" ใบขับขี่" ใบขับขี่รถยนต์คนพิการ:ความท้าทายอันยิ่งใหญ่ของคนพิการในประเทศไทยอ่านเรื่องราว เสียงสะท้อนจากผู้พิการ(มีคลิป)
..การตระหนักถึงคุณค่า
ความสามารถเฉพาะตัวและการมีส่วนร่วมของบุคคล
ทุพพลภาพ เพื่อส่งเสริมให้สังคมมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
การเปิดโอกาสให้คนพิการสามารถเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนได้ นับได้ว่าเป็นก้าวที่สำคัญของการแสดงถึงความเสมอภาค ที่มอบให้กับประชาชน และเป็นความเท่าเทียมของภาครัฐและเอกชน ที่จะมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน
เว็ปไซต์สื่อออนไลน์
ปลายด้ามขวานชายแดนใต้ สื่อยุคใหม่ ส่องทุกมุมมอง
ทุกความจริง เข้าใจ เข้าถึง
การมีส่วนร่วม รู้คน รู้งาน Soft
Power เพื่อผู้ด้อยโอกาส
โปรดติดตามอ่านเรื่องราว เสียงสะท้อนจากผู้พิการ “ใบขับขี่รถยนต์คนพิการ:ความท้าทายอันยิ่งใหญ่ของคนพิการในประเทศไทย”
โดย.. สุภัทรา ฦาชา/รายงาน
ใบขับขี่รถยนต์คนพิการ:ความท้าทายอันยิ่งใหญ่ของคนพิการในประเทศไทย
"..ผมได้ใบขับขี่แล้วครับ"
น้ำเสียงสั่นเครือเจือด้วยความภูมิใจจนแทบกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่
เป็นเสียงของนายนพคุณ นามสมมุติอายุ 25 ปี
ชายไทยผู้ประสพอุบัติเหตุกรณีชนแล้วหนี เมื่อต้นปีพ.ศ.2567
เป็นผู้หนึ่งที่ต้องกลายเป็นผู้พิการขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เดชะบุญที่เขาเอาชีวิตรอดมาได้จากอุบัติเหตุที่ร้ายแรงและส่งผลกระทบกับตัวเขาและครอบครัวตลอดชีวิต
แต่กำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนๆที่รักเขา ทำให้เขาลุกขึ้นมาต่อสู้ชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการเดินทางของคนพิการในการโดยสารรถสาธารณะไม่ตอบโจทย์กับงานขายที่เขาทำอยู่ เขาจึงต้องการมีขับขี่รถยนต์เพื่อพึ่งพาตัวในการเดินทางในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะไปทำงาน ซื้อของ พบลูกค้า หรือไปพบแพทย์ จึงได้ตัดสินใจมาเรียนกับครูผู้สอนขับรถยนต์ให้กับคนพิการซึ่งวันนี้เป็นวันที่เขาคว้าความฝันมาที่จะมีใบขับขี่รถยนต์อยู่ในมือได้สำเร็จ
ด้านนายพลวัตร
อุดมพิพัฒน์ หัวหน้าฝ่ายใบอนุญาต สำนักงานขนส่งทางบก จังหวัดสมุทรปราการให้
สัมภาษณ์ว่าทางขนส่งได้มีการเปิด ให้ผู้พิการสอบใบขับขี่ตามกฏหมายกำหนด
แต่มีเปอร์เซ็นคนพิการมาสอบใบขับขี่ในปีนี้น้อยมาก มีเพียงสองเปอร์เซนต์เท่านั้น
นายพลวัตรยังอธิบายว่ามีขั้นตอนหลักๆได้แก่
การตรวจสอบคุณสมบัติคน
พิการในการขอใบขับขี่จะต้องได้รับการประเมิน จากแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่ามีความสามารถในการขับ รถอย่างปลอดภัยพร้อมเตรียม
เอกสารเช่นบัตรประชาชน
ใบรับรองแพทย์รูปถ่าย และเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น อื่นตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
โดยมีการปรับเปลี่ยนวิธี ทดสอบให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและความ สามารถในการขับรถการสอบข้อเขียนและทดสอบ การขับรถ
ต้องผ่านการ สอบข้อเขียนเกี่ยวกับกฎจราจร
ทดสอบการขับรถ ซึ่งในการสอบขับรถของผู้พิการ หากจำเป็นต้องใช้รถยนต์ที่มี การปรับแต่งพิเศษ
เช่นระบบควบคุมพวงมาลัย
หรือคันเร่งที่ออกแบบสำหรับคนพิการ ต้องมีการ
ตรวจสอบและรับรองการ ปรับแต่งดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย รถยนต์ของคนพิการ ที่นำมาใช้ในการสอบใบขับขี่มักจะมีการปรับเปลี่ยนรถยนต์ให้ เหมาะสมกับความต้องการ และความสามารถของ แต่ละบุคคลโดยทั่วไปแล้ว จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ เสริมเช่นปีกผีเสื้อควบคุม สำหรับการควบคุมพวง มาลัยการเปลี่ยนเกียร์โดย ไม่ต้องใช้ขา
มีคันเร่งมือ
ซึ่งรถยนต์ที่ถูกปรับ แต่ง เป็นการปรับแต่ง
พิเศษในระบบควบคุมพวง มาลัยหรือคันเร่งที่ ออกแบบสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ และต้องมีการตรวจสอบรับรองการปรับแต่งดัง กล่าวเพื่อให้แน่ใจว่า ปลอดภัย"หลังจากอบรมข้อเขียนกฏจราจรต่างๆรวม5ชม.แล้ว
มีข้อสอบ50ข้อซึ่งต้องทำให้ได้90เปอร์เซนต์ขึ้นไปคือ45ข้อถึงจะผ่านไปสอบขับรถภาคปฏิบัติ
เมื่อผ่านแล้วจะได้รับใบขับขี่อายุ2ปี เมื่อมาต่ออายุต้องแสดงการขับรถให้เจ้าหน้าที่เห็นว่าสามารถขับรถยนต์ได้
" นายพลวัตร อธิบายขั้นตอนการสอบใบขับขี่รถยนต์ของคนพิการอย่างละเอียด
ด้านนายเอกรินทร์
เตรูย่า หรือครูโยสอนขับรถยนต์คนพิการ เปิดเผยถึงแรงบันดาลใจในการหันมาสอนคนพิการ
เพราะเล็งเห็นความยากลำบากของครอบครัวที่มีคนพิการ ที่เกิดจากอุบัติเหตุ
หรือสาเหตุอื่นๆ
ตนมีความคิดว่าทำอย่างไรคนพิการในครอบครัวจีงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
มีความอิสระในการใช้ชีวิตโดยพึ่งพาตัวเอง
การทำงานเป็นสิ่งสำคัญ เป็นที่มาของรายได้และความภาคภูมิใจในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน การขับรถยนต์โดยมีใบขับขี่ที่ถูกต้องตามกฏหมาย เป็นเครื่องหมายของความสำเร็จอย่างหนึ่ง
ทั้งนี้ในครอบครัวของครูโยก็มีคนพิการที่สู้ชีวิตด้วยการขับรถยนต์ไปทำงานเองได้
เพื่อเป็นกำลังใจให้คนพิการในสังคมไทยที่กำลังท้อแท้
ว่าชีวิตยังมีหว้งถ้าเรายังมีลมหายใจต้องพยายามสู้เพื่ออนาคตเพื่อครอบครัวของเรา
"ครอบครัวของคนพิการนี้มีความลำบากมากจริงๆ
การส่งเสริมให้คนพิการมีศักยภาพมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตในส้งคม
เป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนควรส่งเสริม
เข้าใจการดำเนินชีวิตของพวกเขาที่ต้องการพึ่งตัวเองยืนบนขาของตัวเอง
ทั้งที่ร่างกายอาจจะไม่อำนวย
แต่ต้องมีหนทางให้คนพิการมีชีวิตอยู่อย่างเท่าเทียมกับคนปกติในสังคม"นายเอกรินทร์
กล่าวทิ้งท้าย
นางสาวชนิกา ปินสุวงค์นักศึกษาปี4
มหาวิทยาลัยย่านรามคำแหง บอกว่าตนยินดี ร่วมมือสนับสนุนให้การ เดินทางร่วมกันของคน ปกติและคนพิการบนท้อง ถนนเป็นไปได้อย่างราบรื่นและเท่าที่พบเห็นรถคนพิการจะขับขี่ด้วยความระมัดระวังและมีมารยาทในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งเป็นความเห็นที่สอดคล้องกับทางด้านตัวแทนจาก กรมการขนส่งทางบกและ ตัวแทนครูผู้สอนคนพิการ ขับขี่รถยนต์มีความเห็น ว่า
ผู้พิการมีความ ระมัดระวังและขับขี่รถยนต์ได้อย่างปลอดภัย
มากกว่าผู้ที่มีความ ประมาทบนท้องถนนเช่นเดียวกัน "คนพิการส่วนใหญ่มีความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนมาก เคารพกฏจราจรและตั้งใจในการขับขี่""คนพิการตั้งใจมาสอบใบขับขี่เพื่ออนาคตของตัวเขาและครอบครัว " เป็นคำกล่าวของผู้เกี่ยวข้องในการสอบใบขับขี่รถยนต์ของคนพิการ ประเด็นสำคัญที่จะมองข้ามไม่ได้ นั่นคือ "ที่จอดรถคนพิการ" ในปัจจุบันพบปัญหาการจัดสรรที่จอดรถไม่เพียงพอในบางพื้นที่ เมื่อเทียบกับจำนวนคนพิการที่มีรถยนต์
จะต้องเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมและมี ระยะห่างจากด้านข้าง ที่จอดรถ100เซนติมตรขึ้นไปต้องมีบริเวณ พื้นที่ราบเรียบมี
สัญลักษณ์คนพิการชัดเจนรวมถึงควรมีพื้นที่ลาดชันเพื่อ รองรับการใช้งานวิลแชร์ด้วย
ติดตั้งสัญลักษณ์ของคนพิการให้เห็นชัด ข้อกำหนดกฏเกณฑ์ต่างๆนั้น มีวัตถุประสงค์ให้ทุกคนในสังคมมีความสิทธิเสรีภาพในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะคน พิการ ให้บุคคลเหล่านี้สามารถอยู่ในสังคมได้ด้วยความเสมอภาคแต่เรา
มักจะเห็นพฤติกรรมของคนที่ปกติที่มักง่ายจอดรถในช่องสำหรับจอดรถคนพิการอยู่เสมอ
ซึ่งควรแจ้งผู้ดูแลอาคารสถานที่นั้นเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องทันที
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น