โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ชาวบ้านบ้านบาตง อ.รือเสาะ รวมพลังจัดกิจกรรมโคมลอยสัมพันธ์ ครั้งที่ 10 ยิ่งใหญ่ ขณะที่จังหวัดเตรียมยกระดับพลัดดันเป็นระดับจังหวัด พร้อมสนับสนุนเป็นชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิธี แห่งใหม่ของจังหวัดนราธิวาส



ชาวบ้านบ้านบาตง อ.รือเสาะ รวมพลังจัดกิจกรรมโคมลอยสัมพันธ์ ครั้งที่ 10 ยิ่งใหญ่ ขณะที่จังหวัดเตรียมยกระดับพลัดดันเป็นระดับจังหวัด พร้อมสนับสนุนเป็นชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิธี แห่งใหม่ของจังหวัดนราธิวาส






                นายไกรวุฒิ ช่วยสถิต พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานเปิดโครงการโคมลอยสัมพันธ์ ครั้งที่ 10 ซึ่งทางชาวบ้านในพื้นที่บาตง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ได้รวมพลังกันจัดขึ้นเป็นเวลาระยะเวลา 10 ปี โดยใช้ช่วงเวลาหลังเทศกาลสิ้นสุดการถือสิลอดในช่วงเดือนรอมฏอน โดยที่ผ่านมาชาวบ้านได้รวบรวมทุนส่วนตัวจัดกิจกรรมขึ้น


             โดยนำเยาวชนในพื้นที่ร่วมกันผลิตโคมลอยขนาดต่างๆทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่รัศมีความกว้า 2 เมตร ยาว 8 – 10 เมตร เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนมักจะแอบเล่นประทัดและโคมลอยในช่วงเวลาเดือนรอมฏอน ซึ่งสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ที่ต้องการความสงบสุข จึงมีการเรียกประชุมกับกลุ่มเยาวชนเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้


              จึงมีผลสรุปจัดเทศกาลนี้ขึ้นจนสามารถจัดเป็นกิจกรรมทีเรียกประชาชนในพื้นที่และต่างถิ่นมาชมกิจกรรมดังกล่าวเป็นจำนวนมากนับพันคน จนทางการต้องสนับสนุนงบประมาณให้เกิดเป็นกิจกรรมที่สร้างความเข็มแข็ง สร้างรายได้ให้ชุมชน จนต้องเตรียมยกระดับให้กิจกรรมนี้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัด และมีประชาชนแห่ชมเกือบหมื่นคนและยกระดับเป็น Otop นวัตวิธีอีกแห่ง 1 ในจังหวัดและเป็นแห่งแรกในภาคใต้โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่และประชาชนที่สนใจมาร่วมเป็นจำนวนมาก

                นายไกรวุฒิ ช่วยสถิต พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า เป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานแก่ประชาชนในพื้นที่ที่เกิดจากความร่วมมือของชาวบ้านบาตง อ.รือเสาะ ที่ได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรมนี้ขึ้นที่เป็นกิจกรรมที่ส่อให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชุมชนที่จัดกันมาเป็นครั้งที่ 10 และยังเป็นส่วนหนึ่งของ Otop นวิตวิธีที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนที่จะดึงนักท่องเที่ยวเข้าชุมชนเพื่อขายอัตลักษณ์ของบ้านบาตงในครั้งนี้


                    โดยในอนาคต Otop นวัตวิธีเช่นนี้ จะดำเนินการต่อไปเรื่อยๆเพราะงานนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเพราะความร่วมมือของทุกภาคส่วนและครั้งต่อไปจะไม่น้อยหน้าไปกว่าครั้งนี้แน่นอนและจะพัฒนาการแสดง การจัดงานไปอีกขั้น



                “และเป็นไปได้สูงที่จะส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส เพราะเป็นอัตลักษณ์อีกอย่างหนึ่งเหมือนกับการจุดบั้งไฟ ในพื้นที่ อ.สุคิริน และที่บ้านบาตงก็มีการปล่อยโคมลอยที่เป็นหนึ่งเดียวในภาคใต้ที่สามารถจัดกิจกรรมเช่นนี้ได้ด้วยตัวเอง

               และในอนาคตถ้ามีการประชาสัมพันธ์ที่ดีและแพร่หลายให้มากกว่านี้ จะมีนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นเข้ามาเที่ยวที่บ้านบาตง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรายได้ให้กับชาวบ้าน สามารถขายสินค้า ขายอัตลักษณ์ ขายภูมิปัญญา ขาย Otop ขายอาหารการกินของตนเองได้และสร้างเศรษฐกิจในชุมชนเข็มแข็งได้”


                ด้านนายฮาแว กอแล็ง ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 ต.บาตง อ.รือเสาะ กล่าวว่า กิจกรรมโคมลอยที่จัดขึ้นในครั้งนี้สร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้าในชุมชนมากกว่าการขายของในช่วงเดือนรอมฏอน 1 เดือน เท่าตัว พร้อมนำสินค้าพื้นบ้าน อาหารการกิน ซึ่ง 9 ปีที่ผ่านมานั้น ทางชุมชนได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้น


                โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ แต่ใช้งบประมาณจากการรวบรวมกันเองของชาวบ้าน และ 9 ปีที่ผ่านไม่ได้จัดยิ่งใหญ่เหมือนในครั้งนี้เพราะได้รับงบประมาณจากพัฒนาการจังหวัดนราธิวาสมาช่วยตั้งงบประมาณให้ และด้วยสภาพเศรษฐกิจของปีที่แล้วไม่ดีจึงงดไป และในปีนี้ได้จัดขึ้นอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ และอยากให้หน่วยงานราชการมาสนับสนุนโครงการนี้ให้มีการจัดทุกปีและยิ่งใหญ่กว่าปีที่ผ่านๆมา

         
       เหตุผลที่มีการจัดโครงการนี้ขึ้นมา เนื่องจากในปี 2553 ที่เศรษฐกิจยังดีอยู่ชาวบ้านส่วนใหญ่ชอบซื้อปะทัดยักษ์ พลุไฟ มาจุดกันตามบ้าน ต่อมาปี 2554 ได้เรียกประชมกับชาวบ้านลงมติให้จัดสถานที่เพื่อจุดปะทัดหรือพลุไฟเล่นกันเป็นที่เป็นทางเพื่อแก้ปัญหาสร้างความรำคาญให้กับชาวบ้านที่เป็นที่เดียว ครั้งเดียวจบ จึงเกิดโครงการนี้ ณ สถานที่สนามของโรงเรียนบ้านบาตงแห่งนี้ในวันรายอที่หกของทุกปี

                “ส่วนเรืองโคมลอยนั้น ตามประวัตสมัยโบราณเล่าต่อๆกันมาว่า เป็นการสื่อสารแบบหนึ่งของคนสมัยก่อนที่ยังไม่มีการคมนาคมที่ก้าวหน้าเหมือนในสมัยนี้ โดยแรงงานที่มาจากประเทศมาเลเซียที่มาขายแรงงานในประเทศไทยและช่วงเทศกาลวันฮารีรายอที่ไม่ได้เดินทางกลับบ้านเกิดได้สร้างโคมลอยด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อจุดให้ลอยขึ้นบนฟ้า เพราะในช่วงกลางคืนลมจะพัดไปทางทิศใต้ และจะทำให้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประเทศมาเลเซียจะได้เห็นและยังเป็นการส่งสัญญาณว่าญาติของเขาที่อยู่ในประเทศไทยยังมีชีวิตอยู่นั้นเอง”

                สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย ศิลปินท้องถิ่นชื่อดัง คือ คามัส คาน อานาซีดจากเด็กนักเรียน การจุดพรุไฟ 1,000 นัด การปล่อยโคมลอยแฟนตาซีลูกยักษ์พร้อมโคมเล็ก จำนวน 100 ลูก การประกวดโคมลอยแฟนตาซีลูกยักษ์ 14 ลูก  การแสดงบนเวที การประกวดโคมลอยแฟนตาซี 24 ลูกพร้อมโคมไฟเล็ก 100 ลูก การจุดพลุ 200 นัด

               โดยภายในงานมีประชาชนทั้งในพื้นที่และต่างถิ่นมาร่วมชมงานเป็นจำนวนมากและจัดขึ้นรวม 2 คืน. โดยในคืนที่ 2 จะเป็นการแข่งขันกีฬาชาวบ้าน จากคนในพื้นที่และต่างถิ่นที่สนใจพร้อมมอบรางวัลเป็นกำลังใจ เพื่อสร้างรอยยิ้มและความสนุกสนานและสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นระหว่างกันเป็นหลัก.

ขอบคุณข่าว.แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส
               
               

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น