ คือ



           พระกริ่งหลวงพ่อโต ซำปอกง รุ่น1 เนื้องทองคำ จัดสร้าง 9 องค์ เนื้อเงิน 599 องค์ เนื้อนวโลหะ  1,999 องค์ และเนื้อทองเหลือง 10,000 องค์


           พระครูวรปัญญาประยุต  เจ้าอาวาสวัดราษฏร์สโมสร เจ้าคณะอำเภอรือเสาะ – ศรีสาคร ได้กล่าวว่า  หลวงพ่อโต ซำปอกง เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประดิษฐ์ฐานอยู่ ณ วัดพนัญเชิง  พี่น้องชาวจีนและพุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพนับถือมาก



          พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระโบราณเก่าแก่สร้างมาก่อนตั้งพระนครศรีอยุธยาธานีของประเทศไทย  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้พระราชทานนามว่า “ พระพุทธวิถีนายก” ปัจจุบันนี้มีพระหลวงพ่อโต ซำปอกง ของประเทศ ไทย อยู่ .3 องค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 องค์  กรุงเทพมหานคร ฝังธนบุรี 1 องค์ จันทบุรี 1 องค์ ซึ่งมีชื่อเหมือนกันหมดทั้ง 3 องค์

          
จ้าคณะอำเภอรือเสา- ศรีสาคร กล่าวอีกว่า  หลวงพ่อโต ซำปอกง  ได้ไปขออนุญาตที่วัดพนัญเชิง ขอใช้ชื่อ หลวงพ่อโต ซำปอกง เป็นชื่อรองจาก ชื่อจริงซึ่งยังไม่ได้ตั้งเป็นทางการ 


          ในการหล่อพระต้นแบบหน้าตักกว้าง 50 นี้ว เพื่อจะได้ขยายปั้นหุ่งพระหน้าตัก 12. 345 เมตร ทางวัดจึงได้จัดสร้างพระกริ่งหลวงพ่อโต  ซำปอกง ให้ทานสาธุชน เช่าไปบูชาเพื่อความเป็นศิริมงคล แก่ตนเองและครอบครัวสืบไป จึงนับเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญของวัด เพราะโดยมากจะสร้างเป็นพระพิมพ์ ที่จะสร้างเป็นพระกริ่งนั้นมีน้อยมาก

          สำหรับพิธีการพุทธาภิเษกกพระกริ่งหลวงพ่อโต ซำปอกง รุ่น  1 เมื่อวันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม 2561 ตรงกับ วันขึ้น 11 คำ สิสทธิโชค เดือน 11 ปีจอ เวลา 09.39 น.ที่ผ่านมา  เมื่อถึงเวลาพระเกจิอาจารย์เข้านั่งประจำที่พร้อมพระสวดพุทธาภิเษก พระครูวรปัญญาประยุต  เจ้าอาวาสวัดราษฏร์สโมสร เป็นประธานจุดเทียนนวหรคุณ และเจิมเทียนชัย และจุดเทียนตามลำดับ พระสวดพุทธาภิเษก เริ่มสวดพุทธาภิเษก  พระเกจิอ่าจารย์นั่งอธิษฐานจิต 

     เวลาผ่านไปถึงเวลา 10.19 น. เกิดอัศจรรย์ เทวดาฟ้าดินรับรู้พระอาทิตย์ทรงกรดอยู่เป็นเวลานาน จนเสร็จพิธีเวลา 11.09 น. พระเทพศีลวิสุทธิ์  เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส ประธานในพิธีทำพิธีดับเทียนชัย เป็นอันเสร็จพิธีพุทธาภิเษก



      ในงานเดียวกัน วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม  2561 มีการแสดงหนังตะลุงธรรมรงค์ ตะลุงศิลป์ โดย นายธรรมรงค์ คงวัดใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส  เพื่อสมโภชองค์ผ้าป่า ได้เกิดหพระจันทร์ทรงกลด







      และในวันรุ่งขึ้นวันที่ 20 ตุลาคม 2561  พระอาทิตย์ก็ทรงกลด นับเป็นศิริมงคลเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งเวลา 14.29 น. ได้ทำพิธีเททองหล่อพระต้นแบบ โดยมีพลเอกมณี  จันทร์ทิพย์    ผู้แทนพิเศษรัฐบาล/ที่ปรึกษา ผอ.รมน.ภาค 4 เป็นประธาน ช่วงพิธีเททองหล่อพระต้นแบบ  ท้องฟ้าที่เปิดสว่าง กลับมืดครึ้มหลังจากเสร็จพิธี  หลังจากนั้น ฝนตกก็กระหน่ำทั่วอำเภอรือเสาะ



      นับว่า  อีกตำนานอำเภอรือเสาะ ประวัติศาสตร์ต้องจารึก  


สำหรับเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกพระกริ่งหลวงพ่อโต ซำปอกง รุ่น 1 วัดราษฏร์สโมสร  อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
1.       พระเทพศีลวืสุทธิ์  เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส วัดประชุมชนชลราธา นราธิวาส
2.       พระครูวรปัญญาประยุต  เจ้าอาวาส วัดราษฏร์สโมสร เจ้าคณะอำเภอรือเสาะ – ศรีสาคร
3.       พ่อท่านเขียว  วัดห้วยเงาะ ปัตตานี
4.       หลวงพ่อล้าน  วัดขนาย  สุราษฏร์ธานี
5.       หลวงพ่อภัตร์  วัดนาทวี  สงขลา
6.       หลวงพ่อจ่าง วัดน้ำรอบ  สุราษฏร์ธานี
7.       พ่อท่านพล  วัดนาประดู่ ปัตตานี
8.       พ่อท่านถวิล  วัดยะหาประชาราม ยะลา
9.       พ่อท่านแจ้ง  วัดบาละ ยะลา
10.   พ่อท่านวิเชียร วัดเขาอ้อ พัทลุง
11.   หลวงปู่ทวน  วัดโป่งยาง  จันทบุรี
12.   หลวงปู่แผ้ว  วัดรางหมัน  นครปฐม
13.   หลวงปู่แขก  วัดสุนทรประดิษฐ์  พิษณุโลก
14.   หลวงปู่ต่อ  วัดเขา  นครสรรค์
15.   หลวงพ่อพัฒน์  วัดธารทหาร (ห้วยด้วน ) นครสวรรค์
16.   หลวงปู่บุญมา วัดบ้านแก่ง  ปราจีนบุรี
17.   หลวงปูฉก  วัดสุราษฏร์ธานี
18.   หลวงพ่อสิน  วัดละหารใหญ่ ระยอง
19.   พ่อท่านเอียด  วัดโคกแย้ม  พัทลุง
20.   หลวงพ่อผล  วัดทุ่งนารี  พัทลุง
21.   พระมาหสุรศักดิ์  วัดประดู่  สมุทรสงคราม
22.   หลวงพ่อสุพจน์ วัดศรีทรงธรรม นครสวรรค์






0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น