โฆษณา

จำนวนผู้เข้าชม

วิเคราะห์ เจาะลึก มุมมองการเมือง พบกับนายหัวไทรนักข่าวหัวเห็ด จาก ปลายด้ามขวานชายแดนใต้

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567

จ.นราธิวาส เปิดฤดูกาลทุเรียนบางนรา ประจำปี 2567 เสริมสร้างภาพลักษณ์ผลไม้คุณภาพดีของจังหวัดนราธิวาสให้เป็นที่รู้จัก และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP(มีคลิป)

 จ.นราธิวาส เปิดฤดูกาลทุเรียนบางนรา  ประจำปี 2567 เสริมสร้างภาพลักษณ์ผลไม้คุณภาพดีของจังหวัดนราธิวาสให้เป็นที่รู้จัก  และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP(มีคลิป)


ปทิตตา หนดกระโทก ผู้สื่อข่าว นราธิวาสรายงาน Tel.0824154474 

วันนี้ 7 ส.ค.67 ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยนายจตุรงค์ พรหมวิจิต เกษตรจังหวัดนราธิวาส และนายกิตตินันท์  เซ็งกะชรี  นายอำเภอศรีสาคร ร่วมแถลงข่าวกิจกรรมประชาสัมพันธ์" เปิดฤดูกาลเก็บเกี่ยวทุเรียนบางนรา จังหวัดนราธิวาส ประจำปี พ.ศ. 2567 " ณ แปลงเรียนรู้ทุเรียนต้นแบบ (นายเอกพงษ์ ขุนทอง) หมู่ที่ 5 บ้านไอร์เจี๊ยะ ตำบลซากอ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส  โดยครั้งนี้มีหัวหน้าส่วนราชการ  เจ้าหน้าที่ ตลอดจนเกษตรกรในพื้นที่ร่วมกิจกรรมจำนวนมาก





ว่าที่ร้อยตรี ตระกูล โทธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า การจัดงานฯ ในวันนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นโอกาสที่ดีของการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการผลิตทุเรียน (ทุเรียนบางนรา) คุณภาพในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เสริมสร้างภาพลักษณ์ผลไม้คุณภาพดีของจังหวัดนราธิวาสให้เป็นที่รู้จัก และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพปลอดภัย รวมถึงการบริหารจัดการสวนทุเรียน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตอบรับความต้องการของตลาด เกิดการสร้างเครือข่ายด้านการตลาด การผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งผู้ผลิตทุเรียน และผู้ซื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงการรณรงค์ควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาดในฤดูกาลผลิต ปี พ.ศ. 2567 เพื่อกำกับดูแลให้เกษตรกร ผู้ประกอบการส่งออก ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกผลไม้จังหวัดนราธิวาส และผู้เกี่ยวข้องจำหน่ายทุเรียนที่มีคุณภาพ





นายจตุรงค์ พรหมวิจิต เกษตรจังจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า งานแถลงข่าวประชาสัมพันธ์
"เปิดฤดูกาลทุเรียนบางนรา จังหวัดนราธิวาส ในปีนี้ เพื่อการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการผลิตทุเรียน (ทุเรียนบางนรา) คุณภาพในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส สร้างภาพลักษณ์ผลไม้คุณภาพดีของจังหวัดนราธิวาสให้เป็นที่รู้จัก และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัย รวมถึงการบริหารจัดการสวนทุเรียนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของตลาด สร้างรายได้และผลตอบแทนให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี สามารถขยายผลให้พี่น้องเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนรายอื่นในพื้นที่ผลิตทุเรียนคุณภาพ สร้างความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว และสอดรับกับนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านการรณรงค์ควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาดในฤดูกาลผลิตปี พ.ศ. 2567 รวมถึงเกิดการสร้างเครือข่ายด้านการตลาด การผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ผลิตทุเรียน และผู้ซื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้




กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การตัดทุเรียนบางนรามีดแรก จากต้นในสวนของ
นายเอกพงษ์ ขุนทอง, การสาธิตการตรวจวัดเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน การจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและนอกภาคเกษตร การแข่งขันการกินผลไม้ตามฤดูกาล ตลอดจนชิมฟรีผลไม้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ) จากสวนที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP ส่วนไฮไลท์ของกิจกรรมนี้ มีการ ชม ช๊อป แชะ  เยี่ยมชมนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับทุเรียนบางนรา และการจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรในพื้นที่ 






สำหรับทุเรียนบางนรา” (Bang-Nara Durian) ทุเรียนบางนรา เป็นทุเรียน สายพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ก้านยาว พันธุ์ชะนี และพันธุ์มูซังคิง จะต้องมาจากแหล่งปลูกทุเรียนในแถบพื้นที่ลุ่มน้ำสายบุรี และบริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรีของ จังหวัดนราธิวาส โดยเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายบุรีและแหล่งทำเหมืองแร่ ทองคำในอดีต สำหรับการ ผลิตทุเรียนบางนราที่มีคุณภาพ เพราะได้รับอิทธิพลของแหล่งน้ำจากภูเขา ป่า แหล่งแร่ และยังได้รับอิทธิพลจากป่าฮาลาบาลาที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งได้รับ การขนานนามว่าเป็น “อเมซอนแห่งเอเชีย” โอบล้อมพื้นที่ และจะต้องมีกระบวนการ ผลิตที่ผ่านการควบคุมตรวจสอบ โดยมีการขึ้นทะเบียนสมาชิกผู้ปลูกทุเรียนบางนรา และได้รับมาตรฐานการผลิตพืชที่ดีและเหมาะสม (GAP) โดยลักษณะพิเศษของทุเรียนนราธิวาส สายพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ก้านยาว พันธุ์ชะนี และพันธุ์มูซังคิง จะมีผิวเปลือกสีเขียวจนถึงสีน้ำตาลเข้ม หนามแหลมแข็ง และลักษณะของเนื้อทุเรียนค่อนข้างแห้ง ละเอียด เส้นใยน้อย สีเหลืองเข้ม และมีรสชาติหวานมัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น