คณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่จังหวัดยะลาร่วม สร้างสันติสุข ลดความรุนแรง ปรึกษาหารือสาธารณะ แสวงหาทางออกทางการเมือง
เมื่อวันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2568 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสัตตะภาคี ที่ทำการปกครองอำเภอยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา นางสาวกนกวรรณ ทองธรรมชาติ คณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่จังหวัดยะลา ได้จัดกิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็น โดยนายมนตรี เศรษฐปัญโญู นายอำเภอยะหา ได้มอบหมายให้นายอุดม คงนาค ปลัดอำเภอเป็นประธานในการประชุม มีผู้เข้าร่วมจำนวน 60 คน ได้แก่สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนอำเภอยะหา คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอยะหา ผู้นำท้องที่ตัวแทนประชาชน และเยาวชนกลุ่มต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้
จากกิจกรรมในครั้งนี้ได้สร้างความเข้าใจ ได้รับฟังเสียงของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เสียงที่อยากให้ได้ยิน ซึ่งแบ่งออกเป็นประเด็นต่างๆดังนี้
ปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุข ลดความรุนแรง ปรึกษาหารือสาธารณะ แสวงหาทางออกทางการเมือง
ระยะเวลา11 ปีแห่งการพูดคุย เสียงสะท้อนจากประชาชนในมิติของความมั่นคง ไม่มีความก้าวหน้า ยังคงย่ำอยู่กับที่ในส่วนของพื้นที่ ชาวบ้านได้รับรู้น้อยมากกับการวางแผนดำเนินงานการแสวงหาทางออกทางการเมือง รัฐบาลชุดปัจจุบันนำโดยนายกรัฐมนตรี นส.แพรทองธาร ชินวัตร ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาชายแดนใต้ มองไม่เห็นความสำคัญของการสร้างความมั่นคงแห่งชาติ
ขอให้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ยกระดับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางอาหาร ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน มุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนให้มีศักยภาพ ดูแลการศึกษาของเยาวชน ไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียม มีอาชีพ มีรายได้ลดอัตราการว่างงาน การมอบนโยบายลงมายังหน่วยงานต่างๆ ขอให้มุ่งเน้นการพัฒนาคน มากกว่าพัฒนาโครงสร้างทางวัตถุ
การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม เสริมสร้างความรู้ให้เข้าถึงทุกกลุ่มคน ชนชั้นตามหลักสิทธิมนุษยชน เปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมมากขึ้นในทุกมิติ การพัฒนาในระดับนโยบายต้องฟังเสียงคนในพื้นที่ มุ่งพัฒนาตั้งแต่ระดับรากหญ้า
การรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลต้องเข้าใจถึงรากเหง้าของปัญหา ความเข้าใจให้ตรงกัน ประวัติศาสตร์คือจุดเริ่มต้นของพื้นที่ ไม่ควรเปิดบาดแผลใหม่ แล้วไม่แจงวิธีรักษา รณรงค์สร้างความเข้าใจให้ถึงรากเหง้าของปัญหา วางแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการใช้วิธีทางการเมืองนำเข้าสู่กระบวนการพูดคุย เน้นภารกิจด้านความมั่นคง การศึกษา เศรษฐกิจและสาธารณสุข
การสร้างให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีความรู้ความเข้าใจในข้อมูลที่ไม่ถูกบิดเบือน จะช่วยลดโอกาสในการถูกชักจูงให้หลงผิด ให้โอกาสในการใช้ชีวิตด้วยการสร้างความตระหนักในความสำคัญของสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อกันด้วยความเท่าเทียมเพื่อลดช่องว่างของความขัดแย้ง การสร้างสันติวิธีอย่างแท้จริง
การอำนวยความเป็นธรรมต้องได้รับความยุติธรรม ไม่เอนเอียง การใช้ความรุนแรงเป็นการสร้างปัญหาทับซ้อน ให้เกิดกับครอบครัวของผู้หลงผิด ซึ่งเมื่อเกิดความไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ตรงกันจะส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อครอบครัวและผู้เกี่ยวข้อง
ข้าราชการคือประชาชน ในพื้นที่เกิดเหตุความไม่สงบ หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยต่อสถานการณ์ว่าที่แท้จริงเกิดจากอะไร เมื่อมีเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ กระทบด้านต่างๆเกิดขึ้นมากมายส่งผลให้ภูมิต้านทานของชุมชนต่ำลง ปัญหายาเสพติดในพื้นที่มีสูงมาก เยาวชนถูกมองข้าม ถูกละเลย ดีตรา ลดทอนคุณค่า ทำให้บางคนเดินเข้าหาสิ่งเสพติดเพียงเพื่อเรียกร้องพื้นที่ของตนเอง เกิดปัญหาลักขโมย โจรครองเมือง สังคมไม่ให้ความสำคัญของการแก้ปัญหาอย่างจริงใจ จริงจัง เศรษฐกิจตกต่ำย่ำแย่ เสียงสะท้อนจากผู้เสพเองบอกว่าจะให้แก้ปัญหาอย่างไรในเมื่อนายใหญ่ค้าเสียเอง
กระบวนการยุติธรรมบ่งบอกอัตลักษณ์ของพื้นที่ การวางนโยบายจากบนสู่ล่างไม่ตอบโจทย์ต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ ข้าราชการการเมืองต้องไม่รังแกข้าราชการประจำ ไม่กวนมีการโยกย้ายตามใจชอบใช้อำนาจตามอำเภอใจ
สมาชิกในที่ประชุมทุกเสียงขอยืนยันว่า ศาสนาไม่ได้ส่งผลให้เกิดความแตกแยก ทุกคนให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน ยังมองไม่เห็นเส้นทางของเอกราชเพราะแม้แต่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เองก็ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตและครอบครัว หากแข็งเกินไปก็ไม่พอใจ หากอ่อนเกินไปก็หาว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่ สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นคือการละเมิดสิทธิของพี่น้องประชาชน การบิดเบือนคำสอนของศาสนา ขอให้ใช้หลักการสร้างสันติสุขเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหา แก้ปัญหาด้วยการพูดคุย โดยการพูดความจริงที่ไม่สะท้อนกลับด้วยความไม่ปลอดภัยในชีวิต
รัฐพึงเคารพไว้ซึ่งสิทธิในการแสดงความคิดเห็นภายใต้รัฐธรรมนูญ วงพัฒนาให้ความสำคัญต่อเด็กและเยาวชนอย่างเท่าเทียม ลดอคติต่ออุดมการณ์ทางการเมืองที่เห็นต่าง ทุกฝ่ายไม่สร้างประเด็นการแบ่งแยก ชีวิตต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการพัฒนาครอบครัว สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม มองปัญหาและเริ่มแก้ไขจากจุดเล็กๆไปยังจุดใหญ่ ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้มีรายได้ ไม่ให้หลงผิด
การวางระบบเศรษฐกิจฐานรากให้ดีขึ้น ยกระดับการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง
หากสามารถแก้ปัญหาให้ยาเสพติดหมดจากพื้นที่ได้เมื่อไหร่ ปัญหาอื่นๆก็จะไม่เกิดขึ้น ทุกภาคส่วนควรแก้ปัญหาให้ตรงจุด เจ้าหน้าที่รัฐวันบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคม ฟังเสียงประชาชน เด็กและเยาวชน ส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่ดี ลดความรุนแรง ความไม่สงบในพื้นที่ การรับฟัง การเป็นกลาง ความยุติธรรม จะสามารถแก้ปัญหาความรุนแรง จังหวัดระแวงระหว่างรัฐกับกลุ่มผู้เห็นต่างได้ การให้ความรู้กับเยาวชนต้องไม่ละทิ้งศาสนา ทุกศาสนาต้องอยู่คู่กับสังคมไทย ส่งเสริมการเรียนรู้สายสามัญควบคู่กับศีลธรรม เรียกร้องให้มีวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ ลูกเสือ เกษตร เพื่อส่งเสริมทักษะในทุกๆด้าน ให้เด็กกลับมาเรียนร่วมกัน ไม่แยกปลาออกจากน้ำ ไม่ต้องแยกโรงเรียนพุทธ-มุสลิม
ครอบครัวคือพื้นฐานสำคัญ จุดแรกที่ต้องช่วยกันสอดส่องดูแลลูกหลาน เด็กส่วนใหญ่ติดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งการเสพสื่อผิดประเภทก็ส่งผลเสียต่อเด็กและเยาวชน เกม พนันออนไลน์ มีผลต่อสุขภาพจิตรุนแรงกว่าที่คิด
ตามแผนการเสริมสร้างสันติสุขปี 2568 การจับกุมและดำเนินคดีมีสถิติลดลง ร้อยละ 15.72 แต่สถานการณ์จริงยังคงมีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ยาบ้าขึ้นอันดับ 1 ในปี 2567 มีจำนวน 7,983 คดี แต่ในปี 2566 มีมากถึง 9,555 คดี ซึ่งจากการรายงานแจ้งว่าจำนวนคดีมีลดลง แต่ในความเป็นจริงแล้วยังคงสูงขึ้น มีผู้ค้ารายใหม่เกิดขึ้นมากมาย เด็กและเยาวชนที่ขาดความรู้ ขาดทักษะ ประสบการณ์การใช้ชีวิต ถูกหลอกให้เป็นเด็กวิ่งยาในชุมชน ความจริงที่เกิดขึ้นคือเราไม่สามารถหยุดยั้งยาเสพติดได้ หากกฎมายไม่มีบทลงโทษที่ชัดเจน ไม่เลือกปฏิบัติ สร้างผู้สืบให้กลายเป็นผู้ป่วย รักษาตัวแล้วกลับมาเสพ ขายใหม่ ศูนย์บำบัดยาเสพติดหลายที่กลายเป็นพื้นที่สร้างเครือข่ายขยายผู้ค้า เมื่อแจ้งทางเจ้าหน้าที่ มีการพบผู้ค้าผู้เสพยาเสพติด บางที่อ้างว่าจะมีผลกระทบต่อการทำรายงานตัวชี้วัด บางรายก็มองว่าไม่ใช่พื้นที่บ้านเกิดของตนเอง มองข้ามละเลย ซึ่งการกระทำเช่นนี้ส่งผลให้ประชาชนหมดศรัทธา ต้องหันมาพึ่งตนเอง
#เสียงที่ไม่ได้ยิน
#ฟังให้ได้ยินในสิ่งที่เขาไม่ได้พูด
ขอบคุณคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่จังหวัดยะลา ที่เข้าร่วมหนุนเสริมกิจกรรมในครั้งนี้
นายชานนท์ เจ๊ะหามะ
นายอับดุลปาต๊ะ ยูโซะ
นายไพศาล มะแซ
นางสาวจริยา จันทร์เทพ
นางสาวรุจิรดา วงศ์แก้ว
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอยะหา
ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอยะหา
เจ้าหน้าที่อาสารักษาดินแดนอำเภอยะหา
ฝ่ายปกครองพื้นที่หมู่ 2 ตำบลยะหา
เยาวชนต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น