โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567

สานฝันให้เป็นจริงกับภารกิจในวันข้างหน้า

 สานฝันให้เป็นจริงกับภารกิจในวันข้างหน้า

…..




ลงใต้ 3-4 วัน ช่วง 16-19 สิงหาคม ไปร่วมงานสวดอภิธรรมศพ สุวิทย์ ทองหอม เพื่อนรักกันมาตั้งแต่สมัยเรียนรามฯ สำหรับผม “พลอยเพื่อน” คือติดรถ “สุนทร รักษ์รงค์”ไปกลับ 4 วันเต็ม บอกได้เลยว่า“เหนื่อยสุดยอด” จนถึงเวลานี้ยังไม่ฟื้นเลย


ตอนแรกก็คิดว่าจะช่วยค่าน้ำมันรถ แต่ระหว่างทางพบว่า สุนทรถูกหวยจากอายุของสุวิทย์ 67 ได้ค่าน้ำมันรถไป-กลับ 


“ถ้างั้นผมไม่ต้องจ่ายค่าน้ำมันแล้วนะ”

“พี่แมนฉวยโอกาสทันที” สุนทร กล่าว


ระหว่างนั่งรถไปต้องผ่านชุมพร นึกถึง “ไสว แสงสว่าง” หรือผู้การฯไหวแห่งธกส.ผู้จัดการธนาคารต้นไม้คนแรก จึงยกหูไปหา


“แวะร้านผมเลยนายหัว ร้านหิ้วชั้น ที่ละแม”


พี่ไหวกับผมมีความสัมพันธ์กันมายาวนาน รู้กิตติศัพท์กันดี ครั้งผมอยู่คมชัดลึก มีโครงการคนดีแทนคุณแผ่นดิน ด้วยความที่เห็นคุณงามความดี และความมุ่งมั่นตั้งใจในการปลูกต้นไม้ 1 ล้านไร่ ผมจึงเสนอให้กรรมการพิจารณามอบรางวัล “คนดีแทนคุณแผ่นดิน” ให้กับ “ไสว แสงสว่าง” และคณะกรรมการเห็นชอบตามที่ผมนำเสนอ


ความสัมพันธ์ยังต่อยอดไปถึง “บ่าวหลำ แสงสว่าง” น้องชายของไสว ที่ไปปักหลักทำสวนอยู่ชุมพรเช่นกัน พร้อมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจอีก 25 ไร่ ที่ไม้โตจนใช้งานได้แล้ว แต่ยังไม่ตัดขาย ยังคงดูแลอย่างดี เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์


ได้แลกเปลี่ยนกันหลายเรื่องอย่างออกรสออกชาดในวงข้าวที่เจ้าภาพเตรียมไว้รองรับ เป็นอาหารพื้นบ้านผักปลอดสารพิษ ความคิดก็บรรเจิดไปเรื่อยจินตนาการไปถึงครั้งอยู่คมชัดลึกกับการจัดประชุม จัดสัมมนา จัดเสวนามากมาย จึงเกิดความคิดว่า เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ สังคมไทยจะมีทางออกอย่างไร จึงจะมีเวทีให้นำเสนอไหม เพื่อเป็นทางออกของสังคมไทยจากปัญหาเศรษฐกิจ คนไทยลำบากยากจนถึงจุดวิกฤต ไม่มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่สังคมชั้นสูงกลับกำลังเสวยสุข จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ เลี้ยงวันเกิดกันสนุกสนาน เห็นภาพแล้วหดหู่ใจ


ระหว่างคุยกัน “สุนทร” ยกหูชวนพี่ วิเวก อมตเวทย์ อุปนายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ มานั่งแลกเปลี่ยนด้วย ซึ่งพี่วิเวกก็ปักธงปลูกต้นไม้เช่นกัน และเชื่อมั่นว่า การปลูกต้นไม้ยืนต้นคือทางออกของเกษตรยั่งยืน เบื้องต้นก็ขาย “คาร์บอนเครดิต”ท่ามกลางคำถามมากมายว่าระหว่างทางจพกินอะไร แค่พี่วิเวก็มีคำตอบอย่างน่าสนใจ


กว่าจะดีดตัวออกมาจากละแมได้ก็เกือบมืดค่ำ ถ้าไม่มีคนรออยู่ที่สุราษฏร์ก็คงจะยาว แต่พรรคพวก “จ้อย-ประดิษฐ์ จันทร์แจ่มใส” อดีตนายกฯอบต.ท่าเคย นั่งนออยู่นานแล้ว จึงต้องขอตัวจากวงสนทนากับข้อสรุปเรื่องเกษตรยั่งยืน เกษตรปลอดสารพิษ ครัวไทยสู่ครัวโลก กับแผนงานต่อไปในอนาคตกับเวทีแลกเปลี่ยนต่อไป


ลัดเลาะสายฝนจากสุราษฏร์ฯเข้านครศรีเที่ยงคืนถึงได้เข้านอน เช้าวันต่อมาทีมงานนัดกับโมท Pramoch Wuttimanop ซึ่งลาออกจากงานประจำประกาศอิสระภาพ มาทำการเกษตรพึ่งตนเองมาหลายสิบปี ทำสวนยางยั่งยืน ปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง พึ่งพาธรรมชาติ และทำนาข้าวที่สุรินทร์ไว้กินเอง 


โมตใช้ชีวิตสัยโดดอยู่กับการทำนาและทำเกษตรผสมผสานที่นาทราย อ.เมือง นครศรีฯ แต่ยังติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างวิตกกังวลกับสถานการณ์ปัจจุบัน

แต่โมท ย่างก้าวอย่างมีสติ มั่นคง และอดทน จึงค้นหาความสุขเจอ เขายังคงเป็นห่วงเป็นใยเพื่อนฝูง และให้กำลังใจทุกคนเพื่อก้าวข้ามความยากลำบาก ในสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองผันผวน


เราเดินทางต่อจากนครศรีฯเข้าสู้จังหวัดตรัง “วัดโคกหล่อ” สถานที่ตั้งศพสวดอภิธรรม “สุวิทย์ ทองหอม” อาจารย์ใหญ่ของชาวสวนยาง โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างกรีดยาง (ลูกกุลี) ที่สุวิทย์ขับเคลื่อนจนถูกบรรจุอยู่ใน คำจำกัดว่าของพรบ.ยางฯว่า เป็นชาวสวนยาง


สองคืนในงานสดอภิธรรมสุวิทย์ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกับกลุ่มต่างๆที่หลากหลาย เช่น คุยกับ ดรณ์ พุ่มมาลี ตัวแทนเกษตรกรในกองทุนฟื้นฟู ได้พบปะกับกรรมการสมาคมชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ เป็นต้น


ระหว่างเดินทางกลับ บ่าวหลำโทรสวนเข้ามา “นายหัวต้องแวะสวนผมก่อนนะ ผมมีของฝาก”


ได้ครับ


แวะบ้านสวนของบ่าวหลำแกะเรียนกินสองหนวย (ลูก) ได้แรงอก (หรอยแรง) คุยกันพอออกรสออกชาด บ่าวหลำพาไปเดินชมไม้ยืนต้นที่เติบโตสูงลิบลิ่วแล้วบนพื้นที่ 25 ไร่ ร่วมหมื่นต้น ”ตางค์เพพีีแมน“ บ่าวหลำ กล่าวอย่างภาคภูมิใจในผลงาน

ก่อนกลับบ่าวหลำขนทุเรียนใส่รถมาอีก 9 ลูก มีทั้งหมอนทอง ชนี ก้านยาว


กลับมาก็ต้องเริ่มต้นคิด และวางแผนต่อว่าจะทำอะไรต่อไป แล้วค่อยเจอกันในวันที่ฝันเป็นจริง

 #นายหัวไทร

 #ทำเฒ่าเรื่องเพื่อน

 #เกษตรยั่งยืน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น