โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

โพลชี้ ประชาชนและผู้นำใน จชต.หนุนการพูดคุยสันติภาพ เรียกร้องพื้นที่ปลอดภัย และกรรมการกลางสอบเหตุรุนแรง


โพลชี้ ประชาชนและผู้นำใน จชต.หนุนการพูดคุยสันติภาพ เรียกร้องพื้นที่ปลอดภัย และกรรมการกลางสอบเหตุรุนแรง

      เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 24 ก.ย.60 ณ ห้องประชุมวิทยบริการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง จ.นราธิวาส  พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า จัดแถลงข่าวผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Peace Survey) ครั้งที่ 3 โดยโพล 15 สถาบันวิชาการและองค์กรเครือข่ายระบุประชาชนและผู้นำความคิดเห็นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา ชี้ส่วนใหญ่หนุนใช้การพูดคุยเพื่อเป็นแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งและรุนแรงในพื้นที่ 

       เพราะการพูดคุยทำให้บรรยากาศดีขึ้น แม้ทั้ง 2 กลุ่มยังกังวนว่าการพูดคุยอาจจะไม่สามารถยุติความรุนแรงได้จริง อีกทั้งคู่ชัดแย้งก็อาจจะไม่ทำตามที่ตกลงกัน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวยังเร่งให้รัฐและคู่ขัดแย้งสร้างพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน หลักเลี่ยงการก่อเหตุกับเป้าหมายอ่อนแอ และแนะให้ตั้งกรรมการที่เป็นกลางในการตรวจสอบเหตุรุนแรง ขณะที่รัฐบาลสอบผ่านอย่างฉิวเฉียดในบทบาทแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

         พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยว่า การสำรวจความคิดเห็นในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาจากการสำรวจครั้งที่ 1 ดำเนินการเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 13 มีนาคม 2559 และการสำรวจครั้งที่ 2 เก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม ถึงวันที่ 22 สิมหาคม 2559 โดยมีสถาบันวิชาการและองค์กรเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 15 องค์กร

         ร่วมกันดำเนินการ เช่น สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ คณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สถาบันสันติศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สถาบันสันติศึกษา ม.สงขลา วิทยาเขตหาดใหญ่ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล สถาบันอิสลาม ม.ฟาฏอนี  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏยะลา คณะวิทยาการจัดการ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่  คณะวิทยาการสื่อสาร ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  มูลนิธิเอเชีย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา ม.นราธิวาสราชนครินทร์  สภาประชาสังคมชายแดนใต้ และสำนักสันติวิธีและธรรมมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า โดยมีข้าราชการฝ่ายปกครอง อดีต นักการเมือง นักวิชาการ ผู้นำศาสนา และประชาชนเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าว จำนวน 100 คน

 พลเอก เอกชัย กล่าวอีกว่า เป้าหมายของการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการทำงานร่วมกันขององค์กรที่มีเป้าหมายร่วมกันในการเสริมสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อสะท้อนเสียงของประชาชนให้รัฐบาล ผู้เกี่ยวข้อง และสังคมโดยรวมได้รับรู้ความต้องการของประชาชนที่แท้จริงเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ และคาดหมายว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน

      สำหรับผลการสำรวจในประเด็นที่สำคัญ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนทั่วไปและผู้นำศาสนาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำทางความคิดส่วนใหญ่ จำนวนร้อยละ 72.7 และประชาชนจำนวนร้อยละ 56.9 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดสนับสนุนให้ใช้การพูดคุยเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา อีกทั้งส่วนใหญ่เห็นว่าการพูดคุยจะทำให้บรรยากาศดีขึ้น และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่สนับสนุนและไม่แน่ใจในการใช้กระบวนการพูดคุย และในการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวยังระบุอีกว่า ข้อเสนอของกลุ่มตัวอย่างต่อมาตรการที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน หลักเลี่ยงการก่อเหตุกับเป้าหมายอ่อนแอ พร้อมแนะให้รัฐบาลส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ แก้ปัญหายาเสพติด และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม

         ด้านนายนัจมุดดิน อูมา อดีต สส.พรรคเพื่อไทย จ.นราธิวาส กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังมีความคาดหวังว่าแนวทางสันติภาพเท่านั้นที่จะคืนสันติสุขสู่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ จึงเป็นโจทน์ให้กับฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาลต้องเร่งดำเนินการต่อไปอย่างเข้มข้น และยังเป็นแนวทางที่คนในพื้นที่ย้อมรับ และผลสำรวจถึงความนิยมในรัฐบาลชุดนี้ดีกว่าครั้งที่ผ่านมา ย่อมแสดงว่าประชาชนเริ้มมีความเชื่อมั่นกับรัฐบาลนี้มากขึ้นในกระบวนการสันติภาพ แต่ติดใจกับคำถามว่า ใครที่มีส่วนจะทำให้สันติภาพเกิดขึ้นในพื้นที่ผลสำรวจตอบว่า รัฐบาลเพียง 17 เปอร์เซ็นต์ และตอบว่าไม่รู้คือใครอีก 13 เปอร์เซ็นต์

        จึงได้ให้ทีมวิจัยไปคิดต่อว่า ทำไมประชาชนถึงตอบว่าไม่รู้ ซึ่งเป็นการบ้านที่จะต้องหาคำตอบ พร้อมได้เสนอแนะว่า กระบวนการสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าคนไทยในประเทศส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ เหมือนกับที่คนในพื้นที่เข้าใจแล้ว ก็จะเกิดสันติสุขยาก และยังต้องทำความเข้าใจกับคนไทยทั้งประเทศและรัฐบาลว่า กระบวนการพูดคุยเท่านั้นที่จะทำให้เกิดสันติสุขขึ้นในพื้นที่ได้ ส่วนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นถือว่าล้มเหลวหรือไม่นั้น 

       
         นายนัจมุดดิน กล่าวว่า คงไม่ล้มเหลว เพียงแต่สิ่งที่คณะรัฐบาลและคณะพูดคุยคิดจะทำกับสิ่งที่ผู้เห็นต่างต้องการนั้นอาจจะไม่ลงรอยกัน เช่น พื้นที่ปลอดภัยเป็นเรื่องแรกๆที่ทางรัฐบาลเสนอเพื่อกำหนดให้ออกมาให้ได้ แต่ทางผู้เห็นต่างเองก็ยังให้คำตอบที่ไม่ชัดเจน หรืออาจจะไม่สามารถควบคุมขบวนการณ์ในพื้นที่ก็เป็นไปได้ หรืออาจจะไม่เชื่อมั่นรัฐบาลไทยก็เป็นได้ แต่รัฐบาลก็ต้องทำต่อไปเพราะพื้นที่ปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำสันติภาพมาสู่ภาคใต้ในอนาคต และที่ผ่านมาเคยสอบถามขบวนการณ์สันติภาพในต่างประเทศหลายประเทศ เขาก็ตอบว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มผู้เห็นต่างมานั้น ถูกต้องแล้ว และจะถูกคนแล้วหรือไม่นั้น คงไม่ใช่สาระ และเชื่อว่าถูกคนแล้ว แต่อาจจะไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องทำต่อ จนกว่าจะถูกคน.

ขอบคุณ ภาพ/ข่าว.แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น