โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2567

Soft Power นางสาวรุจิรดา วงศ์แก้ว ประธานกลุ่มต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้พร้อมด้วยคณะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ (มีคลิป)

 Soft Power นางสาวรุจิรดา วงศ์แก้ว ประธานกลุ่มต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้พร้อมด้วยคณะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ (มีคลิป)

                             


         นางสาวรุจิรดา วงศ์แก้ว ประธานกลุ่มต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้พร้อมด้วยคณะทำงานได้ดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ ภายใต้ภารกิจอำนาจหน้าที่ โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางนโยบาย เป้าประสงค์ที่กำหนดโดยประเด็นการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอยะหา มีเป้าหมายตัวชี้วัดในการแก้ไขปัญหาพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ 







#การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

 CBTx Community Based Treatment








  เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายและแนวทางการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีการวางจุดมุ่งหมายให้มีการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานรัฐในพื้นที่ ในด้านทรัพยากรและภารกิจภายใต้อำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานรัฐ โดยการกำหนดแผนงานและเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริงและปัญหาของพื้นที่

#ศูนย์ญีวอยังซามอ

#บ้านเพื่อนรักหัวใจเดียวกัน







มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานร่วมกับกลุ่มเด็กวัยเรียน เยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษา ประชาชนวัยทำงาน ผู้สูงอายุ มุ่งเน้นแนวทางการมีสุขภาพดี สร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันระหว่างคนต่างวัย รวบรวมเรียบเรียงข้อมูล ต้นทุนชีวิตความเป็นมนุษย์ จัดเป็นชุดความรู้ เขียนเรื่องเล่าจากกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนรวมถึงกระบวนการปฏิบัติการทางสุขภาพ จะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดพื้นที่ปลอดภัย เราจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันระหว่างคนแต่ละวัย จัดคลีนิคการดูแลกลุ่มผู้ติดบุหรี่โดยใช้การแพทย์ทางเลือก การกรอกเลือด (Wet cupping/Hijamah)ซึ่งเป็นกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทยและเป็นศาสตร์ในการดูแลสุขภาพ รักษาโรคตามแนวทางซุนนะห์นบี(Al-hijamah)ในศาสนาอิสลาม







 การกรอกเลือดใช้หลักการนำเลือดเสียออกจากร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและกระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่ขึ้นมา ขับของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย

กิจกรรมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ

#โครงการนักนวัตกรรมสร้างความเป็นธรรมทางสังคม 

#มูลนิธิโกมลคีมทอง (สสส.) 

 และจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาทั้งในมิติของ

#เพื่อนรักต่างศาสนา 

สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

#เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง 

#เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาวะเยาวชน

#ขสย.

#อาสาสร้างสุข

 ทำให้เยาวชนต้นกล้ารวมกลุ่มกันขับเคลื่อนงานตามแนวทาง

#ชุมชนล้อมรักษ์

 Community Based Treatment

ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด ป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ ป้องกันวงจรการทำลายอนาคตของเด็กและเยาวชน โดยพยายามสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย ในการแก้ปัญหาและป้องกันการใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นกระบวนการที่สามารถทำได้ในชุมชนสำหรับผู้ใช้ ผู้เสพ การดูแลแบบการบำบัดฟื้นฟูจิตใจ จากการสำรวจข้อมูลการใช้สิ่งเสพติด ตั้งแต่บุหรี่ สุรา กระท่อม กัญชา ...พบว่า ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้อง เมื่อเลิกได้แล้ว จะมีโอกาสกลับมาเสพซ้ำ เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ประสบกับปัญหาเดิมๆในชีวิต การดูแลเอาใจใส่จึงไม่สามารถใช้วิธีทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยการแก้ปัญหาอื่นๆควบคู่ไปด้วย 



โดยเฉพาะด้านสังคม ชุมชน ทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างกระบวนการฟื้นฟูที่สามารถทำได้ในชุมชน ร่วมกันแก้ไขปัญหาจากสาเหตุ ผลกระทบของปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) นายอำเภอ ทหาร ตำรวจ สาธารณสุขอำเภอ กำนัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รพ.สต. หน่วยบริการสาธารณสุข ภาคประชาสังคม ภาคีเครือข่ายต่างๆ ซึ่งจะทราบได้ดีว่าชุมชนเข้มแข็งหรือมีศักยภาพอย่างไร 

  สิ่งที่สามารถวิเคราะห์ชุมชนได้ดีคือการทำเวทีประชาคมให้ทุกคนยอมรับว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ทุกคนจะต้องสู้ไปด้วยกัน แล้วจึงนำสู่กระบวนการคัดกรองค้นหา กลุ่มเสพ กลุ่มเสี่ยง เชิญชวนคนเหล่านั้นมาร่วมทำกิจกรรมต่างๆที่สามารถสร้างตัวตน คืนคุณค่าความเป็นมนุษย์ให้กับพวกเขา ไม่ตีตรา อาจจะใช้ดนตรีบำบัด ส่งเสริมอาชีพ กิจกรรมสาธารณประโยชน์ ธรรมะบำบัด เพื่อให้มีสติมากขึ้น เราไม่ได้มุ่งเน้นบำบัดคนติดยา เพราะมีระบบทางการแพทย์อยู่แล้ว แต่พวกเราอยากพัฒนากลุ่มคนลองยาที่เข้าไปในวงจรยาเสพติดแต่ยังไม่ติด 

  สิ่งสำคัญคือ ชุมชนต้องรับรู้ร่วมกัน ว่าภายในชุมชนมีปัญหา ทุกคนต้องลุกขึ้นมาให้ความสำคัญ สนใจและให้กำลังใจคนที่เกี่ยวข้อง พร้อมดึงให้เข้าสู่การบำบัด ตัดวงจรการค้า ไม่ให้เกิดผู้ค้ารายใหม่

   การแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นของการมองเห็นปัญหาร่วมกันซึ่งเกิดจากเสียงสะท้อนของคนในชุมชน ประกอบกับการที่หน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเป็นผู้เอื้ออำนวยให้เกิดกระบวนการแก้ปัญหาโดยชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้ชุมชนมีความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำไปสู่การแก้ปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน

#ไม่มีใครอยากถูกด้อยค่า

#ไม่มีใครชอบการถูกตีตรา

Komol.Youngvolunteer 

#ชุุมชนล้อมรักษ์

#สสส.

#CBTx

#พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

#เพื่อนรักต่างศาสนา

#สถาบันสิทธิมนุษยชนและสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา

#มหาวิทยาลัยมหิดล

Interfaith Buddy For Peace 

ขสย. - เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน 

ต้นกล้าพันธุ์ใหม่-องค์กรเยาวชนจิตสาธารณะ ระดับตำบลชายแดนใต้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น