โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สตูล เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและการนำเสนอรูปแบบโครงการถนนสะพานสตูล-เปอร์ลิส ( กลุ่มย่อยครั้งที่1 ) พบชาวบ้านส่วนใหญ่ให้การยอมรับ(ชมคลิป)

สตูล เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและการนำเสนอรูปแบบโครงการถนนสะพานสตูล-เปอร์ลิส ( กลุ่มย่อยครั้งที่1 ) พบชาวบ้านส่วนใหญ่ให้การยอมรับ(ชมคลิป)

         เมื่อวันที่  27 ม.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 26 ม.ค.61  เมื่อเวลา 14.00 น.นายสุวรรณ ช่วยนุกูล นายอำเภอเมืองสตูล เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมและมีคณะทำงานจาก ม.อ.นำโดย ดร.วิวัฒน์ สุทธิวิภากร ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ นายพิเศษ เสนาวงศ์ คณะทำงานด้าน ปชส. ดร.พีทักษ์สิทธ์ ชีวรัฐพัฒน์  นายพิสิฐ ศรีวรานันท์ วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ กรมทางหลวงชนบท นายรักชาติ บุหงาชาติ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทสตูล และคณะที่ปรึกษาจากบริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และบริษัทซีวิลดีไซน์แอนด์คอนซัลแต้นส์ จำกัด ลงพื้นที่ณ ห้องประชุมศูนย์สุขภาพประจำตำบลปูยู  อ.เมือง จ.สตูล เพื่อประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ( กลุ่มย่อยครั้งที่1 ) 

          โครงการถนนสะพานสตูล-เปอร์ลิส โดยทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชน หน่วยงาน และองค์กรระดับต่างๆ รับทราบถึงผลการศึกษาด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงผลการศึกษาด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ พร้อมทั้งให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ มีประชาชนในชุมชนเกาะปูยู ทั้ง3 ม.บ้าน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการฯ ดังกล่าว

        แนวทางเลือกทที่ 1 แนวเส้นทางเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 406 บริเวณท่าเรือตำมะลังสู่เกาะปูยูบริเวณ กม.5 + 030 โดยจุดขึ้นเกาะจะอยู่บริเวณบ้านหัวแลม โดยมีระยะทางบนเกาะ 442 เมตร จากนั้นแนวเส้นทางจะอยู่ในทะเล บริวณ กม.13 + 625 เส้นทางจะขึ้นฝั่งบริเวณบูกิ๊ตปูเต๊ะ และมุ่งสู่ชายแดนไทย / มาเลเซีย รวมระยะทางทั้งสิ้น 14.901 กิโลเมตร   แนวทางเลือกที่ 2 แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นโครงการจุดเดียวกับแนวทางเลือกที่ 1 บริเวณปลายทางหลวง 406 โดยเส้นทางผ่านหัวเกาะปูยูใกล้ ๆ กับบริเวณบ้านหัวแหลม ซึ่งแนวทางเลือกนี้จะมีการก่อสร้างทางขึ้น ทางลง และทางแยกต่างระดับ บริเวณ กม. 13 + 795 บริเวณบูกิ๊ตปูเต๊ะ และสิ้นสุดโครงการบริเวณเขตแดนไทย / มาเลเซีย รวมทั้งสิ้น 15.073 กิโลเมตร   รูปแบบการพัฒนาในเบื้องต้นกำหนดเป็นทางเลือก ประกอบด้วย รูปแบบเส้นทางขนาด 2  ช่องจราจร หรือ 4 ช่องจราจร ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณจราจร และการศึกษาด้านเศรษฐกิจ โดยกำหนดเขตทางบนพื้นดิน 60.00 เมตร และในทะเล 50.00 เมตร   สะพานถนนสตูล เปอร์ลิสจะตัดผ่านเกาะปูยูบริเวณ กม.5+ 000.000 ระยะทางประมาณ 400 เมตร ความสูงจากเกาะปูยูประมาณ 9.00 เมตร 

          กำหนดเป็นทางยกระดับเพื่อให้ถนนบนเกาะมีชิองลอดใต้สะพาน 5.50 เมตร การจราจรบนเกาะปูยูสามารถเดินทางได้เหมือนเดิม รูปแบบการเชื่อมการจราจรสู่เกาะปูยูออกแบบสะพานขึ้นและลงเกาะปูยูได้ รวม 4 เส้นทางและก่อสร้างสะพานขึ้นและลง รวม 4 สะพาน ประกอบด้วย  สะพานจากสตูลลงเกาะปูยู สะพานจากเกาะปูยูไปสตูล สะพานจากมาเลเซียลงเกาะปูยู และสะพานจากเกาะปูยูไปมาเลเซีย

   สำหรับโครงการถนนสะพานสตูล-เปอร์ลิส(ตำมะลัง-ปูยู-บูเก็ตปูเต๊ะ)ประเทศไทย-มาเลเซีย เป็นความต้องการของประชาชนจังหวัดสตูลและประชาชนรัฐเปอร์ลิส มายาวนานและมีการขับเคลื่อนโครงการมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา จนกระทั่งเมื่อปี2557 ทางหอการค้าจังหวัดสตูล โดยนายวิทชัย อรุณอร่ามศักดิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดสตูลสมัยนั้น ได้เสนอเรื่องเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ กรอ. จังหวัดสตูล ครั้งที่ 1/2557 และได้นำเสนอโครงการจัดสร้างถนนสะพานสตูล-เปอร์ลิส ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของจังหวัดสตูล สามารถเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ อันจะนำมาซึ่งความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของจังหวัดสตูล และเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยในวันที่ 17 มีนาคม 2560 หอการค้าจังหวัดสตูล ได้เซ็นสัญญากับ บริษัท มิตราคม จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจากบริษัท Poly Technologies Inc. จากประเทศจีน ซึ่งมีศักยภาพด้านเงินทุน ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านโครงการขนาดใหญ่

        เพื่อขับเคลื่อนโครงการถนนสายสะพานสตูล-เปอร์ลิส ตำมะลัง ปูยู บูเก็ต-ปูเต๊ะ ประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย และได้นำความร่วมมือดังกล่าวเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้รองปลัดกระทรวงคมนาคม โดยนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มงานภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง และได้ประชุมหารือเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมาโดยการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 4 ฝ่ายในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สนับสนุนในด้านวิชาการ ได้แก่ การจัดทำขอบเขตงาน การศึกษาความเป็นไปได้ในเชิเศรษฐศาสตร์และสังคม การออกแบบแนวคิดของถนนสะพาน การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หอการค้าจังหวัดสตูล สนับสนุนด้านการทำงานในภาคเอกชน ภาคประชาชน และกลไกของภาคเอกชนในสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ IMT-GT ในพื้นที่ และภาคเอกชนส่วนกลาง

         เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญและยกระดับความสำคัญ , บริษัท มิตราคม จํากัด สนับสนุนด้านข้อมูลและงบประมาณ ซึ่งเพื่อใช้ในการดำเนินงาน หากว่าการดำเนินงาน ประสบปัญหาหรือขัดข้อง ทั้ง 4 ฝ่าย จะร่วมปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมร่วมกันต่อไป โดยบันทึกข้อตกลงนี้มีระยะเวลา 2 ปีด้วยกันในโอกาสเดียวกันทางบริษัทมิตราคม จำกัด ได้ทำการเซ็นต์สัญญาจ้าง มหาลัยสงขลานครินทร์ เป็นที่ปรึกษาศึกษาโครงการถนนสะพานสตูล-เปอร์ลิส โดยนางสาวปราณี จำเนียรวัฒนพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทมิตราคม จำกัด และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้วยเงินงบประมาณของทางบริษัทเป็นเงินจำนวน 65,200,000 บาท 

          พร้อมมอบเงินจำนวนดังกล่าวแก่ทางรองอธิการบดีฯผู้แทนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้รับการแต่งตั้งมาทำการเซ็นต์สัญญาว่าจ้างในการทำการศึกษาโครงการนี้ให้บรรลุผลสำเร็จ ตามสัญญาเป็นระยะเวลา2 ปี โดยนางสาวปราณีฯ กล่าวว่า ในการดำเนินการใช้งบประมาณในการว่าจ้างที่ปรึกษาฯในครั้งนี้เป็นเงินของบริษัทมิตราคม จำกัดที่ให้เปล่าแก่จังหวัดสตูล

ขอบคุณ  นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวประจำจังหัวดสตูล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น